เพราะอัจฉริยภาพ....สร้างสรรค์ได้จริง...หากได้รับการฝึกฝน และดูแลอย่างถูกต้อง

ข่าวเทคโนโลยี Friday June 18, 2010 10:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สสวท. จับมือ เอชพี เปิดโลกอัจฉริยภาพเด็กไทย จัดค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ ประจำปี พ.ศ. 2552 เพราะความเป็นอัจฉริยะสามารถสร้างสรรค์ ขึ้นได้...หากได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนอย่างถูกวิธีจากทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมไปถึงโรงเรียน และคณาจารย์ที่มีความเข้าใจเป็นอย่างดี และในปีนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับบริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด ได้เดินหน้าจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2552 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 อันเป็นภารกิจสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนไทยที่มีอัจฉริยภาพเพื่อจะเป็นกำลังหลักที่ก้าวขึ้นเป็นบุคลากรชั้นแนวหน้าทั้งใน แวดวงวิชาการ และวิชาชีพอื่น ๆ ในวันข้างหน้าต่อไป จะเห็นว่าความสำคัญของการฝึกฝนการเรียนด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อันเป็น องค์ความรู้สำคัญ และเป็นรากฐานในการคิดค้นวิทยาการ ความก้าวหน้าใหม่ ๆ รวมถึง สร้างเสริมให้เกิดการประยุกต์ และพัฒนานวัตกรรมในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น จนสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ สิ่งเหล่านี้คือผลผลิตที่ได้จากองค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทว่าการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อสนองต่อความต้องการด้านการพัฒนาประเทศยังมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบัน ประเทศไทย ยังไม่ได้มีการจัดระบบการเรียน การสอนขึ้นมารองรับสำหรับเด็กในกลุ่มที่เรียกว่า “เด็กอัจฉริยะ” โดยเฉพาะ ซึ่งเด็กในกลุ่มดังกล่าวยังคงนั่งปะปนกับเหล่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนเดียวกัน เรียนวิชาเดียวกัน และทำการบ้าน ที่เหมือน ๆ กัน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี นำโดยกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินการโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งกระตุ้นให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาทุกสังกัดทั่วประเทศ สนใจการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่หลักของสสวท.ในการผลักดัน และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ รวมถึงพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับศักยภาพในการเรียนรู้แบบเต็มขีดความสามารถของเยาวชนไทย โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จึงถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 เพื่อสรรหาเวทีในการแสดงออกซึ่งความสามารถและอัจฉริยะจากกระบวนความคิด ต่อยอดจากการเรียนการสอนในห้องเรียนตามปกติ รวมไปถึงการจัดกระบวนทัศน์ ฝึกการประเมินและทดลองแก้ปัญหาให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ผ่านกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การทดลองสารเรืองแสง กิจกรรมใบไม้มหัศจรรย์ การพับกระดาษโอริกามิ เป็นต้น อาจารย์รักษพล ธนานุวงศ์ นักวิชาการ สาขาโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาอัจฉริยภาพ ทางวิทยาศาตร์และคณิตศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาจารย์ประจำโครงการฯ กล่าวว่า ”การปลูกฝังให้เยาวชนระดับประถมศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จะส่งผลให้เยาวชนเติบโตเป็นคนไทยที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการการพัฒนาประเทศชาติของเราต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง หรือที่เราเรียกว่า เด็กอัจฉริยะนั้น เมื่อได้รับการดูแล ฝึกฝนอย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะช่วยให้บ้านเมืองเรามีบุคคลากร ที่มีคุณค่า เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป” โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2552 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มีนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 404 คน จากจำนวนผู้สมัคร ทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวนกว่า 370,000 คน จากการสอบคัดเลือกด้วยข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ทักษะการคิดระดับสูง ผนวกกับข่าวสาร ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น รอบโลก เพื่อฝึกการใช้ความคิด โดยอ้างอิงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และนำเสนอวิธี การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเหล่านั้น “โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นี้ สสวท. มีความตั้งใจเป็นอย่างมาก ในการที่จะพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่แล้ว ให้มีศักยภาพสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปเป็นรายบุคคล รวมถึงเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งประสบการณ์บางอย่างนักเรียนยังไม่สามารถเรียนรู้ได้โดยตรงจากห้องเรียนในโรงเรียนของตนเองได้ โดยโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์นี้จะเป็นประตูบานแรกที่เปิดโอกาสแห่งการเรียนรู้ และนำนักเรียนไปสู่ ความสามารถในการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระดับประเทศต่อไป หากได้รับการสนับสนุน และบ่มเพาะความสามารถให้มีศักยภาพ และอัจฉริยภาพอย่างต่อเนื่อง” อาจารย์รักษพลกล่าวเสริม กิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ การคิดแบบวิทยาศาสตร์ขั้นสูง โดยเริ่มจากการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้เข้าใจถึงพื้นฐานเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อย่างแจ่มแจ้ง และการทำกิจกรรมโดยอิงจากเนื้อหาที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เข้าใจ เชิงประจักษ์ และสุดท้ายเป็นการสรุปผล สำหรับไฮไลต์ของการจัดกิจกรรมที่สามารถสร้าง ความสนใจให้แก่น้อง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้แก่ กิจกรรมการทำช็อคโกแลต กิจกรรมวิวัฒนาการ รวมไปถึงกิจกรรมแผนที่ความคิด หรือ “Mind Map” อาจารย์สุรเชษฐ ไชยอุปละ กลุ่มวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หนึ่งในวิทยากรรับเชิญที่มาบรรยายในโครงการนี้ ในส่วนของการทดลองวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่อาจารย์ให้นักเรียนทำ ก็คือ การทำแผนที่ความคิด “Mind Map” ในหัวข้อ “การสร้างเมืองอนาคต” โดยเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม และใช้จินตนาการวาดภาพเมืองในฝัน และความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา และวาดออกมาเป็นแผนที่ความคิด ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า “การทำกิจกรรม Mind mapping นี้ เป็นการฝึกให้นักเรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้เด็ก ๆ มีจินตนาการ และเรียนรู้การคิดนอกกรอบ และยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมนี้ถือเป็นการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ และรักความสามัคคี อีกด้วย” พร้อมกันนี้ น้องเตเต้ เด็กชายฐนิสพงษ์ หล่อพงศ์พานิช นักเรียนผู้ได้รับคะแนนสูงสุด จากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2552 วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นป. 6 ได้กล่าวถึงความสนุกสนานและประโยชน์มากมายที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรมค่ายฯ ในครั้งนี้ว่า “กิจกรรมต่าง ๆ ที่สสวท. ได้จัดขึ้นนี้ ทำให้ได้เรียนรู้ทั้งในเรื่องทฤษฎี และการปฏิบัติจริงทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากห้องเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Mind Map ซึ่งผมสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในแง่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ และจัดระบบความคิด การเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ” ปัจจุบัน ความท้าทายหลักที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ได้รับผลกระทบมาจาก สภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จึงไม่ค่อยมีเวลาได้ดูแลลูกมากนัก ทำให้บางครั้งจึงละเลย และมองข้ามความสำคัญของการศึกษาไป “ทางเรา อยากให้ผู้ปกครองหันมาสนับสนุนในเรื่องการศึกษาของบุตรให้มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ที่จัดเป็นเด็กอัจฉริยะ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ควรจะได้รับการแนะนำ และการฝึกฝนเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มหัวกะทิที่ถือว่าเป็นอนาคตของชาติเลยก็ว่าได้” อาจารย์รักษพลกล่าว เมื่อถามถึงเคล็ดลับในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ น้องเตเต้ นักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวว่า “การเรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญคือการตั้งใจเรียนในห้อง ในห้องจะต้องตั้งใจฟังครู ให้เข้าใจ และเมื่อกลับมาบ้านก็มาทบทวนสิ่งที่ ครูสอนในห้อง สำหรับพ่อแม่ก็มีส่วนผลักดันมาก เพราะท่านจะคอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การเรียนพิเศษ หรือกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ต่าง ๆ อาทิ การค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ทำให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และทำให้การเรียนในห้องเรียนมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” “ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนเลยก็ว่าได้ ทั้งการหาข้อมูลข่าวสาร การเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก หรือแม้แต่ การทำงาน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นทางสสวท. เองที่จะต้องคอยพัฒนาอุปกรณ์การเรียนการสอน ทางครู ผู้ปกครองที่ต้องคอย กระตุ้นเด็กให้ตื่นตัวในการเรียนอยู่ตลอด รวมถึง การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย จากองค์การภาคเอกชน อย่าง เอชพี ทั้งหมดนี้ล้วนสามารถเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เยาวชนไทย มีศักยภาพ ความรู้ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทัดเทียมกับนานาชาติ” สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพบุตรหลานที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง มีความเป็นอัจฉริยภาพ และควรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มขีดความสามารถ สามารถหาข้อมูลการสนับสนุนนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษได้จากสถาบันการศึกษาใกล้บ้านท่าน อาทิ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือ สามารถติดต่อได้ที่สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โทร 0-2392-40219 ต่อ 2202 - 2207 หรือทางเว็ปไซต์ www.ipst.ac.th/genius หรือติดต่อไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มอัจฉริยภาพนี้ เพราะหากได้รับการเพาะบ่มอย่างถูกวิธี พร้อมปลูกฝังกระบวนความคิดอย่างถูกต้องแล้ว...อัจฉริยะสร้างได้จริง ๆ ข้อมูลเกี่ยวกับเอชพี เอชพี เป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลกที่นำเสนอประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีที่สะดวก และง่ายดายสำหรับลูกค้าคอนซูเมอร์จนถึงองค์กรธุรกิจระดับต่าง ๆ ด้วยพอร์ทโฟลิโอที่ครอบคลุมด้านการพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ การบริการ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอชพี (NYSE: HPQ) สามารถเข้าชมได้ที่ http://www.hp.com/ Note to editors: More news from HP, including links to RSS feeds, is available at www.hp.com/hpinfo/newsroom/. ดุษณี อินทรหะ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด กลุ่มธุรกิจเพอร์ซัลแนล ซิสเต็มส์ (พีเอสจี) โทรศัพท์: 0-2353-9500 # 9351 โทรสาร: 0-2353-9555 อีเมล: dusanee.wongratanachot@hp.com ข่าวประชาสัมพันธ์โดย : ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย ชุติมา บวรรัตนโชติ โทรศัพท์: 0-2627-3501 # 211 โทรสาร: 0-2627-3545 อีเมล cbovonratanachote@th.hillandknowlton.com สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ และบริการของเอชพีได้ที่ : โทร 0-2353-9000 ต่อ 1 ค้นหาข่าวประชาสัมพันธ์ย้อนหลัง ของเอชพีได้ที่ www.hp.com/th เลือกหัวข้อ Newsroom

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ