เอไอเอส เปิดตัว“8 นักศึกษานักบริหาร”จาก NWO Project สร้างประสบการณ์ทำงานผ่าน Virtual Organization

ข่าวทั่วไป Wednesday July 27, 2005 11:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--เอไอเอส
NWO Project โดย เอไอเอส เปิดตัว 8 นักศึกษานักบริหารรุ่นที่ 2 พร้อมแนวคิดถ่ายทอดความรู้ผ่าน Virtual Organization เพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้เยาวชนเข้าสู่ประสบการณ์ตรงในหน่วยงานและหน่วยธุรกิจหลากหลายของ เอไอเอส มอบหมายผู้บริหารแต่ละฝ่ายเป็นพี่เลี้ยงให้ทีมเยาวชน NWO ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด และสร้างสรรค์ไอเดีย ผลิตภัณฑ์ และบริการแบบไร้ขีดจำกัด ภายใต้บรรยากาศการทำงานแบบเข้มข้น
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส กล่าวว่า “ NWO Project ได้ประกาศนำแนวคิด “virtual organization” มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรกกับกลุ่ม NWO Project เพื่อส่งเสริมรูปแบบการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทำงานจริงที่เอื้อให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อย่างไร้ขีดจำกัด …สำหรับภารกิจของทีมเยาวชน NWO Project รุ่นที่ 2 นี้ นอกเหนือจากช่วยต่อยอดและพัฒนาแนวคิดอาทิ nwoLIFE ซึ่งเยาวชนรุ่นที่ 1 ได้สร้างสรรค์ไว้ให้มีความสดใหม่และน่าสนใจยิ่งขึ้น พวกเขาจะต้องริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ขึ้นเองด้วย”
ทั้งนี้ เยาวชนทั้ง 8 คนได้เริ่มเข้าสู่วิถีชีวิตการทำงานกับ เอไอเอส ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และได้เข้าพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้บริหารระดับสูงของ กลุ่มชิน และเอไอเอส อาทิ คุณบุญคลี ปลั่งศิริ CEO กลุ่มชิน คุณสมประสงค์ บุญยะชัย CEO ของเอไอเอส และคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ นอกจากนี้ เยาวชนทุกคนยังได้เข้าไปสังเกตการณ์และเรียนรู้ในหน่วยงานต่าง ๆ ของ เอไอเอส อาทิ One-2-Call!, mobileLIFE, Marketing Communication, Enterprise Business Department, Brand and Marketing Department, Channel Management, Public Relations และ Business system integration เป็นต้น
นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า “เรามองว่าเยาวชนทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง ซึ่งวันนี้พวกเขากำลังใช้ศักยภาพในตัวเอง พร้อมกับใช้ประโยชน์จากโครงการ NWO Project สร้างสรรค์ผลงานและประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับตนเอง เพื่อเปลี่ยนประสบการณ์เหล่านี้ไปเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญของชีวิต ...นี่คือภารกิจท้าทายและสำคัญที่สุดของทุกคน”
สำหรับแนวคิดการเรียนรู้ผ่าน Virtual Organization ของ NWO Project จะเปิดให้เยาวชนทุกคนใช้เวลาประมาณ 1 — 2 เดือนเข้าสู่หน่วยงานที่แตกต่างกันในเอไอเอส เพื่อเรียนรู้หาประสบการณ์ทำงานจริงโดยมีผู้บริหารของแต่ละฝ่ายเป็นพี่เลี้ยง จากนั้นทั้งหมดจะกลับมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเสนอแนวคิด และผลักดันโครงการใหม่ ๆ ขึ้นมา โดยอาจเป็นไปได้ทั้งการเสนอไอเดีย ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ให้กับผู้บริหารเอไอเอส เพื่อนำไปสู่การผลักดันโครงการออกมาอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นทุกคนจะเข้าสู่โหมดของการเรียนรู้อีกครั้งในหน่วยธุรกิจอื่น ๆ ที่แตกต่างออกไป เพื่อที่จะกลับมารวมตัวกันสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ และทำผลงานชิ้นต่อไป โดยจะเป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด 1 ปีเต็ม
“แนวคิดการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ผ่าน Virtual Organization เป็นกลยุทธ์การเรียนรู้ทางลัดแบบ pull & push คือการดึงความรู้และประสบการณ์ลัดตรงจากผู้บริหารเข้าสู่ตัว จากนั้นจึงประมวลความรู้รวบยอดเข้ากับแนวคิดใหม่ ๆ ของเยาวชนเอง และผลักดันออกมาเป็นโปรเจคต่าง ๆ ซึ่งเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น ใน speed ที่ทันต่อโลกการทำงานยุคใหม่ ..จึงขอให้รอดูไอเดียและผลงานอันน่าตื่นเต้นจากเยาวชนกลุ่มนี้ ซึ่ง เอไอเอส ขอย้ำว่าเราเชื่อมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไปสู่จุดสูงสุดในตัวของแต่ละคน” นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวในท้ายที่สุด
NWO Project ปีที่ 2 - Virtual Organization
ที่มาโครงการ NWO Project
เยาวชนคือพลังเงียบที่มีศักยภาพอันยิ่งใหญ่ ผู้ที่จะเติบโตไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศในอนาคต เอไอเอส จึงริเริ่ม NWO Project (New World Order) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้รับประสบการณ์การทำงานจริง แสดงศักยภาพทางความคิดและความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้อย่างไร้ขีดจำกัด เราเชื่อว่าการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือ “การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง” ในระยะเวลา 1 ปี จะมีคุณค่ายิ่งกับเยาวชน และยังทำให้การเรียนต่อในชั้นปีที่ 4 มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2548 นี้ NWO Project ได้เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว หลังจากที่ในปี 2547 โครงการได้เปิดตัวขึ้นเป็นครั้งแรก และดำเนินการไปอย่างประสบความสำเร็จดีเยี่ยม
ที่มาของแนวคิด Virtual Organization
แนวคิดการเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ผ่าน Virtual Organization เป็นกลยุทธ์การเรียนรู้ทางลัดแบบ pull & push คือการดึงความรู้และประสบการณ์ลัดตรงจากผู้บริหารเข้าสู่ตัว จากนั้นจึงประมวลความรู้รวบยอดเข้ากับแนวคิดใหม่ ๆ ของเยาวชนเอง และผลักดันออกมาเป็นโปรเจคต่าง ๆ ซึ่งเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น กว้างขึ้น ใน speed ที่ทันต่อโลกการทำงานยุคใหม่
ทีมเยาวชน NWO Project รุ่นที่ 2
ชลิต บวรเนาวรักษ์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ (การตลาด)หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Enterprise Business Department (EPB)EPB : หน่วยงานการตลาดที่ดูแลลูกค้าระดับองค์กรและลูกค้า SMEs ของเอไอเอส
ชาญฤทธิ์ จันทนะประสาทพร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Channel Management (CM)CM : หน่วยงานที่ดูแลช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของAIS ทั้งที่เป็นแฟรนไชส์และร้านค้าทั่วไป ได้แก่ ร้านเทเลวิซ , ตัวแทนจำหน่ายโดยหน่วยงานนี้จะวางแผน ประสานงานและให้ความช่วยเหลือแก่ร้านเทเลวิซ และตัวแทนจำหน่าย รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพช่องทางในการจัดจำหน่ายของเอไอเอส
ณะฤทัย เพชรสถิตย์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการจัดการ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Business System Integration (BSI)BSI : เป็นหน่วยงานที่คอยบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรของเอไอเอสที่จะถูกนำมาใช้พัฒนาบริการหรือโครงการต่างที่จะเกิดขึ้นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้วยจำนวนคนที่เหมาะสม เพื่องานที่มีประสิทธิภาพ (Project Manager) หรือจัดระบบของแผนงานที่ถูกเสนอขึ้นมา โดยกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมกับการทำงานนั้นๆ ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ในจำนวนคนที่เหมาะสม
พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก : มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Wireless Business (mobileLIFE)mLIFE : หน่วยงานทางการตลาดที่ริเริ่มสร้างสรรค์บริการเสริมใหม่ ๆ บนมือถือ ภายใต้ชื่อ โมบายไลฟ์ งานหลักก็คือการทำบริการแบบ P2P (เช่น MMS,SMS) และบริการเสริมแบบNon-VoiceทุกประเภทของAIS
นวพรรณ เมธชนัน : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Brand and Marketing Department (BRM)BRM : เป็นแผนกที่คอยควบคุมดูแลภาพลักษณ์ของAIS และดูแลแนวทางของแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ AIS
ฝนทอง วิสุทธิ์ศรีมณีกุล : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิเทศศาสตร์ การโฆษณาหน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Customer Marketing & Product (CMP) CMP : หน่วยงานที่ดูแลการทำตลาดของผลิตภัณฑ์ต่างๆในAIS ประกอบด้วย GSM Advance , One-2-Call! , GSM 1800, IR, SIM management
วรดา พงษ์รักษ์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Public Relations (PR)PR : หน่วยงานที่ดูแลภาพลักษณ์ให้กับองค์กร ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสื่อมวลชน รวมทั้งคอยดูแลให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร สินค้าและบริการ ตลอดจนถึงโครงการต่าง ๆ ทั้งหมดที่ AIS ริเริ่มขึ้น
วีระวัฒน์ เหลืองอำพล : มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิทยาการจัดการ (ธุรกิจระหว่างประเทศ) หน่วยงานที่เข้าไปเรียนรู้ : Marketing Communication (MCM) MCM : เป็นแผนกที่ดูแลเรื่องของสื่อ โดยให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ-ประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งแผนกนี้มีความสำคัญมากเพราะถ้าสินค้าหรือบริการที่ถูกสร้างขึ้นมาดี แต่การใช้สื่อไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เสียหายได้--จบ--

แท็ก เอไอเอส  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ