เฟดเอ็กซ์เดินเกมรุก เชื่อมโยงเอเชียและยุโรป เปิดบริการขนส่งถึงจุดหมายในวันทำการถัดไป รองรับเศรษฐกิจฝรั่งเศสและเยอรมนีที่เริ่มฟื้นตัว

ข่าวทั่วไป Wednesday October 21, 2009 14:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลกในเครือของเฟดเอ็กซ์ คอร์ป (หรือมีชื่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า FDX) เดินหน้าขยายบริการขนส่งด่วนภายในระยะเวลาเพียงชั่วข้ามคืนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป เปิดบริการใหม่ขนส่งถึงจุดหมายในวันทำการถัดไป เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ฝรั่งเศส และเยอรมนีเข้าไว้ด้วยกัน สำหรับประเทศเยอรมนี ปัจจุบันเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคพื้นยุโรป มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 1.3% ในไตรมาส 2/2552 ขณะที่ฝรั่งเศสซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคยุโรป มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 1.4%[1]ด้วยดัชนีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว เฟดเอ็กซ์จึงรุกเปิดบริการขนส่งถึงจุดหมายปลายทางภายใน 1 วันทำการ ซึ่งเป็นบริการใหม่ภายใต้โครงการเฟดเอ็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรออริตี้ (FedEx International Priority ) เพื่อขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จากฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ และสิงคโปร์ สู่จุดหมายปลายทางในเมืองแฟรงเฟิร์ต โคโลญ และปารีสในวันจันทร์ —พฤหัสบดี มร. เดวิด แอล คันนิ่งแฮม จูเนียร์ ประธานบริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า “ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคยุโรปเป็นตลาดส่งออกสำคัญของธุรกิจแขนงต่างๆ ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง” และเสริมว่า “ตลาดยุโรปที่ฟื้นตัวขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้มีความต้องการสินค้าส่งออกจากภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าจากจีน เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เฟดเอ็กซ์จึงเดินหน้าอำนวยความสะดวกในการขนส่งที่โยงใยทั้งสองภูมิภาคให้เข้าถึงกัน สำหรับบริการขนส่งจากเอเชียสู่ยุโรปที่เปิดใหม่ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงความมั่นใจของเฟดเอ็กซ์ที่มุ่งสนับสนุนธุรกิจในเอเชียให้เข้าถึงตลาดต่างๆ ในยุโรปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ มีลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย” บริการขนส่งระหว่างเอเชียและยุโรปนี้ เป็นเครือข่ายการขนส่งสำคัญของผู้ประกอบธุรกิจชาวเอเชีย ทั้งนี้ ตลาดการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียยุโรปคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.5% ในอีกสองทศวรรษข้างหน้า[2] โดยมีจีนเป็นหนึ่งในผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปซึ่งนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 6.5% ในปี 2551 ขณะที่สิงคโปร์ได้ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์[3] นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังเป็นตลาดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่อันดับ 2 ของฮ่องกง ที่สร้างรายได้ให้แก่ฮ่องกงมากกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในปี 2551[4] สำหรับบริการขนส่งระหว่างเอเชียและยุโรปถึงจุดหมายในวันทำการถัดไป เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของเฟดเอ็กซ์ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนบริการขนส่งระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรปให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการเปิดบริการขนส่งใหม่ดังกล่าว เฟดเอ็กซ์ยังเปิดบริการขนส่งด่วนทางอากาศจากจีนสู่ยุโรปเส้นทางแรกในเดือนมีนาคม 2548 รวมทั้งเพิ่มสมรรถนะการขนส่งทางอากาศในเส้นทางระหว่างยุโรปและเอเชียเป็น 2 เท่า ด้วยบริการขนส่งด่วนในชั่วข้ามคืนระหว่างประเทศอินเดียและจีนเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2548 ต่อมาเฟดเอ็กซ์เปิดศูนย์กลางการขนส่งประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิกในเมืองกวางโจวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริการทั้งหมดดังกล่าวตอกย้ำปณิธานของเฟดเอ็กซ์ที่มุ่งมอบบริการที่เปี่ยมประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจต่างๆ ในเอเชีย ด้วยการเชื่อมโยงเอเชียและยุโรปเข้าด้วยกัน ผ่านเครือข่ายเส้นทางการขนส่งยูโรวันของเฟดเอ็กซ์ (FedEx Euro One Network) เกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์ เฟดเอ็กซ์ คอร์ป (มีชื่อเรียกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า FDX) เป็นผู้ให้บริการขนส่ง อี-คอมเมิร์ซ และบริการเสริมอื่นๆ ให้แก่ลูกค้าและธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก โดยมีรายได้ปีละ 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เฟดเอ็กซ์ให้บริการโซลูชั่นธุรกิจครบวงจรผ่านเครือข่ายบริษัทในเครือ ที่มีการบริหารงานและแข่งขันในตลาดภายใต้แบรนด์เฟดเอ็กซ์อย่างเป็นเอกภาพ เฟดเอ็กซ์ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้จ้างงานที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ชื่นชอบสูงสุดของโลก โดยได้รับการยอมรับจากพนักงานและผู้รับเหมามากกว่า 275,000 ราย ให้เป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย หลักจริยธรรม และความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพอย่างเคร่งครัด ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและชุมชนต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างครบถ้วน ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ NEWS.FEDEX.COM. ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ สุภาวดี หรือ สาธิดา บ. อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ โทร 02 252 9871 อีเมล์ supawadee.s@abm.co.th [1]JP Morgan Economic Research Report (สิงหาคม 2552) [2] Boeing World Air Cargo Forecast (2551-2552) [3] International Enterprise Singapore (กรกฎาคม 2552) [4] HKTDC. (มิถุนายน 2552)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ