วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบการวิเคราะห์เจาะลึก คำพิพากษาฎีกาในคดีแรงงาน ใหม่ล่าสุด (2550-2551)

ข่าวทั่วไป Wednesday November 4, 2009 11:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ย.--วาโซ่ เทรนนิ่ง วิเคราะห์เจาะลึก คำพิพากษาฎีกาในคดีแรงงาน ใหม่ล่าสุด (2550-2551) ครอบคลุมในคำพิพากษาฎีกาที่ 285 — 483/2551 และ คำพิพากษาฎีกาที่ 5101 — 8789/ 2550 ที่ฝ่ายนายจ้าง และ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ Update from Labor Judgment of Supreme Court อบรมวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ คำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน หมายถึง คำพิพากษาของศาลสูงสุดของประเทศ ที่ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานในปัญหาที่มีการพิพาทกัน ของคู่ความด้านแรงงาน 2 ฝ่าย ที่มีความคิดเห็นหรือมุมมอง หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน หลังจากศาลแรงงานพิพากษาคดี ให้คู่ความฝ่ายใดชนะคดีก็ตาม คู่ความอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลแรงงาน ก็จะอุทธรณ์ไปที่ศาลฎีกา หลังจากศาลฎีกา ได้ตรวจข้ออุทธรณ์ รวมทั้ง คำวินัจฉัยของศาลแรงงานแล้ว ศาลฎีกาก็จะทำคำวินิจฉัยเป็นคำพิพากษาสุดท้ายอีกครั้ง ซึ่งคำพิพากษาของศาลฎีกานั้น จะใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียงกับเหตุการณ์เรื่องราวที่คล้ายคลึงกันได้ในคดีที่เกิดในภายหลังได้ นั่นคือ เมื่อมีเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดเป็นข้อพิพาทเหมือนกันกับคดีที่ศาลฏีกาเคยวางบรรทัดฐานไว้ ศาลแรงงานก็จะใช้แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีความต่อไป เพียงแต่คู่ความฝ่ายที่เห็นว่า แนวคำพิพากษาฎีกาคดีเลขใด สามารถนำมาสนับสนุนกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายตนได้มากกว่า ก็จะต้องเป็นผู้กล่าวอ้าง ยกขึ้นมาให้ศาลแรงงานพิจารณา ทั้งนี้ ศาลแรงงานจะไม่ยกคำพิพากษาฎีกาที่คู่ความไม่กล่าวอ้างมาวินิจฉัยให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น การมาเรียนรู้และทำความเข้าใจในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานใหม่ล่าสุด (ปี 2550-2551) ใน29 กิจการ ในประเด็นต่างๆ พร้อมคำพิพากษาฎีกาแบบย่อสั้น และ แบบย่อยาว เพื่อให้ท่าน จะได้ใช้เพื่อการเรียนลัดที่เกิดประโยชน์สูงในระยะเวลาอันสั้นภายในวันเดียว นับว่าเป็นการคุ้มค่าอย่างมากในการเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ โดยไม่ต้องเป็นนักกฎหมาย ไม่เคยเรียนกฎหมายมาก่อน ก็สามารถเข้าร่วมการเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจได้ โดยวิทยากรจะใช้ภาษาง่ายๆ แทนการใช้ภาษากฎหมายที่เข้าใจยากมาให้คำอธิบาย จึงนับเป็นโอกาสอันดี ที่ท่านผู้เป็น เจ้าของสถานประกอบการ ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารด้านแรงงานสัมพันธ์ ผู้บริหารด้านวินัย ผู้บริหารด้านกฎหมาย รวมทั้งผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ในการดูแล และ บริหารงานบุคคล ควรจะต้องมาเรียนรู้กรณีศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในวงการแรงงานมามากกว่า 30 ปี ในการเข้าร่วมสัมมนาในหลักสูตรดังกล่าว โดยจะมีการวิเคราะห์เจาะลึก ในคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานล่าสุดใหม่ๆในปี 2550-2551 กำหนดการอบรม 08.30-09.00 ลงทะเบียน 09.00-16.00 จัดหาทนายความรายใหม่ไม่ทัน จะขอขยายระยะเวลาในการอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้หรือไม่ เพราะเหตุไร (1-2) ลูกจ้างนำความเท็จมาฟ้องศาลแรงงาน ทำให้นายจ้างต้องเสียเวลา และ ค่าใช้จ่าย เมื่อนายจ้างชนะคดี นายจ้างจะฟ้องให้ลูกจ้างจ่ายค่าเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงไร(3-5) การอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน ทำได้หรือไม่ เพียงไร(6) ค่าเสียหายที่เกิดในขณะเป็นลูกจ้าง แม้ลูกจ้างพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้วก็ตาม ฟ้องเรียกให้ชำระได้เพียงไร (6) คำสั่งระหว่างพิจารณา หากไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จะขออุทธรณ์คำสั่งศาลฯที่ไม่ชอบได้ไหม(7) ศาลแรงงานกลางตัดสินไม่ดี ศาลฎีกาสั่งยกคำพิพากษาดังกล่าวได้เพียงไร (8) ฟ้องครั้งแรกเรียกแต่ค่าเสียหาย คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ได้ฟ้องใหม่เพราะมีสิทธิ์ได้สินจ้างแทนบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าชดเชยที่ลืมฟ้องได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (9-10) ทำสัญญาจ้างแต่แรกโดยจ่ายเป็นค่าจ้างเหมารวมค่าล่วงเวลา โดยไม่มีค่าจ้างพื้นฐาน ทำได้หรือไม่ เพียงไร (11) ลูกจ้างตกลงที่จะทำงานล่วงเวลาวันละ 2 ชม.ตลอดไป โดยนายจ้างตกลงจ่ายเหมาค่าล่วงเวลาให้ทุกวัน ทำไมจึงเป็นโมฆะ (12) ทำไมกรณีนายจ้างมีงานเร่งด่วน แต่สั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ (13) แนวทางในการทำข้อตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาเหมา ที่ศาลฎีกายอมรับมีหลักเกณฑ์อย่างไร (14-15) นายจ้างฟ้องลูกจ้างฐานละเมิดอย่างเดียว อายุความจะมีเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ถ้าฟ้องว่า ลูกจ้างทำผิดสัญญาจ้าง และ ละเมิด จะมีอายุความ 10 ปี โดยต้องฟ้องเป็นคดีแรงงานเท่านั้น (16-17) ฟ้องศาลจังหวัดฐานละเมิด นายจ้างแพ้คดี จะนำมาฟ้องศาลแรงาน ในฐานผิดสัญญาจ้าง จะเป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ (17-18) เบี้ยเลี้ยงที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ภายในกิจการเดียวกัน อาจเป็นทั้งส่วนที่เป็นค่าจ้าง และ มิใช่ค่าจ้าง ด้วยเหตุผลอะไร (19-23) นายจ้างลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยจ่ายเงินเต็มจำนวนให้ลูกจ้างไปใช้หมดแล้ว นายจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องให้ลูกจ้างจ่ายคืนได้หรือไม่ เพียงไร (24-28) ลูกจ้างอ้างเพื่อความสะดวก ขอฟ้องที่ภูมิลำเนาของลูกจ้าง ซึ่งไม่ใช่ที่เกิดเหตุ และ ไม่ใช่ที่ทำงานได้ ทำไมฝ่ายนายจ้างขอฟ้องลูกจ้างที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่ทำสัญญาจ้าง ทำสัญญาค้ำประกัน พยานหลักฐาน และ พยานบุคคลก็อยู่ในกรุงเทพฯไม่ได้ ต้องไปฟ้องที่ภูมิลำเนาของลูกจ้าง (29-30) ทำไมพยานเอกสาร ที่ไม่นำส่งศาลแรงงาน และ ไม่สำเนาส่งให้คู่ความ ศาลแรงงานใช้เป็นพยานหลักฐานในการตัดสินคดีได้ (31-33) ลูกจ้างลาออกไปแล้ว นายจ้างตรวจพบว่า หักภาษีไม่ครบ จึงจ่ายภาษีเพิ่มให้กรมสรรพากรไป กรณีนี้จะมาเรียกให้ลูกจ้างที่ลาออกไปแล้วชดใช้คืนได้หรือไม่(34-36) หลานเซ็นรับเอกสารที่สำนักประกันสังคมส่งมาทางไปรษณีย์ แล้วลืมนำคำวินิจฉัยมาให้ลูกจ้าง ทำให้เลยกำหนดอุทธรณ์ จะขออุทธรณ์ใหม่ได้หรือไม่ (37-38) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ได้รับเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว ภายในเดือนต่อมาก็ได้งานใหม่ทำ เหตุใดศาลแรงงานกลางไม่ให้ค่าเสียหาย จึงเป็นการไม่ชอบ (39-41) เล่นการพนันนอกเวลาทำงาน เป็นความผิดกรณีร้ายแรง หรือ ไม่ร้ายแรง เพราะเหตุใด (42-44) การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง ไม่แจ้งเป็นข้อเรียกร้องได้หรือไม่ (45-46) ขอให้คำพิพากษาผูกพันไปถึงลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีด้วยได้หรือไม่ (47-49) กรณีร้ายแรง หรือ ไม่ร้ายแรงนั้น ศาลแรงงานใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินเป็นที่ยุติ(50) การทะเลาะวิวาทกรณีร้ายแรง หรือ ไม่ร้ายแรง มีหลักการอย่างไร (51) การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานฯ อาจตกเป็นโมฆะก็ได้ ถ้าตรวจสอบขั้นตอน และ มติการประชุมของสหภาพแรงงานฯให้ดี (52) ศาลแรงงานกลางตัดสินให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างนับแต่วันเลิกจ้าง จนเกษียณอายุ แบบนี้ก็มี ดังนั้น กรณีนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง ต้องคิดให้รอบคอบ (53) เงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการเหมาให้ลูกจ้างเท่าๆกันทุกเดือน จ่ายพร้อมเงินเดือน แต่ไม่เป็นค่าจ้าง มีเงื่อนไขสำคัญอย่างไร (54-56) คำสั่งปรับเงินเดือนให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ทำไม ผู้ที่เป็นพนักงานอยู่ในวันที่ 1 เมษายน 2547 ที่เงินเดือนยังไม่ติดตัน ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนด้วย (57-61) เรื่องนี้แปลกที่ว่าขนาดจำเลยไม่มาศาลฯ ศาลแรงงานกลางก็ตัดสินให้จำเลยชนะคดีไปแล้ว แต่ศาลฎีกาท่าน ก็ให้ทำการส่งหมายเรียก และ คำฟ้องให้จำเลยมาศาลฯก่อน (62-64) ทำตนเป็นปรปักษ์ ทำธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ศาลแรงงานกลางตัดสินให้จ่ายทั้งค่าชดเชย และ ค่าเสียหาย แบบนี้ก็มีด้วย ต้องอ้างอย่างไร จึงจะไม่ต้องจ่ายเงินทุกประเภทได้ (65-67) ค่าเที่ยวที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการส่งของเป็นรายเที่ยว กรณีใดเป็นค่าจ้าง มิใช่ค่าจ้าง(68-70) นายจ้างให้สิทธิ์ลูกจ้างมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือว่าเป็นของแถม ในส่วนที่กฎหมายกำหนดนั้น ยังมิได้ให้ ศาลฯสั่งให้จ่ายเพิ่มในส่วนที่กฎหมายกำหนดเสมอ (71-73) สัญญาจ้างขนส่งน้ำมัน หรือ สัญญาจ้างทำของ ที่ทำโดยฝ่ายกฎหมาย ทำไมศาลฎีกาตัดสินให้เป็นโมฆะ ตัดสินให้เป็นการจ้างแรงงาน (74-77) สัญญาค้ำประกัน เป็นสัญญาอันตรายที่ผู้ค้ำประกัน ต้องรับผิดร่วมกับผู้กระทำผิดเสมอ(78-80) สัญญาค้ำประกันที่นักกฎหมายทั่วไป มักชอบกำหนดให้ผู้ค้ำฯ ต้องยอมสละสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ถีอว่าเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง แต่เป็นปัญหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ แต่ผู้ค้ำประกันก็แพ้คดีเช่นเดียวกัน (81-82) เงินสมทบ และผลประโยชน์ในเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น นายจ้างจะนำไปหักจากหนี้สินใดๆไม่ได้ (83-84) เงินสมทบ และผลประโยชน์ในเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ไม่จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ โดยนายจ้างกำหนดเงื่อนไขให้จ่ายคืนแก่นายจ้างได้อย่างไรจึงจะชอบ (84-85) เจตนาการหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ฯลฯ ตามมาตรา 76 มีเพียงไร (86) จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ต้องมีหลักฐานแสดงว่าเสียหายเท่าไรด้วย อ้างรวมๆไม่ได้(87-88) หากกล่าวหาว่าลูกจ้างทำความผิด นายจ้างต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักพอจะรับฟังได้ว่า ลูกจ้างได้กระทำความผิดจริง (89-91) ยุบเลิกกิจการ จ่ายค่าชดเชยให้แล้ว มีการจ้างใหม่ ต่อมาเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยอีกครั้ง หากเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิได้กระทำความผิด (93-94) ดอกเบี้ยกรณีผิดนัด ผิดสัญญา หากไม่มีกฎหมายพิเศษ ให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ เจ็ดจุดห้า จะเรียกดอกเบี้ยเกิน 7.5 %ไม่ได้ (95-100) ให้การต่อสู้คดีในชั้นศาลแรงงานไม่รอบคอบ เพราะทนายความไม่ชำนาญคดีแรงงาน เมื่อแพ้คดีแล้ว จะนำความจริงมาอุทธรณ์ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (101-103) ถาม-ตอบ ปัญหาข้อข้องใจ วิทยากร อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ - ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน - อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน - ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 44,000 คดี - ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 วิธีการสมัคร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจาก ต่างจังหวัด) การแจ้งยกเลิกการอบรม ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน

แท็ก PDA  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ