SAP APJ รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ปี 2552 อัตราการเติบโตและรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง พร้อมความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวเทคโนโลยี Thursday September 17, 2009 14:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด มีอัตราการเติบโตเช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) ยังคงความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยจากรายงานล่าสุด แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นทั้งจากกำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margins) และความไว้วางใจในบริการหลังการขาย (Customer Support) ข้อมูลจากผลประกอบการดังกล่าว ระบุว่า เอสเอพีมีอัตราการเติบโตทางรายได้จากซอฟต์แวร์และบริการที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ราว 9% ขณะที่รายได้รวมทั้งหมดมีอัตราการเติบโตราว 12% แสดงให้เห็นว่าเอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีความสามารถบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้ในการดำเนินงานอย่างเห็นได้ชัด โดยรายได้จากการดำเนินงานของเอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกันกับอัตราการเติบโตทางกำไรรวมทั่วโลกของเอสเอพี ซึ่งอยู่ที่ 3.5% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยเป็นการประเมินเปรียบเทียบนัยทางการเงินแบบ non-GAAP เทียบกับช่วงการประเมินที่ผ่านมา “เอสเอพีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) มีแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเกิดจากการทำงานอย่างใกล้ชิดของบริษัทต่อความต้องการของลูกค้า ทำให้บริษัทอยู่ในตำแหน่งการแข่งขันที่แข็งแกร่งในภูมิภาคนี้ และบริษัทกำลังปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างมั่นคงเพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ให้สูงขึ้น” นางเจอร์ราดีน แมคไบร์ด ประธานเอสเอพี ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) กล่าว องค์กรขนาดกลางและเล็กเป็นส่วนที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะกับ ภาคส่วนที่ให้บริการสาธารณะและบริการด้านการเงิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในการสร้างตลาดในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ อัตราการเติบโตของบริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด มีแนวโน้มเช่นเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) โดยรวมเช่นเดียวกัน “บริษัทยังคงมองเห็นสัญญาณการสนับสนุนจากตลาดและจากลูกค้าจำนวนมากของบริษัท แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างในปัจจุบันก็ตาม” นายภัทร ยงวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “บริษัทมั่นใจว่า ประเทศไทยซึ่งมีโครงสร้างการให้บริการพื้นฐานที่ดี มีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม และมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนแบบก้าวหน้า จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว โซลูชั่นของ เอสเอพีที่ช่วยให้ลูกค้ามองเห็นภาพของธุรกิจได้ในคราวเดียว และช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วจะสร้างมูลค่าให้ธุรกิจอย่างล้นเหลือ แก่บริษัทในประเทศไทยที่กำลังวางแผนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าบนกระแสการฟื้นตัว” นายภัทรกล่าวเสริม ผู้ดำเนินธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เลือกเอสเอพี เสาหลักแห่งความสำเร็จของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) คือความน่าสนใจและการรักษาไว้ซึ่งลูกค้าคุณภาพสูง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 เอสเอพีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 รายทั่วโลก คิดเป็นรายการสั่งซื้อกว่า 17% ของรายการสั่งซื้อทั้งหมด เอสเอพียังคงแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางการเงิน ด้วยรายได้จากสินค้าและบริการที่คิดเป็น 55% ของรายได้รวมทั่วโลก อันเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า ลูกค้ายังคงมองเห็นมูลค่าอันเกิดจากการให้บริการของเอสเอพีอย่างต่อเนื่อง “เอสเอพีมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมองไปยังผลงานที่ผ่านมาของบริษัท บริษัทแข่งขันและได้ลูกค้ามากกว่า 2,000 รายในภูมิภาคนี้ตลอดครึ่งปีแรกของ ปี 2552 จะเห็นได้ว่า เอสเอพีไม่แพ้ใครในการแข่งขันเพื่อทำข้อตกลงกับลูกค้า โดยในการแข่งขันในระดับที่ใหญ่ขึ้นไปกับคู่แข่งขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในตลาดอย่างจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ยิ่งใหญ่ และบริษัทกำลังเดินหน้าลงทุนเพื่อเติบโตในฐานะของผู้นำในตลาดนี้” นางแมคไบร์ด กล่าว คำมั่นสัญญาของเอสเอพีในการช่วยเหลือลูกค้าตามแนวทาง “see clearly; think clearly and act clearly” ที่ผ่านมา ทำให้ลูกค้าตระหนักถึงผลตอบแทนที่จับต้องได้จากการลงทุนด้วยซอฟต์แวร์ของเอสเอพี และช่วยให้ลูกค้ากลายเป็น “Best-Run Businesses” หรือองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างดีเลิศ เซอร์บานา คอร์ปอเรชั่น (Surbana Corporation) ผู้ประกอบการธุรกิจข้ามชาติ (Multinational Corporation: MNC) อธิบายว่า เหตุใดบริษัทในเครือจึงเลือกเอสเอพีแทนที่จะเป็นออราเคิล จากการตัดสินใจลงทุนในระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ที่ผ่านมา “บริษัทเชื่อว่าการผสานเข้ากับระบบ ERP ของเอสเอพี ตรงตามความต้องการทางธุรกิจระดับโลกของบริษัท โดยหลังจากที่ชื่นชมการเติบโตทางธุรกิจที่เป็นไปด้วยดีมาตลอดระยะเวลา 6 ปี ทั้งในด้านการพัฒนาในเมืองเล็กๆ และบริการให้คำปรึกษา นี่คือเวลาที่จะลงทุนในระบบ ERP เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท” นางสาว เชีย เชย์ โหยว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน จากเซอร์บานา กรุ๊ป กล่าว “เซอร์บานายังได้รับผลตอบแทนจากความรู้ในเชิงลึกทางอุตสาหกรรม และรูปแบบการดำเนินงานแบบสากลที่มาพร้อมกับโซลูชั่นของเอสเอพีอีกด้วย” China Petroleum & Chemical Corporation (CPCC) เป็นลูกค้ารายสำคัญอีกรายหนึ่งที่เปลี่ยนระบบเดิมจากออราเคิลมาเป็น SAP Business Objects โดยโฆษกของ CPCC กล่าวถึงการตัดสินใจครั้งนี้ว่า “หลังจากประเมินผลรอบด้าน และจากโครงการนำร่องที่ประสบความสำเร็จในปี 2551 บริษัทเลือกที่จะแทนที่ระบบ Oracle Hyperion และ IBM Cognos ของบริษัทด้วยโซลูชั่น SAP Business Objects และจากความต้องการระบบธุรกิจอัจฉริยะ Business Intelligence (BI) ของผู้ใช้งานทางธุรกิจทุกระดับที่มากขึ้น บริษัทจึงตัดสินใจที่วางมาตรฐานแพลตฟอร์มธุรกิจอัจฉริยะของบริษัทด้วยเอสเอพี ซึ่งบริษัทเชื่อว่า ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และความสามารถระดับโลกของเอสเอพี จะสามารถช่วยให้ประสิทธิภาพทางธุรกิจของ Sinopec เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต” China Tobacco Fujian Province Company (CTFPC) กล่าวถึงเหตุที่มองเอสเอพีเป็นตัวเลือกของภูมิภาคนี้ด้วยเช่นกันว่า “บริษัทเลือกเอสเอพีเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นของบริษัท เนื่องจากโซลูชั่นของเอสเอพีนั่นเอง เพราะรู้ว่าบริษัทกำลังได้โซลูชั่นที่จะผสานการทำงานของบริษัทได้อย่างราบรื่นทั้งกับระบบที่ใช้อยู่ และระบบที่กำลังจะติดตั้งเพิ่มเติมในอนาคต” จากการเปิดเผยข้อมูลในทำนองเดียวกันนี้จากลูกค้าจำนวนมากของเอสเอพีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (SAP APJ) นางแมคไบร์ด กล่าวทิ้งท้ายว่า “SAP APJ และลูกค้า มีการวางตำแหน่งของตนเองไว้แล้วเป็นอย่างดี ในการเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจที่มีเงื่อนไขอย่างในปัจจุบันได้อย่างเข้มแข็งขึ้นกว่าก่อน เช่นเดียวกับบริษัทที่เดินหน้านำเสนอมูลค่าทางธุรกิจแก่ลูกค้าของบริษัทในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด” สู่ผู้นำระดับโลก ในตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงานร่วมกับการวิเคราะห์ เอสเอพี ได้รับการกล่าวขานจากไอดีซีว่า เป็นผู้นำทางการตลาดในด้านแอพพลิชั่นเพื่อการบริหารจัดการและการวิเคราะห์ บนพื้นฐานของรายได้จากการขายลิขสิทธิ์การใช้งาน และการบำรุงรักษา ตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงาน ร่วมกับการวิเคราะห์นี้ ประกอบไปด้วยระบบ financial performance and strategy management (FPSM) และแอพพลิชั่นด้านการวิเคราะห์อื่นๆ ที่หลากหลาย เช่น customer relationship management (CRM), supply chain, workforce และ service operations ในตลาดนี้ เอสเอพีเรียกว่า enterprise performance management (EPM) และมีมูลค่าถึง 8.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับมูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด 24.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากรายงานการวิเคราะห์ตลาดเรื่อง “Worldwide Business Analytics Software 2009—2013 Forecast and 2008 Vendor Shares” ระบุว่า เอสเอพีเป็นผู้นำในตลาดแอพพลิเคชั่นด้านการบริหารผลดำเนินงาน และการวิเคราะห์ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่ง 20.3%ในตลาด “ข้อมูลของไอดีซีที่อยู่ในรายงานการวิเคราะห์ธุรกิจของบริษัทในปี 2552 แสดงให้เห็นว่า เอสเอพีเป็นผู้นำในตลาดตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงาน ร่วมกับการวิเคราะห์ (combined performance management และ analytic applications)” มร.แดน เวสเซ็ท รองประธานฝ่าย Business Analytics Solutions จากไอดีซี กล่าว “เอสเอพีมีแนวยุทธศาสตร์ในการใช้ Business Objects, OutlookSoft และ Pilot Software ซึ่งเอสเอพีเข้าซื้อกิจการในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอโซลูชั่นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินและกลยุทธ์การวางแผน ให้แก่บริษัทที่เคยใช้เอสเอพีมาก่อนได้ดีเช่นเดียวกับกลุ่มบริษัทที่เป็นลูกค้าใหม่ ส่งผลให้ไม่เพียงเป็นผู้นำในตลาดแอพพลิเคชั่นการบริหารผลดำเนินงานร่วมกับการวิเคราะห์เท่านั้น แต่ยังมีอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจอีกด้วย” รายงานของไอดีซี ยังแสดงให้เห็นอีกว่า อัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีของเอสเอพีในตลาดนี้ คือ 13.9% สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของคู่แข่งอีก 5 รายถัดไป และสูงกว่าอัตราการโตของตลาดโดยรวมที่ 8.9% อีกด้วย การใช้ตัวเลขประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ ใช้ตัวเลขประเมินทางการเงินแบบต่างๆ อาทิ รายได้รวมแบบ Non-GAAP, รายได้เฉพาะจากการดำเนินงานแบบ Non-GAAP, กำไรเฉพาะจากการดำเนินงานแบบ Non-GAAP, กระแสเงินสดอิสระ, รายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินแบบคงที่, และการประเมินรายได้เฉพาะจากการดำเนินงาน ซึ่งคำนวนจากตัวเลขรายได้แบบ Non-GAAP เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขประเมินดังกล่าวยังไม่ใช่ตัวเลขที่ใช้ในการรายงานทางบัญชีตามเงื่อนไข GAAP ของสหรัฐ และจะใช้เฉพาะในการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP เป็นหลักเท่านั้น ทั้งนี้ วิธีการประเมินทางการเงินแบบ non-GAAP ของเอสเอพีอาจแตกต่างจากรายงานการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP ของบริษัทอื่นๆ และการประเมินทางการเงินแบบ Non-GAAP ในรายงานฉบับนี้นั้น เป็นข้อมูลเสริมที่ไม่สามารถใช้แทน หรือใช้ประเมินภาพรวมของรายได้ กำไรสุทธิในการดำเนินงาน หรือการประเมินประสิทธิภาพทางการเงินตามเงื่อนไข GAAP ของสหรัฐได้ เกี่ยวกับ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1995 ในปัจจุบัน SAP Thailand มีลูกค้าในประเทศไทย มากกว่า 500 ราย หรือมากกว่า 1000 installations ซึ่งเป็นลูกค้าทั้งในหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ เอกชน องค์กรต่างประเทศ ระบบงานของ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด นั้นได้ถูกจัดทำ ขึ้น ให้สามารถรองรับกฎหมายของประเทศไทยและนอกจากนี้ยังสนับสนุนการทำงานเป็นภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน โดยที่ระบบงานของ บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด นั้นสามารถรองรับการทำงาน ขององค์กรได้ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม หากท่านต้องการติดต่อสอบถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นของบริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด ท่านสามารถติดต่อได้ที่ SAP Thailand Ltd.— ชั้น 9 อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ ถนนสีลม บางรัก กทม. Tel: (662) 631 1800; Fax: (662) 631 1818; e-mail: info.thailand@ sap.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน : วิไลลักษณ์ ภักดี บริษัท บริษัท เอสเอพี (ประเทศไทย) จำกัด โทร.02- 631-1800, wilailak.pakdee@sap.com ภัทธิรา บุรี และ อุทัยวรรณ ชูชื่น บริษัท พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค จำกัด โทร. 02-937-4518-9, pattrira@pr-one.com, utaiwan@pr-one.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ