สำนักอุทยานการเรียนรู้ขอเชิญบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเข้าร่วมประกวดโครงการ “ห้องสมุดมีชีวิต”

ข่าวทั่วไป Friday March 31, 2006 11:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ขอเชิญบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเข้าร่วมประกวดห้องสมุดมีชีวิต” ในโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ “ห้องสมุดมีชีวิต” (Living Library)
ในโลกปัจจุบัน การแสวงหาและการจัดการความรู้ (Knowledge) ข้อมูลข่าวสาร (Information) ตลอดจนเทคโนโลยีที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดวิสัยทัศนเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยให้ไปสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) และนำไปสู่การจัดตั้ง สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน) ซึ่งมี สำนักงานอุทยานการเรียนรู้เป็น 1 ใน 7 หน่วยงาน
สำนักอุทยานการเรียนรู้(สอร.) ในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาความรู้ (องค์การมหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 เกิดจากความต้องการสร้าง “ห้องสมุดที่มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลง มีหนังสือดี ทันสมัย อย่างต่อเนี่องตลอดเวลา ไม่ตายตั้งแต่วันสร้าง” ที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านและการเรียนรู้อย่างจริงจัง จึงได้เปิดอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ (Thailand Knowledge Park หรือ TK Park) ณ บริเวณชั้น 6 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์พลาซา เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และเป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มุ่งเน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ที่ผสมผสานกิจกรรม หนังสือและสื่อหลากหลายรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยภารกิจหลักและแนวคิดที่มุ่งเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของการบริหารงานห้องสมุดที่ทันสมัย สร้างสรรค์และมีชีวิตชีวา ในรูปแบบอุทยานการเรียนรู้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ “ห้องสมุดมีชีวต” กับห้องสมุดสาธารณะในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีการจัดประกวดและจัดอบรมสัมมนา ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดบรรณารักษ์ในเบื้องต้น เพื่อให้นำความรู้กลับไปพัฒนาห้องสมุดในชุมชนที่รับผิดชอบและมุ่งหวังให้มีผลการดำเนินงาน คือ ห้องสมุดมีชีวิต ที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศสร้างสรรค์เป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือสะดวกในการเข้าถึงและใช้บริการสาหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย อันเป็นรากฐานสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมและสร้างพลังสังคมไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้
โครงการ “ห้องสมุดมีชีวิต” จัดขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้เห็นความสำคัญและเกิดการพัฒนาห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้าแสวงหาความรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนให้เป็น “ห้องสมุดมีชีวิต” โดยมีเอกลักษณ์และความงดงามในแบบเฉพาะตนตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ของ “ห้องสมุดมีชีวิต” เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และ
ส่งต่อประกายความคิดและนวัตกรรมการบริหารจัดการของอุทยานการเรียนรู้ไปสู่แนวคิดในการประยุกต์ใช้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป เกิดจิตสำนึกในการแสวงหาสั่งสมความรู้และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในชุมชนมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป อาทิ
1. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ห้องสมุดประชาชนจังดวัด , ห้องสมุดประชาชนอำเภอ , ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี, หอสมุดรัชมังคลาภิเษก
2. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร อาทิ ห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร , บ้านหนังสือ , ห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่
3. ห้องสมุดประชาชน , ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในสังกัดองค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ห้องสมุดเอกชน , ห้องสมุดของหน่วยงานเอกชนและองค์กรเอกชนต่าง ๆ
5. ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ชุมชนให้การสนับสนุน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2548 - 31 ตุลาคม 2549
ประเภทของการดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย 2 โครงการ
1. โครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิต
2. โครงการอบรมสัมมนา บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
โครงการ “ห้องสมุดมีชีวิต” มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อเป็นการกระตุ้นส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ เห็นความสำคัญและเกิดการพัฒนาห้องสมุดสาธารณะ ซึ่งเป็นแหล่งค้นคว้า แสวงหาความรู้ สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปในชุมชนให้เป็น “ห้องสมุดมีชีวิต” โดยมีเอกลักษณ์และความงดงามในแบบเฉพาะตนตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่สนใจได้พัฒนา “ห้องสมุดมีชีวิต”
3. เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และส่งต่อประกายความคิดของ “ห้องสมุดมีชีวิต” และนวัตกรรมการบริหารจัดการของอุทยานการเรียนรู้และนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไป เกิดการแสวงหาสั่งสมความรู้และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในชุมชนมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย ห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป
1. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานบริการการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ :
ห้องประชาชนจังหวัด , ห้องสมุดประชาชนอำเภอ , ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี , หอสมุดรัชมังคลาภิเษก
2. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร : ห้องสมุดประชาชน
กรุงเทพมหานคร , บ้านหนังสือ , ห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่
3. ห้องสมุดประชาชนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น : ห้องสมุดประชาชน , ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
4. ห้องสมุดเอกชน , ห้องสมุดของหน่วยงานเอกชนและองค์กรเอกชนต่าง ๆ
5. ห้องสมุดเฉพาะอื่น ๆ : ห้องสมุดเสมือน , ห้องสมุดแถบเสียง
6. ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ชุมชนให้การสนับสนุน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2548 - 31 ตุลาคม 2549
เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการประกวด
1. ต้องเป็นห้องสมุดที่เปิดให้บริการตลอดทั้งปี 6 วันทำการยกเว้นวันหยุดราชการแก่สาธารณชนทั่วไป
2. ต้องเป็นห้องสมุดที่มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอ่านกับชุมชน
3. บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้บริหาร ตลอดจนบุคลากรในห้องสมุดนั้น ๆ มีความสนใจ กระตือรือร้นในการพัฒนาห้องสมุดอย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ
4. ถ้าห้องสมุดของท่านได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ ต้องมีผู้แทนอย่างน้อย 1 คนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ
5. รับจำนวนจำกัดเพียง 200 แห่งที่ส่งใบสมัคร พร้อมหลักฐานครบถวนและตรงตามเงื่อนไข
? กรอกรายละเอียดใบสมัครให้ชัดเจน
? จัดส่ง Portfolio ห้องสมุด ประกอบด้วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด
- ผลงานที่ทำในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
- แผนงานและกิจกรรมในปี 2549
- แผนงานการปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุด
รายละเอียดการดำเนินงานโครงการประกวด
1. ช่วงการเตรียมการ
? ติดต่อประสานงานคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการและคณะกรรมการดำเนินงาน
? จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ
? ออกแบบและผลิต TK poster stand
2. ดำเนินการประสานงานห้องสมุดสาธารณะทั่วประเทศ
? ประชาสัมพันธ์เชิญชวนห้องสมุดสาธารณะเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
? เปิดรับสมัคร วันที่ 15 มีนาคม - 20 เมษายน 2549
? ตรวจสอบใบสมัครและหลักฐาน
? รับจำนวนจำกัดเพียง 200 แห่งที่ส่งใบสมัคร พร้อมหลักฐานครบถ้วนและตรงตามเงื่อนไข
3. ห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจะได้รับ
? TK poster stand จำนวน 1 ชุด
? ผู้แทน 1 ท่าน ของห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ได้รับสิทธิ์เข้ารับ
การอบรมตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ
4. จัดอบรมสัมมนาบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครั้งที่ 1: กรุงเทพมหานคร
ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน (วันที่ 20-22 พ.ค. 2549)
? หัวข้อ “นวัตกรรมห้องสมุด โดยวิทยากรจากต่างประเทศ
- มารู้จักห้องสมุดมีชีวิตกันเถอะ
- สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Workshop 4 หัวข้อ (แบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 50 คน)
? เยี่ยมชมห้องสมุดต้นแบบ TK park,ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดแสงอรุณ, ห้องสมุดเกอเธ่
? ความเข้าใจในโครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิตในรูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชน
5. ประสานงานและติดตามการทำแผนและดำเนินการพัฒนาปรับปรุงของห้องสมุดทั้ง 200 แห่งหลังเข้ารับการอบรมครั้งที่ 1 ในระยะเวลา 45 วัน
6. จัดอบรม สัมมนา บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ครั้งที่ 2: กรุงเทพมหานคร
ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน (วันที่ 7-8 ก.ค. 2549)
หัวข้อ : เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน
? บ้านเราคือห้องเรียนที่ยั่งยืน
? เติมชีวิตให้ห้องสมุดของเราอย่างไร (แบ่งกลุ่มย่อย / เลขาฯ กลุ่มสังเกตการณ์)
? ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัด KPI (Key Performance Indicator)
? ปรึกษาโครงการประกวดห้องสมุดมีชีวิต
7. ประสานงานและติดตามการทำแผนและดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงของห้องสมุดทั้ง
200 แห่ง หลังเข้ารับการอบรมครั้งที่ 2 ในระยะเวลา 45 วัน และส่ง Portfolio สรุปผล
การพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุดภายในวันที่ 31 ส.ค. 2549
8. รับและตรวจสอบ Portfolio สรุปผลการพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุด
ทั้ง 200 แห่ง
9. รับคัดเลือก : พิจารณาคัดเลือกให้เหลือห้องสมุดเพียง 30 แห่ง จากการตรวจสอบ Portfolio
สรุปผลการพัฒนาและการดำเนินโครงการของห้องสมุดทั้ง 200 แห่ง โดยพิจารณาจาก
? เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลัง
? สถิติการยืม คืน หนังสือ สื่อ และการใช้บริการของคนในชุมชน
? อัตราการเข้าร่วมกิจกรรม
? อื่น ๆ
หมายเหตุ 1. ห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทั้ง 30 แห่ง จะได้รับเกียรติบัตรสนับสนุนโครงการฯ
2. บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด) ทั้ง 30 แห่ง จะได้รับ
เข็มกลัดที่ระลึก บรรณารักษ์ในดวงใจ
10. เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก จำนวน 30 แห่ง (โดยไม่แจ้งล่วงหน้า)
เพื่อคัดสรรห้องสมุดที่มีผลงานดี จำนวน 10 แห่ง โดยพิจารณาจาก
? บรรยากาศของห้องสมุด ความสวยงามเหมาะสมของการจัดสถานที่
? การรณรงค์กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชน
? การบริการงานห้องสมุดกับชุมชน
? สถิติการยืม คืน หนังสือ สื่อ และการใช้บริการของคนในชุมชน
? อัตราการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน
? การสำรวจชุมชน
? การประเมินบุคลากร
? อื่น ๆ
หมายเหตุ : ห้องสมุดที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 10 แห่ง (วันที่ 24 ต.ค. 2549) เพื่อค้นหา
? รางวัลชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 1 รางวัล
? รางวัลรองชนะเลิศ ห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 4 รางวัล
เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน
? การนำเสนอผลการดำเนินโครงการฯ เปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการ
? การพิจารณาในเกณฑ์ สัดส่วนการใช้บริการของชุมชน
? การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
? การจัดบรรยากาศการอ่านและกิจกรรม
? อื่น ๆ
ประเภทของรางวัลการประกวด
รอบคัดเลือก จำนวน 30 รางวัล
? รางวัลสำหรับห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก จำนวน 30 รางวัล
- เกียรติบัตรสนับสนุนโครงการฯ สำหรับห้องสมุด
- เข็มกลัดที่ระลึก บรรณารักษ์ในดวงใจ สำหรับบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด)
รอบชิงชนะเลิศ
? รางวัลสำหรับห้องสมุดที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ จำนวน 10 รางวัล
- งบประมาณสนับสนุนการจัดทำ Presentation จำนวน 10,000 บาท
? รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
- ทุนปรับปรุงห้องสมุด เพื่อจัดหาหนังสือ อุปกรณ์สารสนเทศ เทคโนโลยี
และอื่น ๆ เพื่อเติมชีวิตห้องสมุด มูลค่า 200,000 บาท
- โล่เกียรติยศ สำหรับหน่วยงาน
- เข็มกลัดเกียรติยศและเกียรติบัตร สำหรับบรรณารักษ์หรือ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ผู้แทนจากห้องสมุด)
คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ
1. ประธานที่ปรึกษาโครงการ
ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
2. รองประธานที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์อารีรัตน์ วัฒนสิน (รองเลขาธิการ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
3. กรรมการที่ปรึกษา
อาจารย์วีระ โรจนพจนรัตน์ (รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
รศ.ดร. ชุติมา สัจจานนท์ (ตัวแทนจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
อาจารย์ประนอม เอี่ยมประยูร (รอง ผอ. สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร)
นายธนะชัย สันติชัยกูล (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)
คณะกรรมการดำเนินงาน
1. ประธานการดำเนินงาน
ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล (นายกสมาคมนักแปลและล่ามและรองประธานสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนา หนังสือและการอ่าน)
2. รองประธานการดำเนินงาน
คุณผานิต เกิดโชคชัย (ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)
3. กรรมการ
อาจารย์ละเอียด ศรีวรนันท์ (ชบอ.) ประธานชมรมบรรณารักษ์เอกชน
นายสถาพร ฉันท์ประสูตร นักเขียนอิสระ
นางสาวสงวนศรี ตรีเทพปฏิมา นักเขียนอิสระ
นางรุ่งนภา ทัดท่าทราย นักเขียนอิสระ และรอง บก. วารสารวิทยาศาสตร์
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด
เจ้าของโครงการ : สำนักอุทยานการเรียนรู้
สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด โทร. 02-589-5080 ต่อ 411-413 e-mail : premium@planforkids.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ