มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดงานสัมมนาโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง การพัฒนาการแพร่ภาพเทคโนโลยี High—Definition ในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Friday September 4, 2009 14:11 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ย.--มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดงานสัมมนาโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง การพัฒนาการแพร่ภาพเทคโนโลยี High—Definition ในประเทศไทย ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ (The Emerald Hotel Bangkok) ชั้น 3 ห้องเพชรชมพู ในวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2552 เวลา 13.00-17.00 น. โทรทัศน์ความละเอียดสูงหรือ HDTV (High definition television) เป็นรูปแบบใหม่ของการรับชมรายการโทรทัศน์ที่ให้ภาพคมชัดกว่า สดใสกว่า และเสียงดีกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, S?CAM, PAL) โดยสถานีโทรทัศน์จะต้องแพร่ภาพรายการดังกล่าวในรูปแบบ HD ด้วย หรือสามารถรับชมภาพยนตร์หรือวิดีโอที่ อัดไว้ด้วยฟอร์แมต Blu-ray และ HD-DVD ส่วนผู้รับชมก็ต้องมีโทรทัศน์ที่สามารถรับชมรายการที่ส่งแบบ HD ได้ซึ่งส่วนมากจะแสดง สัญลักษณ์ HD ready ไว้ที่ตัวเครื่อง HD Ready เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสามารถในการรับสัญญาณเพื่อแสดงภาพด้วยความละเอียดสูง เป็นคำนิยามที่ใช้อย่างเป็นทางการในยุโรปตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 โดยองค์กร EICTA (European Information, Communications and Consumer Electronics Technology Industry Associations) EICTA ได้กำหนดให้สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายคุณภาพเพื่อสแงดถึงความแตกต่างของอุปกรณ์แสดงผล ความสามารถในการประมวลผลและแสดงผลสัญญาไฮเดฟ ในอเมริกา “HD Ready” หมายถึงอุปกรณ์แสดงผลใด ๆ ที่สามารถรับและแสดงผลสัญญาณไฮเดฟได้ทั้งแบบ 720p, 1080i หรือ 1080p โดยใช้สัญญาณวิดีโอหรือสัญญาณดิจิตอลใด ๆ และไม่มีจูนเนอร์สำหรับขยายสัญญาณไฮเดฟภายในตัว 1080p เป็นคำสั้น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงภาพวิดีโอ โดยเลข 1080 หมายถึงจำนวนความละเอียดของเส้นในแนวนอน 1,080 เส้นเป็นตัวอักษร p ย่อมาจาก progressive scan หรือ non-interlaced ในขณะที่ I ย่อมาจาก interlaced ปัจจุบันทั้ง 1080i และ 1080p เป็นฟอร์แมตความละเอียดสูงสุดที่ใช้กันทั่วไปในการแพร่ภาพและการเก็บภาพวิดีโอ 1080p เป็นสัญญาณภาพแบบ HDTV โดยมีการรับส่งในแบบไวด์สกรีนอัตราส่วน 16:9 นั่นหมายความว่า ความละเอียดของการแสดงจะผลอยู่ที่ 1920 จุดในแนวนอนและมีความละเอียดเท่ากับ 1920 ? 1080 หรือเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เว็บไซต์ http://www.ru-mct6.com อีเมล์ pr@ru-mct6.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ