รู้จักสูตร GTCMIT ทริคบรีฟงานให้ตรงจุดฉบับเอเจนซี่!

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 6, 2022 09:45 —ThaiPR.net

รู้จักสูตร GTCMIT ทริคบรีฟงานให้ตรงจุดฉบับเอเจนซี่!

เจ้าของแบรนด์เบื่อไหมกับปัญหาเดิม ๆ อย่างการไม่รู้จะเริ่มต้นบรีฟงานยังไงให้บริษัทเอเจนซี่เข้าใจหรือปัญหาบรีฟงานแล้วทำออกมาไม่ตรงโจทย์ที่ต้องการ วันนี้ปัญหาของคุณจะหมดไปด้วยสูตรบรีฟงานจาก Cotactic นั่นก็คือ สูตร GTCMIT ที่จะมาช่วยให้การบรีฟงานของคุณเข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น!

"การบรีฟงานที่ดี" ส่งผลต่อใครบ้าง?

หากคุณเริ่มต้นด้วยการบรีฟงานที่ดี การดำเนินงานในขั้นต่อไปก็จะเป็นระบบและไม่หลุดจากเป้าหมายที่คุณต้องการ ซึ่งปัญหาสุดฮิตที่ทุกคนมักจะเจอบ่อย ๆ นั้น มักเกิดจากลักษณะการบรีฟงานเฉพาะบุคคลที่มีแนวคิดและความเข้าใจที่แตกต่างกันไป เมื่อถ่ายทอดออกไปผู้ฟังก็อาจนำข้อความนั้นไปตีความหมายเป็นอีกลักษณะหนึ่งได้ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การบรีฟงานที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็คือลูกค้าเจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่โฆษณาที่ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างละเอียด รวมถึงซักถามถึงเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน จึงจะทำให้แคมเปญดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

GTCMIT คืออะไร ช่วยคุณแก้ปัญหาได้จริงหรือ?

ก่อนอื่นเราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ GTCMIT ก่อนว่าคืออะไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง GTCMIT คือ องค์ประกอบข้อมูลพื้นฐานสำคัญ 6 ข้อ เพื่อเป็นแนวทางและขอบข่ายสำหรับการบรีฟงานที่เอเจนซี่และเจ้าของแบรนด์รับรู้ร่วมกัน ส่งผลให้สามารถดำเนินงานได้สะดวกและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดย GTCMIT ประกอบไปด้วย

  • Goal - จุดประสงค์หลักของแคมเปญ
  • Target - กลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการ
  • Channel - ช่องทางที่ใช้ในการโปรโมท
  • Message - สิ่งที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
  • Investment - งบประมาณการลงทุน
  • Timeline - ระยะเวลาแคมเปญ

1. Goal - ตั้งจุดประสงค์และภาพรวมของแคมเปญให้ชัดเจน

ไม่ว่าเราจะเริ่มลงมือทำอะไร เข็มทิศแรกที่จะนำเราไปสู่จุดหมายคือ การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และอธิบายสิ่งนี้ให้เอเจนซี่โฆษณาได้มองเห็นภาพรวมเหมือนกับเรา อันดับต่อมาคือการเข้าใจลักษณะสินค้าและบริการในธุรกิจของตนเองว่าแบรนด์อยู่ในจุดไหนของตลาด หรือกำลังประสบปัญหารูปแบบไหนบ้าง เพื่อนำประสบการณ์มากลั่นกรองเป็นกลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ ที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่าเดิม

การเข้าใจเป้าหมายและภาพรวมถือเป็นจุดที่สำคัญอย่างมาก เพราะในขั้นตอนนี้เป็นการอธิบายให้เอเจนซี่ที่ดูแลงานของคุณได้เข้าใจจุดประสงค์หลักของแคมเปญ รวมถึงการลงลึกรายละเอียดในงานส่วนต่าง ๆ อีกด้วย

ในส่วนของการตั้งเป้าหมายของแคมเปญโฆษณาออนไลน์นั้นมีอยู่หลากหลายด้วยกัน เช่น สร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness), เพิ่มยอดขาย, จำนวนรายชื่อลูกค้า (Lead Generation) ส่วนมากแล้วลูกค้าของ Cotactic จะติดต่อเข้ามาช่วยให้เพิ่มยอดขาย และค้นหารายชื่อเพื่อให้ Sales ติดต่อกลับ

2. Target - วิเคราะห์และสื่อสารให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย

สิ่งที่จะต้องบรีฟในหัวข้อนี้มักจะประกอบไปด้วยเพศ, สถานที่ที่กลุ่มเป้าหมายอาศัยอยู่, พฤติกรรมของลูกค้า, ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า รวมถึงลักษณะนิสัย เพื่อนำมาดูเป็นข้อมูลประกอบให้เอเจนซี่รับรู้ว่า คอนเทนต์และโฆษณาที่จะผลิตออกมานั้นกำลังสื่อสารให้ใครอ่าน

ตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งของ Cotactic ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ชายอายุ 30 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และมีรถหลายคัน นอกจากนั้น ยังมีพฤติกรรมชอบจอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานานถึงหลายอาทิตย์หรือบางทีเป็นเดือน ๆ จนเกิดปัญหารถสตาร์ทไม่ติดทำให้ต้องเปลืองเงินเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ ใน 1 ปี

นอกจากนี้ หากแบรนด์ของคุณมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เราแนะนำให้คุณแบ่งสัดส่วนความสำคัญว่าต้องการจะโฟกัสกลุ่มไหนเป็นพิเศษในแคมเปญนี้ และอธิบายความแตกต่างในการตัดสินใจซื้อของแต่ละกลุ่ม ข้อมูลส่วนนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับเอเจนซี่ในการผลิตโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Channel - กำหนดช่องทางโปรโมทให้เหมาะกับแบรนด์

ในปัจจุบันนี้มีช่องทางการตลาดออนไลน์อยู่มากมาย แล้วเลือกช่องทางการโปรโมทแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ? อันดับแรกคุณควรรู้จัก KPIs หรือ Key Performance Indicator ซึ่งเป็นการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแคมเปญนั้น ๆ ก่อน จากนั้นจึงเดินหน้าสำรวจแผนการตลาดของแบรนด์คุณ พร้อมวิเคราะห์จุดประสงค์ของแคมเปญไปด้วย เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถบรีฟงาน และคัดเลือกประเภทของเอเจนซี่โฆษณาที่มีลักษณะการทำงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของคุณได้แล้ว

ตัวอย่างการเลือกรูปแบบโฆษณาออนไลน์ให้เหมาะกับแบรนด์คุณ เช่น หากคุณเป็นแบรนด์ใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จักต่อกลุ่มเป้าหมายส่วนมาก โฆษณา Facebook อาจเหมาะกับคุณที่สุด หรือหากคุณมียอดขายพอสมควรแล้วแต่ต้องการให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักมากขึ้น บริการรับทำ SEO หรือ บริการรับทำโฆษณา google อาจเหมาะสมกับคุณมากกว่า เป็นต้น

4. Message - สื่อสารให้เข้าใจด้วย Key Message

การกำหนด Key Message ถือเป็นอีกขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากคำพูดที่เราอยากจะสื่อสารออกไปนั้น เปรียบเสมือนสิ่งจูงใจที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในสินค้าและบริการของเรา Key Message ที่น่าจดจำจึงควรแสดงถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับ กระชับ และเข้าใจง่าย 

นอกจากนี้ การกำหนดทิศทางในการสื่อสารที่ชัดเจนยังช่วยให้เอเจนซี่ผลิตโฆษณาเจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้าก็จะช่วยให้การดำเนินงานในภาพรวมลื่นไหลตามไปด้วย

หากคุณยังนึกภาพไม่ออกว่าจะตั้ง Key Message ที่ดีได้อย่างไรนั้น Cotactic เราขอแนะนำ 3 คำถามช่วยจบปัญหาการบรีฟ Key Message ให้คุณตอบคำถามเอเจนซี่ได้ง่าย ๆ ได้แก่

  • Brand: หากลูกค้านึกถึงแบรนด์ของคุณ เขาจะนึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก?
    เช่น Cotactic = เอเจนซี่ที่ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาเปรียบเหมือน Digital Strategist ส่วนตัวของคุณเอง
  • USP (Unique Selling Points): สินค้าและบริการของคุณแตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างไร?
    เช่น Cotactic = ทีมงานมีความเชี่ยวชาญ, เติบโตมากับแคมเปญ Lead Generation, มองคุณเป็นทีมเดียวกันให้คำปรึกษาและแนะนำตลอดเวลา
  • Pain Point: เหตุที่ลูกค้าเลือกเราจากปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร?
    เช่น เหตุผลที่ลูกค้าเลือก Cotactic = เอเจนซี่ที่ผ่านมาไม่สามารถทำยอดขายให้ถึงเป้าได้, ไม่มีเวลาทำการตลาดออนไลน์ด้วยตัวเอง

อีกทริคสำคัญจากประสบการณ์ตรงที่ Cotactic ได้มาจากลูกค้า เพื่อสร้าง Key Message ให้มีความชัดเจนนั่นก็คือ การนำ Pain Point มาสร้างเป็น USP (Unique Selling Point) เช่น แบรนด์รับออกแบบและสร้างบ้านรายหนึ่งมาปรึกษากับเราว่า ส่วนมากลูกค้าเลือกแบรนด์นี้เพราะเคยมีประสบการณ์ติดต่อกับผู้รับเหมาและโดนทิ้งงาน

เราจึงแนะนำการสร้าง Pain Point จุดนี้ให้กลายมาเป็น USP เรื่องของความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องการโดนเบี้ยวงานจากผู้รับเหมา จากเคสดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเราได้หยิบยกประสบการณ์ที่ไม่ดีของลูกค้า มาเปลี่ยนเป็นจุดเด่นเพื่อเสริมแกร่งให้กับแบรนด์ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง  และสามารถดึงดูดผู้ที่เคยพบเจอกับปัญหาเหล่านั้นได้อีกด้วย 

หากคุณคิด Key Message ไม่ออก ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะคุณสามารถปรึกษาให้ Cotactic แนะนำ Key Message ที่เหมาะสมกับแคมเปญของคุณได้

5. Investment - กำหนดงบประมาณโฆษณาให้ชัดเจน

เมื่อการลงทุนมีความเสี่ยงเราจึงควรกำหนดงบประมาณในการลงโฆษณาให้ชัดเจนตั้งแต่ครั้งแรกที่บรีฟงานกับเอเจนซี่ หรือถ้าหากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่แท้จริงจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ คุณสามารถกำหนดช่วงงบในเรทที่ต่ำสุดไปจนถึงมากที่สุดไว้ก่อน เพื่อที่เอเจนซี่โฆษณาจะได้นำเสนอ Option ที่เหมาะสมกับราคา และพร้อมลงมือปฎิบัติตามแผนที่วางไว้ได้นั่นเอง

"เพราะการวางกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพจะต้อง Optimize แคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในงบประมาณที่ทางแบรนด์ต้องการ"

6. Timeline - การวางแผนและระยะเวลาในการทำงาน

หัวข้อสุดท้าย คือ การกำหนด Timeline สำหรับเริ่มทำแคมเปญ ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าของแบรนด์ทุกคนจะต้องการเริ่มแคมเปญให้ได้เร็วที่สุด แต่ก็ควรคำนึงถึงระบบการทำงานของแต่ละเอเจนซี่ว่าใช้เวลานานขนาดไหนถึงจะเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการตรวจแก้ไขงานด้วย ดังนั้น หากคุณมีรายละเอียดการบรีฟงานตามที่ Cotactic แนะนำไปทั้งหมดนี้ เรามั่นใจว่าการทำงานให้เป็นไปตาม Timeline ที่คุณต้องการก็จะเป็นไปได้ไม่ยากอย่างแน่นอน

สรุป

จากบทความข้างต้นที่ทีม Cotactic ได้นำเสนอสูตร GTCMIT ไปนั้น คุณคงจะได้เรียรู้ว่า การบรีฟงานที่ดีควรทำอย่างไร และมีประโยชน์ต่อฝ่ายใดบ้างไปแล้ว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาการบรีฟงานไม่ตรงจุด หรือได้งานไม่ตรงตามเป้าหมาย จะได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ถ้าหากคุณกำลังตามหา Outsource เชี่ยวชาญการทำโฆษณาออนไลน์ เตรียมข้อมูลบรีฟงานของคุณให้ดี!! ทาง Cotactic พร้อมให้คำปรึกษาและเติบโตไปพร้อมกับคุณแล้ว ติดต่อเราตอนนี้เลย!

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ