แนะนำปฏิทินธรรมคำกลอนพุทธทาส พุทธศักราช 2553 มองแต่แง่ดีเถิด

ข่าวทั่วไป Friday November 6, 2009 16:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 พ.ย.--ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มาของแนวคิดปี 2553 — ทำไมต้อง “มองแต่แง่ดีเถิด” ตัวแนวคิด หรือหัวข้อธรรมปีนี้ เน้นเป้าหมายที่ตัวเรา (แต่ก็ช่วยโลกด้วย) เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรา คือ เน้นด้านใน เน้นทัศนคติ การมองโลกในแต่ละวัน ด้วยสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจแบบนี้ การหยิบหัวข้อธรรมง่ายๆ และค่อนข้างเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักอยู่บ้างแล้วขึ้นมา จะช่วยให้แนวคิดนี้เข้าถึงคนหมู่มากได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น เพราะ แนวคิด “มองแต่แง่ดีเถิด” ฟัง หรืออ่านเข้าใจง่าย เริ่มต้นทำก็ง่ายๆ แต่ทำให้ได้ตลอดนั้นยาก ท่านพุทธทาสถึงเน้นเอาไว้ว่า “ต้องฝึก” — คือ ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ทั้งถ้อยคำ น้ำเสียงในบทกลอนของท่านก็ไม่ได้เป็นไปในเชิงคำสั่ง แต่เป็นเหมือนแนะนำ หรือกึ่งขอร้องมากกว่า เป็นการเตือนสติ มากกว่าเป็นการตำหนิ และแฝงไว้ด้วยความหวังดี ความห่วงใย ให้ความหวัง สร้างกำลังใจด้วย แนวคิด — เน้นตัวเรา เน้นด้านใน (ดูแลโลกด้านใน) เป็นธรรมะสะดวกใช้รายวัน ตัวสินค้า หรือวัสดุ — เราพยายามไม่ทำลายโลก หรือทำร้ายโลกให้น้อยที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ คือ กระดาษ - ใช้กระดาษ EcoFiber100% ซึ่งผลิตจากกระดาษ recycle และเศษวัสดุเหลือใจ หมึก - ใช้หมึก Soy Ink มีส่วนผสมหลักเป็นน้ำมันจากพืชและน้ำมันถั่วเหลือง ไม่มีกลิ่นฉุน ปลอดภัย คุณค่า 5 ประการ 1. GIFT - การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง “มองแต่แง่ดีเถิด” ธรรมะจากพระดีที่โลกยกย่อง 2. Trendy — ทั้งรูปลักษณ์และเนื้อหา ดีไซน์ เป็นของขวัญทันสมัย เป็นทั้งกล่องและปฏิทินในชิ้นเดียว เนื้อหาเป็นธรรมะสะดวกใช้รายวัน ให้ความหวัง สร้างกำลังใจ 3. Eco-Friendly — เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยกระดาษอีโคไฟเบอร์100% และใช้หมึก Soy Ink 4. Functional value — ครบครันประโยชน์ใช้สอย เช่น ดูวันเดือน ข้างขึ้นข้างแรม วันหยุดสำคัญ ช่องกว้างเขียนได้ 5. Anniversary — 16 ปี แห่งความขลัง อุปกรณ์ประกอบธรรมที่มีมายาวนาน ข้ามผ่านยุคสมัยได้อย่างงดงาม เชื่อถือได้โดยธรรมทานมูลนิธิแห่งสวนโมกขพลารามและสำนักพิมพ์สุขภาพใจ สุขภาพใจมุ่งดูแลโลกด้านใน และโลกใบกลมๆ ไปพร้อมกัน ภูมิใจนำเสนอโดย ธรรมะ คือสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีใจคอปกติ “...สำหรับธรรมะนี้ ถ้าเราดูโดยหลักใหญ่ๆที่สุดเราพูดได้อย่างวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีใจคอเป็นปกติ หรือBalance อยู่ตามสภาพ หมายความว่า คนในโลกนี้มีใจคอสูญเสียสภาพปกติเกือบตลอดวัน คือว่า อ้ายนั่น...อ้ายนี่เข้ามาทางตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ; มาทำให้เกิดความรู้สึก เป็นไปในทางชอบ หรือรักนี้อย่างหนึ่ง ให้เกลียดหรือไม่ชอบอึดอัดขัดใจนี้ อีกอย่างหนึ่ง แท้จริงแล้วทั้งสองอย่างนี้ใช้ไม่ได้ คือ จิตใจที่อยู่ในลักษณะทั้งสองอย่างนี้ใช้ไม่ได้ที่จะปฏิบัติงานอะไรก็ตาม งานออฟฟิศชนิดไหนก็ตาม ถ้าใจคอมันสูญเสียสภาพปกติเดิมอย่างนี้ คือรัก หรือเกลียดเสียแล้ว พอใจหรือไม่พอใจเสียแล้ว นั่นจะเป็นการทำผิดทันที ผิดไม่มากก็น้อยในการที่จะทำอะไรออกไป หรือจะพูดอะไรออกไป หรือจะปฏิบัติหน้าที่อะไรก็ตามที ฉะนั้นเราต้องถือหลักว่า ธรรมะนี้ คือสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีใจคอปกติ แม้แต่ความตายมาจ่ออยู่ข้างหน้า หรือแม้แต่จะเจอเสือในป่า ก็ต้องใจคอปกติ คือไม่กลัวจนขาดสติ อาจจะขึ้นต้นไม้ก็ตาม หรือจะวิ่งหนีก็ตาม ก็ยังคงมีใจคอปกติ นี่คือความต้องการของธรรมะเป็นอย่างนี้ คือเราไม่หวั่นไหวในโลกธรรมที่แบ่งเป็นฝักฝ่าย ฝ่ายนี้ได้ อีกฝ่ายเป็นฝ่ายเสีย ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุข มีได้ก็ต้องมีเสีย นี่คือสิ่งที่ทำให้ใจคอไม่ปกติ แต่ธรรมะต้องการจะทำให้มีอำนาจเหนือโลกธรรม กล่าวคือ มีใจคอปกตินั่นเอง แล้วจะรู้ได้เองว่า ควรจะทำอะไร ควรทำอย่างไร เท่าไรด้วย ไปมองดูเถอะมันจำเป็นที่สุดสำหรับทุกคน…” พุทธทาสภิกขุ พุทธทาสภิกขุ ตอบปัญหา แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ สวนโมกข์ ไชยา ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๖ จากหนังสือพุทธทาสตอบปัญหา น. ๑๙๑ — ๑๙๔ สำนักหนังสือธรรมบูชา ของคณะเผยแพร่วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (ผปช.) จัดพิมพ์ (๑๕ พ.ค.๒๕๑๗)

แท็ก พุทธทาส  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ