“คณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาติ”ธรรมชาติเป็นครูให้หนูรู้วิชา

ข่าวทั่วไป Tuesday May 6, 2008 10:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 พ.ค.--สสวท.
จบกันไปแล้วสด ๆร้อน ๆ กับกิจกรรมคณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาติ ครั้งที่ 2 ณ สวนรถไฟ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2251 ที่ผ่านมา ด้วยรอยยิ้มของน้องชั้น ป. 4- ป. 6 ๆ กว่า 40 คน ที่เต็มอิ่มกับธรรมชาติที่แฝงความมหัศจรรย์ให้ได้เรียนรู้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vcharkarn.com) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โดยมีวิทยากรหลักจาก สสวท. เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมกิจกรรมคณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาตินี้ ได้จัดการเรียนรู้ตามแนวทางของ สสวท. มุ่งจูงใจให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ใช้กลเม็ดให้เด็กได้ "เรียนรู้" และ "พบ สิ่งที่ท้าทาย" ไปพร้อมกัน โดยจัดกิจกรรมและเกมต่างๆ ที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วม สนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
นอกจากนั้น สสวท. ยังเน้นทักษะ/กระบวนการคิด ให้เด็ก ๆ ฝึกคิดอย่างหลากหลาย อาจจะคิดด้วยวิธีการแตกต่างกัน แต่ได้คำตอบอย่างเดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์กับเด็ก ๆ มาก กระตุ้น และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตัวเอง เน้น "กระบวนการ" มากกว่าหา "คำตอบ" แต่เพียงอย่างเดียว
พี่สมเกียรติ หรือนายสมเกียรติ เพ็ญทอง นักวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ซึ่งรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม และคณะ ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 4 ฐาน ได้แก่
ฐานใบไม้เกี่ยวข้องอย่างไรกับคณิตศาสตร์ ที่สวนป่า ฐานนี้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจำแนกประเภทใบไม้ ข้อสังเกตต่าง ๆ เกี่ยวกับใบไม้ นำไปสู่ข้อสังเกตที่ว่า “พืชมีการปรับตัวเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด” เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์แสงเป็นการสร้างอาหารของพืช เนื่องจากอัตราการสังเคราะห์แสงจะแปรผันตามพื้นที่ที่รับแสงได้ จึงอาจใช้พื้นที่ของใบไม้มาใช้ประเมินอัตราการสังเคราะห์แสง “เนื่องจากใบไม้มีรูปร่างที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิต จึงไม่สามารถคำนวณหาพื้นที่โดยใช้สูตรได้โดยตรง เด็ก ๆ จึงได้ฝึกหาพื้นที่โดยประมาณของใบไม้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการใช้ใบไม้ทาบลงไปบนกระดาษตาราง วาดเส้นขอบ แล้วหาพื้นที่โดยนับตาราง และอีกวิธีหนึ่ง คือ ปรับรูปใบไม้อยู่ในรูปที่หาพื้นที่ได้ง่าย โดยใช้ความรู้ทางเรขาคณิตเข้าช่วย พี่สมเกียรติบอกฐาน โอ้โฮ ! ต้นไม้สูงจัง ที่สวนปิคนิค โดยพี่นวล พี่นวลบอกน้อง ๆ ว่าตั้งแต่โบราณมาแล้ว มนุษย์มีวิธีวัดความสูงของต้นไม้หลากหลายวิธีมาก บางวิธีก็น่าสนุก บางวิธีก็น่าหวาดเสียว นักวิทยาศาสตร์บางคนปีนขึ้นไปบนยอดของต้นไม้ด้วยตัวเอง แล้วปล่อยสายวัดลงมาที่พื้น บางคนใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าไคลโนมิเตอร์ ส่วนชาวอินเดียนแดงนั้นเดินไปที่ต้นไม้ หันหลังให้ต้นไม้แล้วเดินออกมา หยุดก้มหน้าแล้วมองลอดหว่างขา ถ้ายังไม่เห็นยอดของต้นไม้ให้เดินต่อไป แล้วหยุดตรงที่มองเห็นยอดไม้พอดี มุมเงยจะทำมุมประมาณ 45 องศา ฉะนั้น ณ ตำแหน่งที่หยุดจะอยู่ห่างจากต้นไม้เป็นระยะทางเท่ากับความสูงของต้นไม้ ฐานนี้เด็ก ๆ ได้ทดลองวัดความสูงของต้นไม้ที่ตัวเองหมายตาเอาไว้ด้วยตัวเอง แล้วบอกด้วยว่าเราจะรู้ความสูงต้นไม้ไปเพื่อประโยชนือะไรได้บ้างฐานนั่นดอกไม้อะไรสวยจัง ที่เมืองจราจร โดยพี่ต๊อดกับพี่ว่าน น้อง ๆ ได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะของพืชผักผลไม้และดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ลักษณะเฉพาะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์อย่างลงตัว ที่เห็นได้ชัดคือลำดับฟิโบนักชี เด็ก ๆ ได้ไปสำรวจปริศนาของดอกไม้ในสวนรถไฟแล้วพิสูจน์ว่าเกี่ยวข้องกับฟิโบนักชีอย่างไร และฐานโบยบินไปกับผีเสื้อ ที่อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพ ฯ โดยพี่หญิงและพี่เนตร ฐานนี้มีวิทยากรจากอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพ ฯ คือ ป้าสุนันท์ และป้าติ๋ว ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผีเสื้อแก่เด็ก ๆ ด้วย เด็ก ๆ ได้เล่นเกมเรียนรู้วงจรชีวิต 4 ระยะของผีเสื้อ พาพื้นที่ของปีกผีเสื้อในกระเบื้องปูพื้นรูปผีเสื้อ และไขปริศนาการ์ดผีเสื้อ
เด็กชายกานฑ์ ขันละมัย (ก้าน) ชั้น ป. 5 โรงเรียนโสมาภา บอกว่า ชอบฐานผีเสื้อมากครับ แต่แดดร้อนไปหน่อย ผมชอบคณิตศาสตร์ และสนใจนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผมชอบทั้งคณิตศาสตร์และธรรมชติ ผมจึงสนุกกับกิจกรรมนี้มากครับ
เด็กชายกิตติธัช งามขำ (ออโต้) ชั้น ป. 5 โรงเรียนมณีวัฒนา บอกว่ากิจกรรมนี่ทำให้ตนเองได้เรียนรู้นอกห้องเรียนกับเพื่อนใหม่ ฐานที่ชอบมากก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้และดอกไม้ พวกพี่ ๆ วิทยากรน่ารักมาครับ
เด็กชายศิวกร จิระเดชดำรง (อาร์ช) ชั้น ป. 6 โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม บอกว่าผมชอบดูแมลงแมลงที่อยู่บนต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว กิจกรรนี้สนุกครับ ได้เพื่อนเพิ่มขึ้นด้วย แต่ผมอยากให้พทีมงานจัดกิจกรรมนานกว่านี้ เพราะเวลา 1 วันที่จัดน้อยไปหน่อยสำหรับผมครับ
เด็กหญิงพิมพ์ชนก จำปางาม (พลอย) ชั้น ป. 4 โรงเรียนสาธิตจุฬา ฯ เล่าว่า ในชีวิตประจำวันของหนูได้ถามคุณพ่อคุณแม่และอาจารย์เสมอถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ทำไมต้นไม้ถึงมีรูปร่างและใบแตกต่างกัน พร้อมกับออกดอกออกผลได้ตามฤดูกาล กิจกรรมนี้ทำให้หนูได้คำตอบจากธรรมชาติอีกหลายอย่าง ที่ชอบมากคือโบยบินไปกับผีเสื้อ และนั่นดอกไม้อะไรสวยจัง
น้อง ๆ นั้น ต่างก็บอกว่าสนุกมากกับกิจกรรมนี้ และอยากให้จัดอีกไปเรื่อย ๆ หลายคนมีไอเดียสำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปเสนอต่อพี่ทีมงาน อาทิ อยากให้จัดกิจกรรมให้ปีนต้นไม้ อยากพายเรือ อยากขี่จักรยานทางไกล อยากเรียนรู้เพิ่มเรื่องดวงดาว แมลง ฯลฯ ซึ่งพี่ ๆ จะรับไว้พิจารณาค่ะ
กิจกรรมดี ๆ เหล่านี้ติดตามได้ในเว็บไซต์วิชาการดอทคอม และเว็บไซต์ สสวท. www.ipst.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ