กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส ยอดขายในกลุ่มเนสท์เล่ อินโดไชน่า และเนสท์เล่ ประเทศไทย ปี 2548 ยอดขายรวมในกลุ่มเนสท์เล่ อินโดไชน่า (ประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม) โดยรวมรายได้จากการส่งออก มีมูลค่าประมาณ 38,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 คิดเป็น 8.4% โดย - ในปี 2548 กลุ่มเนสท์เล่ ประเทศไทย มียอดขายภายในประเทศ รวมมูลค่าประมาณ 27,000 ล้านบาท - และมีรายได้การส่งออกในกลุ่มเนสท์เล่ ประเทศไทย มูลค่าประมาณ 8,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของยอดขายกลุ่มเนสท์เล่ อินโดไชน่า กลุ่มเนสท์เล่ อินโดไชน่า คาดการณ์ว่ายอดขายในปี 2549 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 6-7% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศ ผลิตภัณฑ์ของเนสท์เล่ ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 12 กลุ่ม 1. ผลิตภัณฑ์อาหารบำรุงสุขาภาพ (Health Nutrition) 2. ผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็ก (Children Health & Nutrition Solution) 3. ผลิตภัณฑ์โภชนาการสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Nutrition) 4. ผลิตภัณฑ์กาแฟ ชา และครีมเทียม (Coffee, Tea and Creamer) 5. ผลิตภัณฑ์ไมโล (MILO) 6. ผลิตภัณฑ์โภชนาการกีฬา (Performance Nutrition) 7. ผลิตภัณฑ์นมสำหรับทำอาหารและเครื่องปรุงรส (Cooking millk & Culinary) 8. ผลิตภัณฑ์ช็อคโกแลต (Chocolate) 9. ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าซีเรียล (Breakfast Cereal) 10. ผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม (Water) 11. ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและผลิตภัณฑ์แช่เย็น (Ice Cream & Chilled) 12. ผลิตภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง (Pet Care) ปัจจุบัน เนสท์เล่สามารถครองตำแหน่งผู้นำตลาดในผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ - ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ - ผลิตภัณฑ์คอฟฟี่เมต - ผลิตภัณฑ์นมผงตราหมีสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป - ผลิตภัณฑ์นมข้นจืดคาร์เนชั่น - ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเนสท์เล่สำหรับเด็กทารก - ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปเนสวิต้า และนมตราหมี สเตอริไลส์ - ผลิตภัณฑ์อาหารเช้าซีเรียล - ผลิตภัณฑ์อาหารแมวฟริสกี้ ข้อมูลอ้างอิง Nestle Nutritional Compass ... สัญลักษณ์แห่งคุณภาพโภชนาการ ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความใส่ใจด้านโภชนาการและสุขภาพมากขึ้น เนสท์เล่ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำที่มีเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านสุขภาพและโภชนาการ เพื่อการมีชีวิตที่ดีของผู้บริโภค เราจึงมองลึกลงไปอีกว่า นอกเหนือจากข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้บริโภคควรทราบแล้ว ผู้บริโภคยังน่าจะได้รับทราบถึงคุณค่าทางโภชนาการของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่มีต่อร่างกาย โดยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่อร่อยและดีต่อสุขภาพได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งมีเคล็ดลับการเตรียมหรือปรุงผลิตภัณฑ์แบบต่าๆง เพื่อรสชาติที่ดียิ่งขึ้น และในกรณีที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ผู้บริโภคก็สามารถติดต่อกับเนสท์เล่ได้ทันที ดังนั้น ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 ที่ผ่านมาสังเกตได้ว่าเนสท์เล่ได้เริ่มปรับปรุงข้อมูลด้านโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ด้วยการเพิ่มเติมข้อมูลน่ารู้ด้านโภชนาการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลงไปบนบรรจุภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า Nestle Nutritional CompassNestle ประกอบด้วย 3 ส่วยสำคัญ คือ 1. ชวนให้จำ เป็นเกร็ดน่ารู้ด้านโภชนาการ และสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ หรือเป็นแนวทางในการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่มได้หลากหลาย 2. ชวนให้คุยกับเรา เป็นส่วนที่แสดงหมายเลขโทรศัพท์ และเว็บไซต์ ของศูนย์บริโภคเนสท์เล่ซึ่งผู้บริโภคสามารถติดต่อเพื่อทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงข้อมูลด้านโภชนาการและสุขภาพ 3. ชวนให้รู้ เป็นการให้ข้อมูลสารอาหารที่เป็นจุดเด่น ของผลิตภัณฑ์ที่ปรากฎบนฉลากโภชนาการ ขณะนี้ ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็น Nestle Nutritional Compass ได้บนบรรจุภัณฑ์ของนมผงตราหมีแอดวานซ์, นมไขมันต่ำ ตราหมีโกลด์, นมข้นหวานชนิดพร่องไขมัน คาร์เนชั่น และไอศกรีมเนสท์เล่ เอสกิโม เป็นต้น และจะเริ่มทยอยปรากฏโฉมบนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของเนสท์เล่ นับแต่นี้ไป ข้อมูลอ้างอิง โครงการศึกษาวิจัยการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคเมตะบอลิก ซินโดรม ตามรายงานสถิติสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2548 การตายของคนไทยทั้งหมด 109,556 ราย พบว่า 1 ใน 3 ของการตายมาจาก 4 โรค ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ทุกโรคล้วนเป็นโรคที่เกี่ยวพันกับโรคอ้วนทั้งสิ้น เนสท์เล่ได้ตระหนักถึงสุขภาพคนไทย พร้อมมุ่งส่งเสริมให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างสมดุลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้ร่วมกับกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือกลุ่มโรคที่เกิดจากการที่ไขมันในช่องท้องมีมากเกินไป และแทรกอยู่ตามกระเพาะ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน เป็นต้นทำให้อินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนออกฤทธิ์ไม่ดี จนเกิดภาวะดื้อต่อินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติตามมา ซึ่งโรคในกลุ่มดังกล่าวนี้กำลังเป้นปัญหาคุกคามคนทั่วโลก และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยถึงร้อยละ 70 ในอนาคตอันใกล้ด้วย วัตถุประสงค์โครงการ 1. เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคเมตะบอลิก ซินโดรม (Metabolic Syndrome) ของคนไทยกลุ่มวัยทำงานอายุ 20-59 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคเมตะบอลิก ซินโดรม โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการใช้พลังงานอย่างสมดุลย์เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จึงได้สนับสนุนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในโครงการศึกษาวิจัยการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคเมตะบอลิก ซินโดรม มูลค่า 1,500,000 บาท โดยมอบเครื่องมือตรวจวัดไขมันในร่างกาย Bio-electrical impedance เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้และต่อๆไป พร้อมสนับสนุนการผลิตเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อป้องกันโรคอ้วนแก่ประชาชนทั่วไป โครงการนี้จะสำรวจกลุ่มวัยทำงานอายุ 20-59 ปี จำนวน 3,125 ราย ในเขตกรุงเทพฯ โดยจะเริ่มดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2549 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ ประมวลผล และจัดทำรายงานต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รู้ถึงสถานการณ์โรคเมตะบอลิก ซินโดรม ของคนไทยกลุ่มวัยทำงานอายุ 20-59 ปี ในเขตกรุงเทพฯ 2. ได้องค์ความรู้จากการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนผลการศึกษาวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาข้อสรุปของแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคเมตะบอลิกซินโดรม และการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ได้สมดุลกับการใช้พลังงาน 3. ได้สร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงการควบคุม และป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมตะบอลิก ซินโดรม และการส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสมดุล