สหรัฐฯขยายเวลาการเริ่มบังคับใช้ระเบียบรับรองการนำเข้าสินค้าที่ทำจากไม้

ข่าวทั่วไป Wednesday May 6, 2009 17:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 พ.ค.--คต. นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รักษาการอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ว่ากระทรวงเกษตรสหรัฐฯและศุลกากรได้ขยายเวลาในการเริ่มบังคับใช้ระเบียบการกรอกข้อมูลโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการนำเข้าสินค้าที่ทำจากไม้ ตามแบบฟอร์ม Plant and Plant Product Declaration Form (PPQ) ออกไปอีก 30 วันซึ่งเดิมให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีระยะเวลาในการศึกษาเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับระบบนี้ อย่างไรก็ดี สหรัฐฯได้กำหนดชนิดสินค้าที่ผู้นำเข้าต้องกรอกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ได้แก่ ลำดับ พิกัดศุลกากร รายละเอียดสินค้า (H.S. Code) 1. 44.01 ไม้ฟืน เป็นท่อน กิ่ง มัด รวมทั้งขี้เลื่อยและเศษไม้ (Fuel wood) 2. 44.03 ไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูป รวมทั้งไม้ที่ถากเปลือกออกอย่างหยาบๆ (Wood in rough) 3. 44.04 ไม้ซีก ไม้เสาเข็ม ไม้ท่อนเล็กที่ตกแต่งอย่างหยาบ (Hoopwood, poles, posts, stakes) 4. 44.06 ไม้หมอนรถไฟหรือรถราง (Railway and tramway sleepers) 5. 44.07 ไม้ที่เลื่อย มีความหนาเกิน6 ม.ม. (Wood sawn or chipped lengthwise) 6. 44.08 แผ่นไม้สำหรับทำไม้วีเนียร์และไม้อัด หนาไม่เกิน6 ม.ม. (Sheets for veneering) 7. 44.09 ไม้สำหรับปูพื้นปาร์เกต์ ทำเป็นลิ้น ร่อง บังใบ (Wood continuously shaped) 8. 44.17 ตัวและด้ามเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ รวมทั้งถังไม้ (Tools, tool handles, broom handles) 9. 44.18 เครื่องประกอบอาคาร รวมทั้งแผงไม้เซลลูลาร์ กระเบื้องไม้ (Builders’ joinery) ทั้งนี้ สินค้าที่ทำจากไม้ที่ไม่ได้อยู่ในรายการข้างต้น จะเริ่มใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รักษาการอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่าสหรัฐฯเป็นตลาดใหญ่ของไทยในสินค้าไม้ โดยมีมูลค่าส่งออกเฉลี่ยปีละ 13,000 ล้านบาท ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดต่างๆอย่างๆเคร่งครัดโดยเฉพาะในเรื่องการไม่ลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะเป็นการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมายของไทยและสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาตลาด และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าของไทยในตลาดโลกอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ