ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เผยผลสำรวจCEO Survey ครั้งที่9

ข่าวทั่วไป Wednesday March 1, 2006 14:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เผยผลสำรวจCEO Survey ครั้งที่9 ระบุกระแสโลกาภิวัตน์ให้ความสำคัญกับการขยายฐานลูกค้าใหม่แทนการลดต้นทุนทางธุรกิจ
ธุรกิจยิ่งขยายตัวมากขึ้นเท่าไหร่ ความซับซ้อนของระบบการปฏิบัติงานก็เพิ่มมากสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
จากการสัมภาษณ์ซีอีโอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่มีแผนจะขยายธุรกิจของตนไปสู่ประเทศจีน พบว่ากว่า 80% ของซีอีโอดังกล่าว ตั้งเป้าหมายหลักในการขยายฐานลูกค้าใหม่มากกว่าที่จะการต้องการลดต้นทุนทางธุรกิจ นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มซีอีโอดังกล่าวยังลงความเห็นว่าการขยายธุรกิจข้ามชาติเพื่อให้บริการกับลูกค้าเดิม มีความสำคัญเป็นลำดับรองลงมา (48%ของซีอีโอผู้ตอบแบบสอบถาม) ตามรายงานผลการสำรวจประธานกรรมการบริหารทั่วโลกครั้งที่ 9 ของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส หรือ PricewaterhouseCoopers’ (PwC) 9th Annual Global CEO Survey ซึ่งผลจากการสำรวจที่ได้จาการสัมภาษณ์ ซีอีโอกว่า 1400 ท่านใน 45 ประเทศต่างมุ่งในประเด็น 2 แรงขับเคลื่อนในการขยายตัวทางธุรกิจคือ โลกาภิวัตน์กับความซับซ้อนอันเป็นเงาตามตัว
“การลดต้นทุนนั้นไม่ได้เป็นจุดประสงค์ของการโลกาภิวัตน์อีกต่อไป การขยายธุรกิจในปัจจุบัน บริษัทต่างๆล้วนมุ่งเน้นในการหาลูกค้าใหม่ๆในตลาดที่กำลังเติบโตทั่วโลก” นาย ซามูเอล เอ ดิเปียซซา ประธานกรรมการบริหารระดับโลกของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส กล่าว “เศรษฐกิจในประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และประเทศจีน (BRICS : Brazil Russia, India, China ) เคยถูกมองเห็นว่าเป็นเพียงประเทศที่เป็นแหล่งการผลิตต้นทุนต่ำ แต่ในปัจจุบันประเทศเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นขุมทองทางธุรกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับทั้งบริษัทข้ามชาติและบริษัทท้องถิ่น ซึ่งทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นเวทีการแข่งขันทางธุรกิจระดับโลกที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ
เกือบ 2 ใน 3 ของซีอีโอที่ร่วมทำการสำรวจทั่วโลก (1,410 คน) เชื่อมั่นว่าการโลกาภิวัตน์นั้นจะส่งผลดีต่อธุรกิจของพวกเขาในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ และมากกว่า 70%ของซีอีโอทั่วโลกมีแผนในการบุกตลาดในกลุ่มประเทศ BRICS ในอีก 3ปีข้างหน้า นอกจากนี้แล้วมากกว่า 90% ของซีอีโอในประเทศแถบเอเชียเฝ้าจับตามองโอกาสในการลงทุนในประเทศแถบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคในอีก 5ปีข้างหน้านี้ด้วยความกระตือรือร้น
จากผลสำรวจซีอีโอทั่วโลก ประเทศจีนได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจในการลงทุนทางธุรกิจมากที่สุด และกลุ่มซีอีโอมีแผนที่จะขยายธุรกิจเข้าไปในกลุ่มประเทศ BRICS 78% โดยเลือกที่จะลงทุนในประเทศจีน เนื่องมาจากโอกาสทางการตลาดอันโดดเด่น ตามด้วยอันดับสองคืออินเดีย คือ64% และอันดับสามรัสเซีย คือ48% และสุดท้ายบราซิล คือ46%
นายแมทธิว วายบอน ซีอีโอ บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ประเทศไทยจะยังคงมีบทบาทที่สำคัญต่อการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติในภูมิภาคนี้ ทั้งจากที่ตั้งของเราซึ่งอยู่ระหว่างประเทศอินเดียและประเทศจีน รวมทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของประเทศไทยเองก็น่าจะเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน”
ซีอีโอผู้ร่วมตอบแบบสอบถามต่างตระหนักถึงอุปสรรคของหนทางสู่การโลกาภิวัตน์ โดยกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ามาตรการอันเข้มงวดของรัฐบาลท้องถิ่นยังเป็นอุปสรรคกีดกันการขยายธุรกิจระดับโลก (64%) ตามด้วยการตั้งกำแพงภาษี(63%) ความไม่เสถียรภาพทางการเมือง (57 %) ปัญหาทางสังคม (56%) ส่วนปัญหาการก่อการร้าย (48%) และการเคลื่อนไหวเพื่อต้านโลกาภิวัตน์ (21%) กลับกลายเป็นหัวข้อที่ถูกจัดลำดับความสำคัญน้อยที่สุด นอกจากนี้แล้วซีอีโอในเอเชียยังเป็นห่วงเสถียรภาพทางการเงินได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (60%) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศผันผวน (32%) และหนี้สาธารณะ (43%)
ความซับซ้อน : เงาตามตัวของธุรกิจโลกาภิวัตน์
ความซับซ้อนภายในองค์กรถือเป็นเงาตามตัวของธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ โดยทั่วไปแล้ว77% ของซีอีโอกล่าวว่าระดับของความซับซ้อนในบริษัทของพวกเขานั้นมีมากขึ้นกว่าเมื่อ 3ปีที่แล้ว และ 27% เชื่อว่ามันจะเพิ่มระดับความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม การสำรวจยังพบว่าบรรดาซีอีโอยังไม่มีการบริหารความซับซ้อนที่ดีนัก โดยน้อยกว่า 17% ของซีอีโอที่คิดว่าการบริหารความซับซ้อนในองค์กรของตนอยู่ในขั้นที่ดี
เมื่อถูกถามถึงกิจกรรมภายในองค์กรว่าอะไรเพิ่มความซับซ้อนในองค์กร ตามผลการสำรวจ ซีอีโอเห็นว่า การขยายองค์กรไปยังประเทศอื่นๆ (65%) การควบรวมกิจการ (65%) และการออกสินค้าและบริการใหม่ (58%) เป็นปัจจัยที่เพิ่มความซับซ้อนขององค์กรมากที่สุด กิจกรรมที่เพิ่มความซับซ้อนในระดับต่ำสุดคือการ Outsource ส่วนปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความซับซ้อนในองค์กรได้แก่ กฎหมายและข้อบังคับทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การดำเนินงานของคู่แข่ง และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ความซับซ้อนดังกล่าวไม่จำเป็นต้องถูกมองในแง่ลบเสมอไป หากแต่ถือได้ว่าเป็นเงาตามตัวของกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กรให้แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม 77% ของซีอีโอเห็นพ้องต้องกันว่า องค์กรต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการลดความซับซ้อนเหล่านั้น เกือบจะทั้งหมดของผู้ตอบแบบสำรวจ (97%) ได้จัดทำโครงการอย่างน้อย 1 โครงการที่จะลดความซับซ้อนภายในองค์กรและ 77% ได้จัดทำโครงการเพื่อลดความซับซ้อนถึง 5 โครงการหรือมากกว่านั้น ซีอีโอต่างใส่ใจกับกิจกรรมเพื่อการลดความซับซ้อนโดย 84% เริ่มจากการลดความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 79% มุ่งไปในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร (Organisation Structure)
ประธานผู้นำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส นายเกาธัม เบนเนอร์จี ได้สรุปว่า “การเข้าใจถึงความสำคัญของการจัดการความซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าความซับซ้อนทุกเรื่องจะเป็นปัจจัยบวกในการดำเนินธุรกิจขององค์กร หากซีอีโอสามารถจัดระบบและลดความซับซ้อนที่ไม่สร้างค่าให้องค์กร ซีอีโอก็จะสามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในระบบโลกาภิวัตน์ได้”
ผลจากการสำรวจอื่นๆ
จากการสำรวจในปีนี้ ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามได้ถูกถามถึงความเห็นว่าโลกาภิวัตน์จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านใดบ้าง ผลสำรวจที่ได้ก็คือ ทางด้านธรรมาภิบาล การบัญชี และมาตรฐานของรายงานทางการเงิน ส่วนด้านที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลภาษีและรัษฎากร มาตรฐานการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ซีอีโอจากประเทศกำลังพัฒนายังให้ความสำคัญกับการโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมากกว่าซีอีโอจากประเทศพัฒนาแล้ว
ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามได้จัดลำดับความสำคัญของปัจจัย 7 ประการที่จะส่งกระทบกับความสามารถในการบริหารความซับซ้อนขององค์กร ดังต่อไปนี้
1. บุคลากรที่มีความสามารถ
2. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
3. ความสามารถที่จะเข้าใจว่ากิจกรรมใดที่จะเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร
4. ความสามารถที่จะเข้าใจว่ากิจกรรมใดที่จะบั่นทอนคุณค่าขององค์กร
5. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน
6. ความสามรถในการวัดความซับซ้อนขององค์กร
7. โครงสร้างการบริหารความซับซ้อนขององค์กร
แม้ว่าซีอีโอจะยอมรับความสำคัญใน 7 ประการด้านบนนี้ แต่โดยทั่วไปนั้นซีอีโอยังบอกว่าพวกเขายังคงไม่สามารถจัดการกับสิ่งเหล่านั้นได้ดีมากนัก ซีอีโอได้ถูกมองว่าหากไม่สามารถที่จัดการกับความซับซ้อนในองค์กร ก็ถือได้ว่าเข้าขั้นวิกฤตจนทำให้ซีอีโอมีความรู้สึกว่าบริษัทของตนมีผลงานที่แย่ที่สุด ยกตัวอย่าง 38% ช่องว่างระหว่างซีอีโอผู้ที่ให้คะแนนความสามารถของบุคลากรเท่ากับ ‘มีความสำคัญมากที่สุด’ และซีอีโอผู้ที่ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานในความสามารถข้างต้นเท่ากับ ‘ดีมาก’ ช่องว่างระหว่างความสามารถเรียงจาก 38% ถึง 12% ด้วย “ความสามรถในการวัดความซับซ้อนขององค์กร” และที่น้อยที่สุดคือ “โครงสร้างการบริหารความซับซ้อนขององค์กร”
จุดที่น่าสนใจจากผลสำรวจนั้นคือ หากซีอีโอสามารถเข้าใจถึงความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในองค์กรและมีความสามารถที่จะจัดการ ถือได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการวิเคราะห์และเตรียมตัวก่อนที่จะเกิดวิกฤตความซับซ้อน และการที่จะจัดการกับความซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผู้ที่สนใจ Soft copy ของรายงานผลการสำรวจ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ www.pwc.com/globalceosurvey
วิธีการสำรวจ
สำหรับการสำรวจประธานกรรมการบริหารทั่วโลกครั้งที่ 9 ของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สนั้น ได้มีซีอีโอที่ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,410คน จากทั้งหมด 45ประเทศในระหว่าง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2005 การสัมภาษณ์เพื่อตอบแบบสอบถามนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ ,ทางไปรษณีย์ในประเทศญี่ปุ่น และการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าในประเทศจีนและเคนย่า โดยการทำวิจัยนี้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของงานวิจัยนานาชาติของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สที่เมือง Belfast แคว้นไอร์แลนด์เหนือ ประเทศสหราชอาณาจักร
หากแยกเป็นภูมิภาคแล้วนั้น มีจำนวนซีอีโอ 463 ที่มีการทำสำรวจในทวีปยุโรป, ซีอีโอในทวีปเอเชียแปซิฟิค 331 คน, ซีอีโอจากอเมริกาใต้ 301คน, ซีอีโอในสหรัฐอเมริกา 187คน (ซึ่งรวมทั้ง อเมริกาเหนือ , 58 คนในแคนาดาและ 14คนในแม็กซิโก นอกจากนั้นยังรวมถึง 56คน ในตะวันออกกลางและแอฟริกา หากแยกตามประเภทอุตสาหกรรม แบ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับสถาบันการเงิน 17%, เทคโนโลยีและการสื่อสาร 14%, ค้าปลีกและอุตสาหกรรม 68%
23% ขององค์กรของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามมีรายได้มากกว่า 10ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ, 10% ของบริษัทผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้ 500ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ, 58% มีรายได้น้อยกว่า 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ 9% ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้ได้ หากแบ่งตามภูมิภาคแล้วนั้น บริษัทในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคจะมีรายได้สูงที่สุดคือมากกว่า 10ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ 34%, ตามด้วยทวีปยุโรป 30% และสหรัฐอเมริกา 16%
52% ของบริษัทที่ร่วมตอบแบบสอบถามในปีนี้เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ 47%เป็นบริษัทเอกชนที่ซีอีโอเป็นผู้ประกอบกิจการ และอีก1% ที่ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามไม่ได้ระบุประเภทธุรกิจ
เกี่ยวกับบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย
บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2502 ได้ช่วยเหลือธุรกิจไทยมานานกว่า 44ปี โดยผสมผสานประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรในประเทศไทยและความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคเอเชีย ผนวกกับเครือข่ายของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สทั่วโลก ทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจต่างๆจนเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้แบ่งธุรกิจออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ บริการด้านการสอบบัญชี บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ และบริการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษี
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส มีพนักงานกว่า 120,000 คนใน139ประเทศ ในประเทศไทยมีพนักงานกว่า 1,000 คน ทุกคนทำงานบนพื้นฐานแห่งความซื่อสัตย์และยึดหลักจริยธรรม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ธิดายุทธ์ นพเกตุ
พิมพ์วิสาข์ เทียนศรี
บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย
โทร. 0-2344-1000 ต่อ 4052, 4057 แฟกซ์ 0-2286-4440
tidayut.nophaket@th.pwc.com
pimwisa.thiensri@th.pwc.com--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ