ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ข่าวทั่วไป Thursday October 19, 2023 11:23 —ThaiPR.net

ดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ในสภาวการณ์ปัจจุบันมีอัตราการการป่วยโรคซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันโลกของเรามีประชากรราว 7.6 พันล้านคน และมีคนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน หรือเกือบ 4% เลยทีเดียว ส่วนในคนไทยเองนั้นพบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 70 กว่าล้านคน และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี ซึ่งสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายก็คือโรคซึมเศร้านั่นเอง

สถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้าจนนำมาสู่การฆ่าตัวตายกำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย ในปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 

แต่ปัญหาของในประเทศไทย คือ มีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่ความพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เราจึงตระหนักถึงความสำคัญถึงการให้ข้อมูลของโรคและแนวทางการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ดังนี้

โรคซึมเศร้าหรือโรคภาวะซึมเศร้า Depression เป็นความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดหนึ่ง ลักษณะอาการทางคลินิกที่สำคัญคือ มีอารมณ์ซึมเศร้าหดหู่ใจอย่างชัดเจนเป็นระยะเวลานาน มักมีการรับรู้และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปร่วมด้วย ในกรณีรุนแรงอาจมีความคิดและพฤติกรรมทำร้ายร่างกายตัวเองจนไปถึงฆ่าตัวตาย

การอธิบายภาวะซึมเศร้าในทางการแพทย์แผนจีน

ภาวะซึมเศร้าในทางแพทย์จีนได้จัดอยู่ในกลุ่มอาการเตียน โรคกลุ่มอาการเตียน "??" เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท เนื่องจากมีเสมหะมาอุดกั้นทวารของหัวใจ ทำให้การทำงานของเสินแปรปรวน ลักษณะพิเศษของโรค คือ จิตใจซึมเศร้า อารมณ์เฉื่อยชา เงียบขรึม  พูดจาสับสน อ่อนเพลียหรือเคลื่อนไหวน้อย

คัมภีร์ซู่เวิ่น บทเสวียนหมิงอู่ชี่เพียน???-??????อธิบายไว้ว่า "เสียชี่เข้าสู่หยางทำให้เกิดอาการคุ้มร้ายอาละวาดอาจทำร้ายคน (ขวง ?) เสียชี่เข้าสู่อินทำให้เกิดอารามณ์ผิเดเพี้ยนไม่ทำร้ายคน (เตียน ?)" 

คัมภีร์ตันซีซินฝ่า บทเตียนขวง ?????-???อธิบายไว้ว่า  "ไฟจากอารมณ์ความรู้สึกทั้งห้า ทำให้เกิดอารมณ์ทั้งเจ็ด อัดอั้นกลายเป็นเสมหะ จึงกลายเป็นอาการของโรคจิตเภทบ้าอาละวาด ควรรักษาที่ตัวบุคคล ไม่ใช่รักษาได้ด้วยยา ควรตรวจวินิจฉัยและสังเกตสาเหตุเพื่อปรับให้สมดุล โกรธทำลายตับทำให้เกิดเป็นวิกลจริต ให้ให้อารมร์ครุ่นคิดเพื่อเอาชนะ ให้อารมณ์หวาดกลัวเพื่อบรรเทาอาการ" "เตียนจัดเป็นอิน ขวงจัดเป็นหยาง ?ส่วนใหญ่มักเกิดจากเสมหะติดขัดอยู่ที่หัวใจและกลางอก"

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

  • การได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ครุ่นคิดไม่ได้ดั่งใจหวัง ความเสียใจดีใจปะปนกัน สับสน โกรธ ตกใจ หรือหวาดกลัว
  • เสมหะอุดกั้น
  • พันธุกรรม
  • การเปี้ยนเจิง (วิเคราะห์แยกกลุ่มอาการ) และการรักษา 

  • กลุ่มชี่ตับติดขัด อาการหลัก คือ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนง่าย โกรธง่าย ชอบร้องไห้ ถอนหายใจถี่ จุกแน่นกลางอกและบริเวณชายโครง ลิ้นแดง ฝ้าลิ้นขาวบาง ชีพจรเสวียน หลักการรักษา >> ปรับสลายชี่ตับ เพิ่มการไหลเวียนของชี่ 
  • กลุ่มเสมหะติดขัด อาการหลัก คือ อาการซึมเศร้า แสดงอาการเฉยชา พูดจาสับสนหรือบ่นพึมพำกับตัวเอง ดีใจเสียใจผิดปกติ แยกแยะความสกปรกกับสะอาดไม่ได้ มีอาการเบื่ออาหาร ลิ้นซีด ฝ้าลิ้นขาวเหนียว ชีพจรเสวียนหัว  หลักการรักษา >> เน้นไปที่การปรับชี่สลายติดขัด สลายเสมหะอุดกันเสิน
  • กลุ่มหัวใจและม้ามพร่อง อาการหลักคือ เหม่อลอย พฤติกรรมเปลี่ยน ใจสั่น ตกใจง่าย เศร้าเสียใจชอบร้องไห้ แขนขาอ่อนแรง เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย หน้าซีด ลิ้นซีด ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรซี่รั่ว หลักการรักษา >> เน้นเสริมม้าม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลชี่สงบจิตใจ
  • หลักการรักษาทางด้านการแพทย์แผนจีน >> เน้นการปรับสมดุลชี่ สลายติดขัด เพิ่มการทำงานของชี่ และการบำบัดทางจิต

    วิธีการรักษา >> เช่น การฝังเข็ม การใช้เครื่องการตุ้นฟ้า ทานยาจีน ฝังเข็มหู การฝังเข็มศีรษะ และการนวดทุยหนา และให้คำแนะนำหลังการรักษาให้กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเพื่อช่วยในการฟื้นฟูสภาวะทางอารมณ์ให้กับผู้ป่วย คือ

  • การสร้างความบันเทิงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตื่นเต้น เพื่อให้มีชีวิตชีวา มีความสุข ร่าเริง
  • ส่งเสริมงานอดิเรกที่ผู้ป่วยสนใจ 
  • มีการให้คำปรึกษาและรับฟังปัญหาของผู้ป่วย
  • คนรอบข้างหรือคนในครอบครอบไม่ควรเลือกปฏิบัติเฉยชา เยาะเย้ยหรือเกลียดชังผู้ป่วย
  • ควรหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนในครอบครัวให้ผู้ป่วยผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยรักษาอารมณ์ให้มั่นคง และสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยออกกำกายเบา ๆ เช่น ว่ายน้ำ โยคะ หรือไทเก็ก อู่ฉินซี่ (การบริหารเคลื่อนไหวที่เลียนแบบท่าสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และนก) เพื่อช่วยให้ชี่และเลือดไหลเวียนสะดวกมากขึ้น สภาวะทางอารมณ์ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
    • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 
    • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
    • LINE OA: @huachiewtcm
    • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic

    แท็ก หัวเฉียว  

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ