ปภ.แนะซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในบ้านหลังน้ำลด

ข่าวทั่วไป Monday September 22, 2008 16:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--ปภ.
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะวิธีซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในบ้านหลังน้ำลด เช่น ประตู หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ฝ้าเพดาน ระบบประปา และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อสามารถนำอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัย หากไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรเรียกผู้ชำนาญการมาแก้ไขโดยด่วน เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกไฟฟ้าดูดไฟฟ้าช๊อตเสียชีวิต
นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้ว ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ผู้ประสบภัยต้องประสบภายหลังน้ำลดระดับ ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขัง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอแนะวิธีซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน ดังนี้ ประตู หน้าต่าง ที่ทำจากไม้และแช่น้ำเป็นเวลานาน อาจเกิดการบวมและบิดตัว ควรปล่อยให้อุปกรณ์แห้งสนิทก่อนจึงทาสีใหม่ กรณีโครงสร้างเป็นเหล็ก ให้ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมดก่อนจึงทาสีใหม่ เฟอร์นิเจอร์ ควรนำมาตากแดดหรือถอดออกมาเช็ด เพื่อเอาความชื้นออกมาให้มากที่สุด สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะแม้จะมาดำเนินการซ่อมแซม ช้งาน ควรเช็ดให้แห้งสนิทและตรวจสอบการรั่วไหลของกระแสไฟ เพื่อป้องกันตากแดดจนแห้งสนิทก็ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างดี ฝ้าเพดาน หากพบว่ามีการเปื่อยยุ่ยจากการอมน้ำให้เลาะออกทันที หากปล่อยทิ้งไว้อาจหล่นลงมาก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและบุคคลในครอบครัว ระบบประปา ให้ตรวจสอบท่อส่งน้ำภายในบ้านว่า มีรอยแตกหรือเกิดการรั่วซึมหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆควรตรวจสอบอย่างละเอียด บานพับ ลูกบิดและรูกุญแจ อุปกรณ์เหล่านี้ เมื่อถูกน้ำจะเกิดปัญหาได้ง่าย ให้เช็ดน้ำออกให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกแล้วใช้น้ำยาหล่อลื่นชะโลมตามจุดรอยต่อ แต่ไม่ควรใช้จารบี เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกมาไม่ได้ อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม อาจมีลักษณะฉนวนหรือปลอกหุ้มหลุด บวม และลอกเปื่อย โดยเฉพาะจุดต่อเชื่อมที่ใช้กระดาษกาวหุ้มควรเปลี่ยนใหม่ทันที และก่อนนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำมาใช้งาน ควรเช็ดให้แห้งสนิทและตรวจสอบการรั่วไหลของกระแสไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดควรให้ช่างที่ชำนาญมาดำเนินการซ่อมแซม สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วนสาธารณภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ