รายการแดนสนธยา ตอน โลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ข่าวทั่วไป Friday July 27, 2007 14:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
พบโลกที่เต็มไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลก ภาพอันตื่นตาตื่นใจของชีวิตสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วทุกมุมโลก การอยู่รอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความลับในการใช้ชีวิตท่ามกลางอันตรายรอบด้าน จากบนฟากฟ้าถึงใต้มหาสมุทร ร่วมเปิดบันทึกโลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
วันจันทร์ที่ 30 ก.ค. 50 พบการฆ่าเหยื่อของ อเมริกัน บุช ด็อก ที่ใช้เพียงเขี้ยวเท่านั้น ด้วยการฆ่าเหยื่อ อย่างเงียบๆ เพื่อไม่ให้เสียงกลายเป็นจุดสนใจของสิงโต และวิธีการอ้อนขออาหารของพวกลูกๆ ที่ขออาหารด้วยการเลียปากผู้ใหญ่ พบนักล่าตระกูลแมว สิงโต ที่ออกล่าเหยื่อเฉพาะเวลากลางคืน และใช้เสียงคำรามขู่ เพื่อสื่อสารกันระหว่างกลุ่ม และการไล่ล่าของเสือชีต้าห์กับกวางอิมพาล่า ที่เหมือนการวิ่งแข่ง ซึ่งผู้ที่วิ่งช้าที่สุดจะไม่ได้แข่งอีก
วันอังคารที่ 31 ก.ค. 50 พบการปรับตัวอันยอดเยี่ยมของเหล่าบรรดานักฉวยโอกาส สัตว์ที่กินทั้งพืช และเนื้อ กับอาวุธยอดเยี่ยมในการปรับตัว แรคคูนอเมริกาเหนือ ที่ใช้อุ้งเท้าหน้าซึ่งไวต่อการสัมผัสเทียบเท่ากับ การมองเห็นด้วยตาของมนุษย์ แยกแยะก้อนหิน และหอยได้ในเสี้ยววินาที สัตว์ตระกูลไดโนเสาร์ ไดโนไฮอัส (Dynohyus) หรือหมูป่านักฆ่า ที่ใช้เขี้ยวพิฆาตทุกอย่างที่ขวางหน้า บาบิรูซา (Babirusa) นักฉวยโอกาสจมูกไว กับวิธีกินผลแพงกี มีพิษ ด้วยการกินโคลนเพื่อทำลายพิษร้าย จิ้งจอก นักวางแผนเจ้าเล่ห์ที่ฝังอาหารที่เหลือไว้ เพื่อกลับมากินใหม่ ตัวสกั๊งค์ ที่สามารถทนมูลสกปรกในถ้ำค้างคาว เพื่อดักรอกินลูกค้างคาวที่อ่อนแอ
วันพุธที่ 1 ส.ค. 50 ทางเหนือในอลาสก้า พบสัตว์บกกินพืช และเนื้อที่ใหญ่ที่สุด หมีกริซลี่ ที่ ปรับสภาพตัวเองได้ในฤดูหนาว ตลอดระยะเวลาจำศีล 6 เดือน ด้วยการกินทุกอย่าง เพื่อกักตุนอาหารให้มากที่สุด ตั้งแต่รากไม้ ใบหญ้า ซากวาฬเกยตื้น เนื้อสดๆ ปลาแซลมอน หอย ลูกเบอร์รี่... แตกต่างจากวิธีกินของ สโลธ แบร์ ที่เลือกกิน ด้วยลักษณะฟันหน้า 2 ซี่ที่หายไป ทำให้สามารถห่อปากเป็นรูปท่อ เพื่อดูดปลวกเข้าไปในปาก ได้สะดวก และการปรับตัวได้ดีในเมืองที่พลุกพล่านของ แรคคูน นักปีนป่ายที่อาศัยอยู่ใต้หลังคา และปล่องไฟ ซึ่งมีความคล่องแคล่วในการใช้มือเปิดฝาถังขยะ หยิบเศษอาหารออกจากขวด หรือกระป๋องได้
วันพฤหัสบดีที่ 2 ส.ค. 50 พบจิ้งจอกแดงที่อาศัยร่วมกับมนุษย์ได้อย่างไม่เคอะเขินในเมืองที่มนุษย์แบ่งอาหารให้เต็มใจ โดยจัดวางที่สำหรับอาหารให้พวกมัน และสัตว์เพื่อนบ้านของมนุษย์ หนูสีน้ำตาล ที่แพร่พันธุ์มาก ปรับตัวเก่งที่สุด ด้วยการใช้กลิ่นในการนำทาง หนูจึงใช้เส้นทางที่ปลอดภัยในการหลบหลีก และนำพวกมันไปสู่แหล่งอาหาร และมนุษย์ที่เป็นผลลัพธ์แห่งความสำเร็จของวิวัฒนาการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่กินได้แทบทุกอย่าง และสร้างแหล่งอาหารเองได้
วันศุกร์ที่ 3 ส.ค. 50 พบบรรพบุรุษสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใต้น้ำ เดสแมน (Desman) ที่วิวัฒนาการมาจาก ชรูว์ สัตว์บกกินแมลง ที่ใช้ท่อหายใจคล้ายงวงช้างขนาดจิ๋วคลำหาของกินตามซอกหิน และกรวด ขนที่ ยาวหนาแน่นช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ขณะที่ นากทะเล มีบรรพบุรุษคือสัตว์ที่คล้ายๆ ตัววีเซิล ที่ปรับให้มีพังผืดระหว่างนิ้วเท้า ขนที่หนาทำให้มันอยู่ได้นานในน้ำที่เย็นจัด และว่ายได้อย่างคล่องแคล่ว พบความแตกต่างระหว่างสิงโตทะเล และแมวน้ำ ที่สิงโตทะเล มีขาหน้าเป็นใบพาย ส่วนขาหลังเป็นตีนกบ สามารถเดินได้ และมีใบหู อยู่ด้านนอก ผิดกับแมวน้ำ ที่ไม่มีใบหู ขาหลังหดสั้น ทำให้มันคลานต้วมเตี้ยม และส่วนหัวเรียบลู่เหมาะกับ การว่ายน้ำ
ติดตามชม “โลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” ในรายการแดนสนธยา วันที่ 30 - 31 กรกฎาคม และ 1 - 3 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 18.00 — 18.30 น.ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0-2434-8300 คุณสุจินดา, คุณแสงนภา และคุณวิภาวัลย์
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ