เคล็ด (ไม่) ลับ..การเลือกบริโภคน้ำมันอย่างปลอดภัย

ข่าวทั่วไป Thursday August 13, 2009 16:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์ ช่วงนี้ใครๆ ก็ตื่นตัวเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้ต่างก็หันมาดูแลสุขภาพตัวเอง และปฏิบัติตามกระแสรักสุขภาพที่ทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย นับว่าเป็นผลดีที่ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยให้หันมาใส่ใจตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน วันนี้จึงมีเคล็ด (ไม่) ลับ ดูแลตัวเองเรื่องการบริโภคน้ำมันที่ทุกคนควรรู้ไว้อย่างยิ่งมานำเสนอ ใช้น้ำมันให้เหมาะกับประเภทของการปรุงอาหาร ไม่ใช่ว่ามีขวดเดียวก็ใช้ทำซะทุกอย่าง เพราะน้ำมันพืชบางชนิดมีจุดเดือดเป็นควันต่ำไม่เหมาะจะนำไปทอดหรือผัดที่ใช้ความร้อนสูงเนื่องจากจะทำให้โครงสร้างของน้ำมันเปลี่ยนไปจนอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ น้ำมันที่มีจุดเดือดสูงเหมาะแก่ทอดหรือผัด เช่น น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน น้ำมันปาล์ม เป็นต้น น้ำมันที่เหมาะในการผัด เช่น น้ำมันคาโนล่า น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น น้ำมันที่เหมาะในการใช้แต่งกลิ่น ทำน้ำสลัด หรือหมักเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา เป็นต้น เลือกน้ำมันให้เหมือนเลือกวัตถุดิบ ในการประกอบอาหารไม่ว่าเนื้อสัตว์หรือผักทุกคนจะเลือกที่สด สะอาด และคำนึงถึงคุณภาพที่ดีเสมอ แต่ในทางกลับกันในการเลือกน้ำมันมาปรุงอาหารกลับเลือกที่ราคาเป็นหลัก ทั้งที่น้ำมันเป็นส่วนประกอบในอาหารทุกมื้อและการบริโภคน้ำมันบางชนิดมากๆและบ่อยๆอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน เป็นต้น จึงควรเลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำและไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง (โอเมก้า 3,6,9) เช่น น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนล่า น้ำมันมะกอก เป็นต้น แม้จะมีราคาสูงกว่าบ้างแต่ก็มีประโยชน์คุ้มค่าหากใช้ให้ถูกประเภทของการปรุงอาหาร หรืออาจใช้น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งราคาจะต่ำกว่าแต่ทำอาหารได้หลากหลายประเภทและยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์พวกกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่ด้วย น้ำมันท่วมหรือเอาแค่พอเหมาะจะดีกว่า บรรดาอาหารผัดหรือทอดทั้งหลายไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมันท่วมเพื่อให้น่ากินหรือกรอบอร่อย เพราะไม่ว่าคุณจะใช้น้ำมันพรีเมียมอย่าง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชา หรือน้ำมันผสมที่เหล่าคนรักสุขภาพนิยมใช้ก็ควรบริโภคแค่พอเหมาะเพราะทุกอย่างหากมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน สำหรับการทอดไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเยอะใส่แค่พอเหมาะและเลือกน้ำมันที่มีจุดเดือดสูงเท่านี้ก็พอ อย่าใช้น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำ การใช้น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำมาใช้ซ้ำเป็นการประหยัดน้ำมันที่พ่อค้าแม่ค้าและพ่อบ้านแม่บ้านนิยมใช้ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้น้ำมันทอดซ้ำนอกจากจะเป็นอันตรายต่อผู้รับประทานแล้วผู้ปรุงเองก็ต้องสูดกลิ่นไอของน้ำมันเหล่านี้เข้าไปทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าน้ำมันชนิดใดไม่ควรใช้ทอดซ้ำเกิน 3 ครั้งเพื่อความปลอดภัย เลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันสมดุลกับความต้องการของร่างกาย รู้หรือไม่ว่าน้ำมันพืชบางชนิด มีส่วนประกอบของโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 แต่ในข้อเท็จจริงร่างกายควรได้รับกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดในปริมาณที่เหมาะสม หากได้รับโอเมก้า 6 มากไปและโอเมก้า 3 น้อยไปจะส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติตามมา เช่น ภาวะอักเสบของเส้นเลือด เป็นต้น จึงควรได้รับสารโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3ในปริมาณที่เหมาะสมทั้งนี้มีงานวิจัยที่แนะนำให้บริโภคโอเมก้า 6 : โอเมก้า 3 ในสัดส่วน 4 :1 ซึ่งในธรรมชาติไม่มีน้ำมันใดที่มีสัดส่วนของสารโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3เช่นนี้แต่ปัจจุบันมีการนำน้ำมันพืชมาผสมผสานเพื่อให้มีสัดส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3ที่สมดุลเพื่อมีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน เป็นต้น น้ำมันผสมทางเลือกใหม่ที่น่าลอง ในเมืองไทย “น้ำมันผสม” อาจเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ แต่ในต่างประเทศกลับมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำน้ำมัน 2 ชนิดมาผสมกันในสัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสมเพื่อให้เหมาะแก่การบริโภคโดยผ่านกรรมวิธีและเทคโนลียีการผลิตขั้นพิเศษ จนเกิดน้ำมันทางเลือกใหม่ที่น่าลอง อาทิ น้ำมันมะกอกผสมน้ำมันคาโนล่าเป็นต้น สำหรับในบ้านเราก็มีน้ำมันทางเลือกใหม่ “น้ำมันคาโนล่าผสมน้ำมันทานตะวัน” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี รู้เคล็ดลับดีๆ แบบนี้แล้วก็น่าจะปรับความคิดซะใหม่ว่า การบริโภคน้ำมันไม่ใช่สิ่งเลวร้ายอย่างที่คิด อย่ากลัวที่จะบริโภคน้ำมันแค่รู้จักกับมันและบริโภคอย่างถูกต้องก็จะได้ประโยชน์และปลอดภัยอย่างที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น... อย่าลืมว่าสุขภาพดีหาซื้อกันไม่ได้ ถ้าอยากสุขภาพดีก็ต้องเลือกหาสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง เลือกทานสิ่งที่ดีต่อร่างกาย ตามด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพดีๆ ก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน…. สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0-2718-3800

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ