วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เอชวัน เอ็นวัน 2009 ที่ รพ.เชียงใหม่ ราม

ข่าวทั่วไป Monday April 26, 2010 11:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ จึงได้นำเข้าวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เอชวัน เอ็นวัน 2009 จากต่างประเทศ มาให้บริการแก่ผู้ที่สนใจและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดเชื้อได้ง่าย อย่างไรก็ตามประชาชนที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็สามารถฉีดวัคซีนได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นี้สามารถป้องกันเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ 3 สายพันธุ์ คือ 1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เอชวัน เอ็นวัน 2009 และ2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลอีก 2 สายพันธุ์ โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ ผสมกันในหลอดเดียว จึงฉีดเพียง 1 เข็มสามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากไวรัสทั้ง 3 สายพันธุ์ได้ จากภาวการณ์ที่ผ่านมาของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เราต่างรู้จักกันดี ในนามชื่อ ไข้หวัดเม็กซิโก, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอชวัน เอ็นวัน 2009, ไข้หวัดใหญ่จากหมู (Swine Influenza) เป็นต้น เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น ตั้งแต่เกิดการระบาดของไข้หวัด 2009 ดังกล่าว ในประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. 2552 - 9 ม.ค. 2553 รวม 30,805 ราย เสียชีวิต 196 ราย โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยยืนยันสะสมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เชียงใหม่ ตราด เชียงราย พะเยา และสงขลา (ข้อมูลจาก นสพ.เดลินิวส์ 14 ม.ค.53) และ มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 14,378 รายทั่วโลก (ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ 4 เม.ย.53) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรง ได้แก่ หญิงมีครรภ์ คนที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเลือด เบาหวาน ตับ ไต และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป อาการเมื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนจะปรากฏอาการที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่าและรวดเร็วกว่า นั่นคือ มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ปอดบวม เบื่ออาหาร บางรายอาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน จากนั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ เดินเอนไปเอนมาเหมือนคนเมาสุรา นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลวัคซีน เพิ่มเติมได้ที่ แผนกอายุรกรรม 053-920300 ต่อ 1200 แผนกตรวจสุขภาพ 053-920300 ต่อ 1212 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 053-920300 แผนกลูกค้าสัมพันธ์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ