นักวิเคราะห์เชื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ยังเกรงหุ้นผันผวนกว่า 200 จุด แนะจับตาการเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 25, 2010 10:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ปัจจัยบวกหนุนนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ โดย นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุดว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ดัชนีหุ้นปลายปี 53 เป็นเฉลี่ย 827 จุด จากคาดการณ์เดือนธันวาคม 812 จุด และคาดดัชนีหุ้นปลายปี 54 อยู่ที่ 946 จุด โดยประเมินดัชนีสูงสุดในปี 53 ไว้ที่ 861 จุด และต่ำสุดที่ 643 จุด ซึ่งปัจจัยบวกมาจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทย และเศรษฐกิจไทย ซึ่งรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน และอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 53 เป็น 4.0% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 3.5% และตัวเลขปี 54 จะเติบโต 4.5% นอกจากนี้ แนะภาครัฐจับตาปัญหาสำคัญสามเรื่อง ได้แก่ ปัญหาทางการเมือง ปัญหามาบตาพุด และปัญหาเงินเฟ้อ พร้อมเร่งดำเนินการสามด้าน คือ เร่งรัดการเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการไทยเข้มแข็ง สร้างความสมานฉันท์ในสังคม รวมถึงแก้ปัญหามาบตาพุด มีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นโดยรวม 22 แห่ง สถานการณ์ทางการเมือง (มีผู้ตอบ 21 แห่ง) โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงทางการเมืองในช่วง 3 เดือนนี้ - มีโอกาส 20% ที่จะเกิดความรุนแรง 67% ของผู้ตอบ - มีโอกาส 50% ที่จะเกิดความรุนแรง 19% ของผู้ตอบ - มีโอกาส 10-15%, 30-40%, และ 40% ที่จะเกิดความรุนแรง อย่างละ 5% ของผู้ตอบ ความหมายของ “ความรุนแรงทางการเมือง” ในความเห็นของนักวิเคราะห์ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น - เกิดจลาจลนองเลือด 86% ของผู้ตอบ - เกิดการชุมนุมนับแสนคนยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ และมีการยึดสถานที่ราชการ 71% ของผู้ตอบ ถนนสำคัญหลายสาย หรือสาธารณูปโภคของชาติ หรือสนามบิน ท่าเรือขนส่งสินค้า หรือสถานที่สำคัญอื่น ๆ - เกิดรัฐประหารขึ้น 67% ของผู้ตอบ - วางระเบิดสถานที่สำคัญต่อเนื่อง 62% ของผู้ตอบ - อื่น ๆ เช่น ยุบสภาแล้วมีเหตุการณ์รุนแรงจากการเลือกตั้ง, 19% ของผู้ตอบ การกระทำที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น ผลกระทบของความรุนแรงทางการเมืองที่มีต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น - GDP Growth คาดว่าจะปรับตัวลดลงไปอยู่ที่เฉลี่ย 3.7% - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ คาดว่าจะลดลงไปอยู่ที่เฉลี่ย 688 จุด หากเกิดเหตุรุนแรง สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้ประกอบการทำบทวิเคราะห์ในขณะนี้จนถึงสิ้นปี 2553 - ปัจจัยบวก 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าของไทย 68% ของผู้ตอบ 2) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึง แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 50% ของผู้ตอบ 3) แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวดีขึ้น 45% ของผู้ตอบ 4) อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และ กระแสเงินไหลเข้าไทย อย่างละ 27% ของผู้ตอบ - ปัจจัยลบ (มีผู้ตอบ 21 แห่ง) 1) ปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงเสถียรภาพรัฐบาลและปัญหา ความขัดแย้งต่าง ๆ 73% ของผู้ตอบ 2) สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ รวมถึงปัญหาหนี้ในยุโรป 43% ของผู้ตอบ 3) ค่าเงินบาทแข็ง ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก 33% ของผู้ตอบ 4) ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในต่างประเทศ และ ความล่าช้า ในการแก้ไขปัญหามาบตาพุด อย่างละ 27% ของผู้ตอบ ปัญหาใดในปี 2553 ที่ภาครัฐต้องจับตาและเตรียมการรองรับมากที่สุด (มีผู้ตอบ 20 แห่ง) 1. ปัญหาทางการเมือง ซึ่งรวมถึงความแตกแยกของคนในประเทศ เสถียรภาพของรัฐบาล และ 60% ของผู้ตอบ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ 2. ปัญหามาบตาพุด โดยเห็นว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน 30% ของผู้ตอบ 3. ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้น, การถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ, สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ, การใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ อย่างละ 10% ของผู้ตอบ ข้อแนะนำมาตรการใหม่ในปี 2553 ให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย (มีผู้ตอบ 16 แห่ง) - เร่งโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการใช้จ่ายภาครัฐ รวมถึงเร่งรัดการเบิกจ่ายและการ 63% ของผู้ตอบ ดำเนินการโครงการไทยเข้มแข็งให้รวดเร็วขึ้น และอย่างโปร่งใส - แก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ สร้างความสมานฉันท์ภายในชาติ 56% ของผู้ตอบ - เร่งแก้ปัญหามาบตาพุดให้เร็วขึ้นและมีความชัดเจน โดยวางนโยบายและแนวปฏิบัติที่ 44% ของผู้ตอบ เหมาะสมและเป็นธรรม ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ สำหรับปี 2553 และ ปี 2554 - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index - ปี 2553 + ณ สิ้นปี 2553 ปรับเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลข สิ้นปี 2553 คาดการณ์ล่าสุดอยู่ที่เฉลี่ย 827 จุด จากเดิมคาดไว้ 812 จุด + จุดสูงสุด ของ SET Index ในปี 2553 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 861 จุด เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 845 จุด + จุดต่ำสุด ของ SET Index ในปี 2553 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 643 จุด เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 625 จุด - ปี 2554 + ณ สิ้นปี 2554 นักวิเคราะห์ประเมิน SET Index ณ สิ้นปี 2554 ไว้ที่เฉลี่ย 946 จุด - อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth - ของปี 2553 นักวิเคราะห์คาดการณ์อัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 4% ดีขึ้นจากประเมินครั้งที่แล้วที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 3.5% - ของปี 2554 นักวิเคราะห์ประเมินว่าในปี 2553 เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.5% - ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth ทั้งปี 2553 คาดการณ์มีการเติบโต เฉลี่ยที่ 13.9% - อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ. - ณ สิ้นปี 2553 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 32.2 บาทต่อดอลลาร์สรอ. - ณ สิ้นปี 2554 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 31.4 บาทต่อดอลลาร์สรอ. - อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ณ สิ้นปี 2553 - อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน นักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันสิ้นปี 53 เฉลี่ยที่ 1.8% - ช่วงเวลาที่คาดว่าจะเริ่มสูงขึ้น + ครึ่งแรกของปี 2553 56 % + ครึ่งหลังของปี 2553 44 % ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index (CPI) เฉลี่ยทั้งปี 2553 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2553 - ปี 2553 กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ 1. กลุ่มเดินเรือ คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยที่ 63.40 % 2. กลุ่มโรงแรมเติบโตเป็นอันดับสองที่เฉลี่ย 57.86 % 3. กลุ่มปิโตรเคมีคาดเติบโตเฉลี่ย 35.65 % อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2553 - ปี 2553 นักวิเคราะห์ประเมินอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ 1. กลุ่มสื่อสาร ประเมินอัตราผลตอบแทนไว้ที่ 6.59 % 2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดไว้ที่ 6.30 % 3. กลุ่มอาหาร คาดว่าอยู่ที่ 5.02 % คำแนะนำแก่นักลงทุน - สำหรับการลงทุนระยะกลาง-ยาว แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีเงินปันผลสูง ฐานะการเงินดี ผู้บริหารมีความสามารถและโปร่งใส โดยพิจารณาข้อมูลพื้นฐานทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค ซึ่งรวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ การปรับตัวสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ พิจารณาเลือกลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล - สำหรับการลงทุนระยะสั้น ควรลงทุนอย่างมีสติและระมัดระวัง ไม่เก็งกำไรโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ไม่เชื่อข่าวลือ ไม่ตื่นตระหนก ควรซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวในหุ้นพื้นฐานดี และขายในจังหวะที่เหมาะสมเพื่อทำกำไร หรือตัดขาดทุน หุ้นแนะนำ หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BANPU, BAY, KBANK, KTB, PTTEP, QH เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร) แหล่งข้อมูล...สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2329, 02-229-2355-6 อีเมล์ jirawan@saa-thai.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ