โครงการ Pre-HACCP บันไดก้าวนำร่อง สู่มาตรฐานอาหารปลอดภัยของผู้ประกอบการ SME ของไทย

ข่าวทั่วไป Monday December 8, 2008 14:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--คอมมูนิเคชั่นแอนด์ แอนด์ มอร์ ก่อนหน้านี้การที่โรงงานอาหารระดับ SME จะขอรับรองระบบประกันความปลอดภัยของอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point System) เป็นไปได้ยาก เพราะนอกจาก HACCP เป็นระบบประกันความปลอดภัยอาหารที่อาศัยหลักการและความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอาหาร ทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์อันตรายให้สอดคล้องกับระบบผลิตอาหารของโรงงานนั้นๆ ระบบ HACCP ยังต้องการโครงสร้างโรงงานถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ที่สำคัญบุคลากรยังจะต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติ และผลิตอาหารตามสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด บุคลากรมีเอกสารทวนสอบได้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับสาเหตุของปัญหาได้ หากมีกรณีเกิดการปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ จะทำให้ผู้ประกอบการอาหารระดับ SME ท้อและหมดกำลังใจที่จะยื่นขอรับรอง จากข้อมูลปี 2550 ผู้ประกอบการ SME ด้านอาหารกว่า 9,000 โรงงานทั่วประเทศ พบว่ามีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้นที่ได้รับการรับรองระบบประกันอาหารปลอดภัย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการ SME ในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนยังมิได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบประกันอาหารปลอดภัย บางโรงงานสับสนจะเริ่มต้นพัฒนาระบบความปลอดภัยจากตรงจุดไหน ผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ยังไม่ได้มาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยอาหารเท่าที่ควร ส่งผลต่อการขยายตัวทางธุรกิจของกิจการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตอาหารระดับ SME เตรียมเข้าสู่ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย HACCP หรือ โครงการ Pre-HACCP ในปี 2551เป็นโครงการนำร่องสู่ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่สำคัญของผู้ประกอบการ SME อาหารของไทยพัฒนาขีดความสามารถสู่มาตรฐานความปลอดภัยของระบบอาหารระดับสากล โครงการ Pre-HACCP เสมือนเป็นตัวกระตุ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับตัว และเตรียมพร้อมกิจการสู่ระบบอาหารปลอดภัยสากลอื่นๆ ในอนาคต ในฐานะหัวหน้าโครงการ Pre-HACCP ดร.วารุณี วารัญญานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า จากการที่สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ศูนย์นวัตกรรมวิทยาการอาหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU-FIRST) โดยสถาบันค้นคว้าและผลิตภัณฑ์อาหาร ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการ Pre-HACCP ในปี 2551 นี้ จากการดำเนินงานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ขณะนี้ในเดือนธันวาคม 2551 ทางคณะทำงานได้ดำเนินการจนเกือบเสร็จสิ้นโครงการฯแล้ว มีกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหมด 12 รุ่น โดยมีผู้ประกอบการทั่วประเทศทั้งในส่วนกรุงเทพและปริมณฑล และส่วนภูมิภาคให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 601 โรงงาน ติดต่อ อาคารอมรภูมิรัตน ชั้น 3 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ตู้ ปณ. 1043 ปทฝ.เกษตรศาสตร์ กทม. 10903 โทร. 0-2942-7990, 0-2942-8629-35 ต่อ 307 โทรสาร. 0-2942-7991, 0-2940-6455 Website : www.ifrpd.ku.ac.th บุคลากรที่เข้าร่วมฝึกอบรมรวม 1,286 คน เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการวางไว้ และหลังจากกิจกรรมให้คำปรึกษาที่สถานที่จริงเพื่อพัฒนาระบบ Pre-HACCP ตามข้อกำหนดโครงการ พบโรงงานอาหารผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานของโครงการ Pre-HACCP จำนวน 400 โรงงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 66.67 สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมของโครงการ Pre-HACCP เป็นหลักสูตรแรกที่ไม่เคยมีในประเทศ ได้รับการพัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหารซึ่งได้รับการเห็นชอบจากองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนกิจกรรมของโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านการฝึกอบรม โดยจัดอบรม Pre-HACCP อาหาร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย อาหารบรรจุในภาชนะปิดสนิท (ชนิดกรดต่ำ ชนิดปรับกรด และชนิดกรด) อาหารแห้ง และกึ่งแห้ง อาหารหมัก อาหารแช่เย็นเครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ซึ่งเป็น การอบรมภาคทฤษฎีที่จะให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ และความเข้าใจ ตลอดจนสามารถประเมิน และวิเคราะห์อันตรายในระบบการผลิตของตนและป้องกันแก้ไขเพื่อให้สามารถควบคุมอันตรายให้เป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่กำหนด ส่วนการฝึกปฏิบัติมีการปรึกษากลุ่มเสนอผลงานในระหว่างฝึกอบรม ช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจทฤษฎีได้ถ่องแท้มากขึ้น การอบรมใช้เวลาฝึกอบรมทั้งสิ้น 4 วัน ส่วนที่สอง การพัฒนาระบบเพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัยของอาหาร พื้นฐานสุขลักษณะของอาหารผ่าน GMP และ SSOP ตลอดจนการพัฒนาระบบ Pre-HACCP โดยทีมที่ปรึกษาโครงการฯ เข้าเยี่ยมโรงงาน เพื่อให้คำปรึกษา และคำแนะนำในการปรับปรุงโรงงาน เตรียมพร้อมการประเมินตามเกณฑ์ของ Pre-HACCP ซึ่งเป็นบันใดนำร่องสู่มาตรฐานความปลอดภัยอาหารต่อไป นางสุพรรณิกา แรมชื่น เจ้าของ บริษัท สยามท่าใหม่ จำกัด ผู้ผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่นบรรจุขวดแก้ว กล่าวว่า “เนื่องจากเห็ดโคนญี่ปุ่นมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย และมีรสชาติอร่อยถูกปาก ผู้บริโภคจึงนิยมนำไปปรุงอาหาร ซึ่งในตอนแรกคิดว่าการยื่นขอระบบ HACCP เป็นเรื่องยาก ต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงโรงงานสูง แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการ Pre-HACCP นี้แล้วทำให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบและหลักการของ HACCP มากยิ่งขึ้น อีกทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาของโครงการฯ ยังให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์มาก ทำให้ผมสามารถพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามขั้นตอน โดยใช้งบประมาณที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งหากมองในระยะยาวถือว่าคุ้มค่ามาก ดังนั้นโครงการนี้ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME อย่างแท้จริง ทำให้เกิดการปรับปรุงการผลิตและการจัดการด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัยสากล ทำให้สามารถสืบย้อนไปยังสาเหตุได้หากเกิดปัญหาขึ้น ที่สำคัญทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภค และยังสร้างความมั่นใจ และน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ของโรงงานอีกด้วย” นางณัฐติกาญจน์ พวงแก้ว ผู้บริหาร บริษัท คันธรส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตเครื่องดื่มขิงผง เก๊กฮวยผง และมะตูมผง จำหน่ายให้กับซุปเปอร์มาร์ชั้นนำต่างๆ กล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ Pre-HACCP คือ เครื่องดื่มขิงผง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูง เนื่องจากคนไทยหันมาดูแลรักษาสุขภาพกันมาก ทำให้เครื่องดื่มสมุนไพรไทยอย่างขิงซึ่งมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพมากมายเป็นที่นิยม จึงมียอดสั่งซื้อสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ดังนั้นจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโดยทราบว่าการเข้าร่วมโครงการฯไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ได้เรียนรู้ระบบการจัดการความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล หลังจากเรียนรู้ในหลักการแล้ว เมื่อนำมาปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้รับการอบรมมาอย่างเคร่งครัด ทำให้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผลิตที่ไม่เป็นระบบ ช่วยเปลี่ยนภาระต้นทุนที่เกิดจากความเสียหายกลับมาเป็นกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำหลักการมาปรับใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของบริษัทได้อีกด้วย ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พร้อมแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน ต้องขอขอบคุณและอยากให้โครงการดีๆ อย่างโครงการ Pre-HACCP เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ขอบคุณคณะที่ปรึกษาของโครงการแบบนี้เป็นอย่างสูง และอยากให้มีโครงการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME อย่างนี้ต่อไป” ดร.วารุณี วารัญญานนท์ กล่าวว่า “ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณผู้ประกอบการโรงงานอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ที่ทำให้โครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกประการ เพราะหลังจากผ่านการอบรมทั้งด้านวิชาการและปฏิบัติ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาเข้าเยี่ยมให้คำปรึกษาในการปรับปรุงและพัฒนาโรงงาน ปรากฏว่าโรงงานต่างๆ ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พยายามปรับปรุงและพัฒนาโรงงานของตนเองอย่างจริงจัง สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังแสดงศักยภาพด้านการผลิตอาหารของไทยให้ยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนทั่วโลก ที่สำคัญ ฝ่ายผู้บริโภคเองย่อมได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้สิทธิของตนเองเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเต็มที่ ผู้บริโภคต้องฉลาดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย โดยการสังเกตตราสัญลักษณ์รับประกันความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องหมาย Pre-HACCP นั่นเอง” “ด้วยเหตุนี้อาหารปลอดภัยไม่ใช่แต่จะเป็นหน้าที่ของภาครัฐและภาระของผู้ประกอบการเท่านั้น หากแต่ผู้บริโภคเองจะต้องให้ความร่วมมือในการใช้สิทธิของตัวเองอย่างเต็มที่ ในการเข้าถึงอาหารปลอดภัย ตลอดจนติดตามข่าวสารอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพราะผลประโยชน์ของอาหารปลอดภัยนั้น ไม่ได้ตกไปเป็นของใครอื่น นอกจากพวกเราและลูกหลานของพวกเรานั้นเอง” ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ บุษบา / พิธิมา โทร. 085-803-6222 / 081-777-4452

แท็ก ประกัน   SME  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ