การประเมินผลการปฏิบัติให้สอดคล้องตามระเบียบ REACH

ข่าวทั่วไป Friday July 17, 2009 15:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ค.--คต. นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ด้วยตัวแทนภาคธุรกิจยุโรป (Business Europe) ได้รายงานการประเมินผลการปฏิบัติให้สอดคล้องตามระเบียบ REACH ภายหลังจากที่ได้ประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2552 เพื่อให้หน่วยงานของประเทศสมาชิกที่มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ได้ทราบถึงรายละเอียดของความสำเร็จรวมทั้งปัญหาอุปสรรคของภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. ภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทสามารถจะลดลงได้จากเดิมอีก ถ้า ECHA ยอมให้มีการแบ่งชำระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนเป็นรายครั้งแทนรายปี และควรลดค่าธรรมเนียมในระยะยาวให้ ต่ำกว่าเดิม นอกจากนี้จำนวนสารเคมีที่ได้ขอยื่นจดทะเบียบล่วงหน้ามีจำนวนมากกว่าที่ประมาณการไว้ถึง 15 เท่า และมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดสถานการณ์เช่นเดียวกันนี้อีกในช่วงการจดทะเบียนสารเคมี 2. แม้ว่าระเบียบ REACH จะสามารถใช้บังคับควบคุมการจัดการสารเคมีภายใน EU อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ต้องกำหนดหลักประกันของข้อบังคับในกฎหมายที่ใช้ควบคุมให้มีความสอดคล้องกัน เนื่องจากระเบียบ REACH ยังมีส่วนที่ทับซ้อนกับกฎระเบียบอื่นๆ ได้แก่ ระเบียบ RoHS, Ecolabel และ Cosmetic Directive เป็นต้น ดังนั้น EU อาจแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยต้องกำหนดเกณฑ์ให้แต่ละระเบียบต้องมีความเป็นเอกภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของการบังคับใช้ซึ่งการใช้กฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกัน จะนำไปสู่การสร้างปัญหาในระบบ Supply Chain ที่มีความซับซ้อนอยู่แล้ว 3. คู่มือการปฏิบัติให้สอดคล้องกับระเบียบ REACH โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธะ ข้อผูกพันของภาคอุตสาหกรรมนั้น ควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนในการตีความทางกฎหมายโดยให้ผู้แทนภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ควรจัดพิมพ์เอกสารคู่มือฯ เป็นภาษาของประเทศสมาชิก EU ทุกประเทศ 4. EU ควรให้ความสนใจต่อข้อเท็จจริงในการประสบปัญหาการปฏิบัติให้สอดคล้องตามระเบียบ REACH ของภาคอุตสาหกรรม จากการที่ประเทศสมาชิก EU บางประเทศอยู่ระหว่างการยกเลิกกฎระเบียบเดิมของประเทศตน การตีความบทบัญญัติการลงโทษตามระเบียบ REACH อีกทั้งการบังคับใช้ระเบียบนี้ ยังมีความแตกต่างกันระหว่างภายในประเทศสมาชิกโดยสิ้นเชิง ซึ่งนำไปสู่การสร้างภาระด้านกฎหมาย การบริหารงานเอกสาร และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน ดังนั้นภาคเอกชนจึงเสนอให้จัดตั้ง Forum เครือข่ายของหน่วยงาน Competent Authorities ของประเทศสมาชิกต่างๆ ขึ้นเพื่อบังคับใช้ข้อกำหนดของกรณีการใช้สารเคมีในตัวสินค้าได้ไม่เกิน 0.1 % อย่างเคร่งครัด และควรปรับประสานการปฏิบัติตามเกณฑ์ End - of Waste Criteria และทบทวนข้อกำหนดตามมาตรา 67.3 ของระเบียบ REACH เรื่องการวางจำหน่ายในตลาดและการใช้ประโยชน์สารอันตรายเพื่อยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดมากไป รวมถึงควรปรับปรุงเครือข่าย REACH Helpdesk สำหรับการเข้าร่วมของภาคอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงแรกของขั้นตอนต่างๆ ในระเบียบ REACH 5. อย่างไรก็ดี ECHA ควรมีการพิจารณาศึกษาผลกระทบของระเบียบ REACH ที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศด้วยความระมัดระวัง และต้องให้ความชัดเจนเกี่ยวกับภาระข้อผูกพันของบริษัทนอก EU รวมทั้งด้านความสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ WTO เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการแข่งขันทางการค้า ได้แก่ ขั้นตอนการจดทะเบียนสารเคมีที่ยังไม่มีความชัดเจนและการแต่งตั้ง OR เพื่อทำหน้าที่ติดต่อกับ ECHA ซึ่งล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่อการค้า อย่างไรก็กี ECHA ต้องคำนึงถึงการเกิดผลกระทบต่อความ สามารถทางการแข่งขันภายในตลาด EU และระหว่างตลาดต่างประเทศของบริษัทยุโรป เนื่องจากบริษัทคู่แข่งไม่ต้องมีภาระด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี เช่นเดียวกับระเบียบ REACH 6. ระบบการยื่นข้อมูลขอจดทะเบียนสารเคมีและข้อมูลอื่นๆ แบบออนไลน์ ต้องสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการปฏิบัติระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเองในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามแผนงาน SIFF (Substance Information Exchange Forum) และระบบควรมีศักยภาพสำหรับการรับข้อมูลได้ทุกภาษาของประเทศสมาชิก EU เพื่อความสะดวกของ SMEs เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.businesseurope.eu/DpcShareNoFrame/docs/l/NPLAKNLCFJHGAJOHNNNGJEJBPDBG9DWY7D9LTE4Q/UNICE/docs/DLS/2009-01190-E.pdf

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ