ตลาดรถยนต์ชะลอตัวต่อเนื่อง ครึ่งปีแรกขาย 292,514 คัน ลดลง12.6% มิถุนายน ขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2 %

ข่าวยานยนต์ Friday July 13, 2007 09:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมิถุนายน 2550 ด้วยปริมาณการขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 15,914 คัน ลดลง 0.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 37,308 คัน ลดลง 5.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 32,904 คัน ลดลง 9.0%
ทางด้านสถิติการขายสะสมครึ่งปีแรกของปี 2550 มีปริมาณทั้งสิ้น 292,514 คัน ลดลง 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 83,390 คัน ลดลง 11.5% รถเพื่อการพาณิชย์ 209,124 คัน ลดลง 13.1% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 183,223 คัน ลดลง 16.8%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์ ครึ่งปีแรก มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง ด้วยยอดขายรวม 292,514 คัน ลดลง 12.6% สืบเนื่องมาจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางการเมือง ตลอดจนเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดในภาคใต้ รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะๆ แม้ว่าภาครัฐจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ตลอดจนการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ก็ตาม ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง 13.1% และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเม้นท์นี้ มีอัตราการเติบโตลดลง 16.8% สำหรับตลาดรถยนต์นั่งลดลง 11.5% อย่างไรก็ตามประมาณการขายในไตรมาสที่ 2 ของปี มีแนวโน้มหดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน มิถุนายน มีปริมาณการขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโตที่ลดลงน้อยที่สุดของปี 2550 แสดงให้เห็นถึงแน้วโน้มเชิงบวกของเศรษฐกิจโดยรวมและมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของรัฐบาล ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนมิถุนายนไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มีอัตราการเติบโตลดลง 5.6% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ลดลง 9.0 % เช่นเดียวกันกับตลาดรถยนต์นั่งที่ปรับตัวลดลง 0.7%
3. ตลาดรถยนต์เดือนกรกฏาคม มีแนวโน้มระดับการขายทรงตัว ตามสถิติการขายแล้ว เดือนกรกฏาคมจะเป็นเดือนที่มียอดขายต่ำเป็นอันดับ 3 ของปี อันเนื่องมาจากการเข้าสู่ช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูการขาย อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่เจาะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงของค่ายรถยนต์ต่างๆ และข้อเสนอเช่าซื้อที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้บริโภค จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญทำให้ตลาดรถยนต์สามารถรักษาระดับการขายไว้ ส่วนปัจจัยราคาน้ำมันและปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2550
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 53,222 คัน ลดลง 4.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,562 คัน เพิ่มขึ้น 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 48.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,002 คัน ลดลง 22.9% ส่วนแบ่งตลาด 20.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,735 คัน ลดลง 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 15,914 คัน ลดลง 0.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,775 คัน เพิ่มขึ้น 14.2% ส่วนแบ่งตลาด 55.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,984 คัน ลดลง 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 610 คัน เพิ่มขึ้น 76.3% ส่วนแบ่งตลาด 3.8%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 32,904 คัน ลดลง 9.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,643 คัน ลดลง 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 47.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,096 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,517 คัน เพิ่มขึ้น 117.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,952 คัน
โตโยต้า 1,462 คัน — อีซูซุ 420 คัน — ฟอร์ด 70 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,952 คัน ลดลง 9.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,181 คัน ลดลง 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 45.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,676 คัน ลดลง 14.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,517 คัน เพิ่มขึ้น 117.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,308 คัน ลดลง 5.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,787 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 45.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,002 คัน ลดลง 22.9% ส่วนแบ่งตลาด 29.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,685 คัน เพิ่มขึ้น 115.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มิถุนายน 2550
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 292,514 คัน ลดลง 12.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 126,251 คัน ลดลง 7.4% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,753 คัน ลดลง 23.5% ส่วนแบ่งตลาด 22.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 31,880 คัน ลดลง 5.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.9%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 83,390 คัน ลดลง 11.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 43,530 คัน ลดลง 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 52.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 26,587 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 3,804 คัน เพิ่มขึ้น 81.7% ส่วนแบ่งตลาด 4.6%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*(Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 183,223 คัน ลดลง 16.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 75,436 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 61,785 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 16,451 คัน เพิ่มขึ้น 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 10,942 คัน
โตโยต้า 7,483 คัน — อีซูซุ 3,037 คัน — ฟอร์ด 422 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 172,821 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 67,953 คัน ลดลง 9.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 58,748 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 16,451 คัน เพิ่มขึ้น 27.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 209,124 คัน ลดลง 13.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 82,721 คัน ลดลง 9.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,753 คัน ลดลง 23.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 17,441คัน เพิ่มขึ้น 23.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ