วิกฤตนมในจีนส่งผลดีต่อซีพีเอฟ และอุตสาหกรรมอาหารของไทย

ข่าวทั่วไป Wednesday September 24, 2008 16:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--ซีพีเอฟ นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า กรณีวิกฤตนมที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ส่งผลให้นานาประเทศทั่วโลกขาดความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทจากประเทศจีน และระมัดระวังในการนำเข้าสินค้าอาหารจากจีนเป็นอย่างมาก ที่สำคัญหลายๆประเทศต่างหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับซีพีเอฟและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้จากคำสั่งซื้อของลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากทุกประเทศให้ความเชื่อมั่นในมาตรฐานอาหารปลอดภัยหรือ Food Safety ของซีพีเอฟ ที่สามารถดำเนินการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถึงแหล่งที่มาได้ในทุกขั้นตอนการผลิต ด้วยมาตรฐานระดับสากลที่รองรับอย่างครบถ้วน ได้แก่ GMP , HACCP, ISO 9002, ISO14001, TIS18001, ISO 17025, HALAL รวมไปถึง Animal welfare ครอบคลุมตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงการแปรรูปเป็นอาหาร หรือที่เรียกว่า from farm to table ส่วนวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาที่หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะส่งผลกระทบไปทั่วโลกนั้น แต่ในอุตสาหกรรมอาหารกลับไม่ได้ผลกระทบ เนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประกอบกับระดับราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารแปรรูปของซีพีเอฟลดลงตามไปด้วย และซีพีเอฟเน้นการผลิตในอาหารแปรรูป สำหรับการลงทุนในต่างประเทศนั้น ซีพีเอฟกำลังจะเปิดดำเนินกิจการโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ทันสมัยทึ่สุดในโลกในประเทศรัสเซียในเร็วๆนี้ ซึ่งนับเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใสดีมาก เนื่องจากรัสเซียเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ ขณะที่ชาวรัสเซียนิยมบริโภคเนื้อสุกรอย่างมาก ถึงขนาดเป็นผู้นำเข้าเนื้อสุกรอันดับต้นๆ ของโลก จากสถานการณ์ดังกล่าวเชื่อว่า ซีพีเอฟจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ส่งผลโดยตรงต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลังที่จะเป็นไปตามเป้าหมายด้วยยอดขาย 150,000 ล้านบาท และจะสดใสต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งปี 2009 ด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ พรรณินี นันทพานิช, ศุภกิติ สหเวชชภัณฑ์, อัญชลี วิสุทธิรัตนกุล ด้านสื่อสารและประชาสัมพันธ์ CPF โทร. 0-2625-7344-5, 0-2631-0641, 0-2638-2713 e-mail : [email protected]

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ