สำนักพิมพ์ มสธ.ปั้นนักเขียนรุ่นเยาว์ ฉลองครบ 32 ปี สถาปนา

ข่าวทั่วไป Wednesday September 15, 2010 09:03 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--เอ็นจอย คอมมิวนิเคชั่น “นักเขียน” ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของเด็กไทย เพราะทุกครั้งที่มีการจัดโครงการผลิตนักเขียนรุ่นเยาว์ ขึ้น มักจะเห็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงตาม เว็บบอร์ดต่างๆ ก็มีงานเขียนมากมายที่นักเขียนรุ่นเยาว์เหล่านี้ใช้เป็นพื้นที่ถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ไว้ให้เลือกอ่าน ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ สารคดี บทกวี ครั้งนี้ก็เช่นกัน จากที่ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ร่วมกับ ANT office express จัดโครงการ Ibook 2010 ขึ้น เพื่อร่วมฉลองครบ 32 ปี วันสถาปนา มหาวิทยาลัย และเป็นการเปิดเวทีให้ นักเรียน นักศึกษา ได้ถ่ายทอดจินตนาการผ่านงานเขียนอย่างอิสระ ทำให้น้องๆ เยาวชนสนใจเข้าร่วมโครงการนี้กันเป็นจำนวนมาก และเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้จัดให้มีการอบเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาเทคนิคการเขียนสู่การเป็นนักเขียน”< SPAN lang=TH> ให้กับน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนค้นหาผลงานโดดเด่นจำนวน 10 เรื่อง เข้ารับรางวัลทุนการศึกษาและตีพิมพ์ผลงานเป็น พ็อกเก็ตบุ๊ค ล่าสุด ยนที่ผ่านทางทางโครงการก่อนางโครงการได้จัดให้มีการอบเชิงปฏิบัติการ ทางสำนักพิมพ์ก็ได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นก็มีความโดดเด่นที่น่าสนใจแตกต่างกันไปตามเนื้อเรื่อง อย่างบทความเรื่อง “ความเชื่อกับวิญญาณ” ผลงานของ นายฐิติกร ดอนแก้ว (เดียร์) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี คว้ารางวัลบทความโดดเด่น โดยงานเขียนชิ้นนี้เขาได้รับแรงบันดาลใจจากพ่อ ซึ่งเป็นผู้จุดประกายให้เขาเริ่มต้นเขียน มีเนื้อเรื่องเป็นเหตุการณ์จริงที่พ่อประสบมา ส่วนที่นำเสนอเรื่องความเชื่อนั้น เพราะมองว่าความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาเนิ่นนาน เดียร์ บอกว่า การเป็นนักเขียนที่ดี สิ่งสำคัญคือ ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ส่วนผู้เขียนที่ดีต้องเป็นผู้อ่านที่ดี มาก่อน เพราะการอ่านเป็นเพิ่มพูนความรู้ และเป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ที่ดี และนำงานเขียนจากนักเขียนรุ่นพี่มาพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้งานเขียนของเราสมบูรณ์ จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหันมาสนับสนุนโครงการเหล่านี้มากขึ้น เพื่อเยาวชนที่รักการเขียน ได้มีพื้นที่แสดงความสามารถ ส่วน นายกรกฤช สมจิตรานุกิจ (ทัช) นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนปากเกร็ด เจ้าของรางวัล กวีนิพนธ์ โดดเด่น กับผลงานเรื่อง ภูมิปัญญาไทยที่อาจถูกลืม ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการที่วัยรุ่นในยุคปัจจุบันหันไปให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมตะวันตก เกาหลี กันมากขึ้น เขาจึงต้องการสื่อถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยออกมา เพื่อให้ผู้อ่านกลับมาคิดว่าวัฒนธรรมไทยไม่ควรเลือนหายจากความทรงจำ “งานเขียนสามารถจรรโลงจิตใจให้ผู้อ่านได้ฉุกคิด หรือรู้สึกร่วมไปกับผู้เขียน แต่ผู้เขียนที่ดีต้องคำนึงถึงความถูกต้อง และการมองในเชิงบวกมากกว่าลบ เพราะงานเขียนหรือการเขียนถือเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านเกิดมุมมอง หรือมีทัศนคติที่ดีได้ ผมจึงมองว่างานเขียนต้องมีเนื้อหาแนะนำไม่ใช่ชี้นำ และผู้เขียนต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดี” ด้าน น.ส.นันท์นภัส ช้างเยาว์ (มด) นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนพระหฤทัย นนทบุรี เจ้าของผลงานสารคดีโดดเด่น เรื่อง “ขนมชิ้นนี้ของฉันกับปู่ย่า” ที่นำเอาเรื่องราวของขนมข้าวต้มมัด ขนมไทยที่สร้างขึ้นจากความอบอุ่นในครอบครัวมาผูกโยงร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราวที่น่าอ่าน เขาบอกว่า ตั้งแต่เด็กจนโต คลุกคลีอยู่กับข้าวต้มมัดมาตลอด เพราะปู่ย่าทำข้าวต้มมัดขายมายาวนานกว่า 40 ปี ทำให้เธอซึมซับและผูกพันกับขนมไทยชนิดนี้ จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัวให้คนอื่นๆ ผ่านงานเขียนของเขา “ก่อนหน้านี้เราเป็นเพียงคนที่อ่านหนังสือเยอะ แต่ไม่คิดว่าจะเขียนได้ จนวันหนึ่งรู้สึกอยากเขียนเรื่องราวของตนเอง ครอบครัว จึงลองเขียนดู และให้พ่อแม่ เพื่อนๆ ครูที่โรงเรียน อ่าน พอเขาชื่นชอบผลงานของเราทำให้มีกำลังใจในการเขียน และได้เขียนงานมาเรื่อยๆ” ปิดท้ายที่ รางวัลเรื่องสั้นโดดเด่น เรื่อง “รอคอย” ผลงานของ น.ส.ปาริชาติ ไข่ด้วง (แมงปอ) นักเรียน ชั้นม.6 โรงเรียนสตรีทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เจ้าของผลงานบอกว่า งานเขียนที่ดีต้องมีทั้งเนื้อหาสาระ ความรู้สอดแทรกพร้อมๆ กับความบันเทิงที่ผู้อ่านควรได้รับ เรื่องสั้น รอคอย จึงเป็นการเล่าเรื่องจากคนสติไม่สมประกอบ มาผูกโยงเข้ากับศิลปวัฒนธรรมทางใต้ นั่นคือ หนังตะลุง “ทุกวันเดินไปโรงเรียนจะได้พบเจอคนบ้าคนหนึ่ง ซึ่งแววตาเขาดูเหมือนรอคอยอะไรสักอย่าง จึงคิดพล็อตเรื่อง จากคนบ้าและนำหนังตะลุงมาผูกร้อยเข้าด้วยกัน เพื่อให้เด็กไทยได้รู้จักหนังตะลุง ส่วนการรอคอย นำเสนอเรื่องราวป้าที่ประกอบอาชีพเล่นหนังตะลุงถูกลูกๆ ทิ้งทำให้ป้าสติไม่ดี หลายคนคิดว่าแกรอคอยการกลับมาของลูก แต่จริงๆ แล้วป้าอาจรอคอยใครสักคนที่เป็นผู้ชายเพื่อมาสืบทอดหนังตะลุงก็ได้” หนังสือหนึ่งเล่ม ทำให้คนเรามีมุมมองที่หลากหลาย และเปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ให้แก่ผู้อ่านได้มากมาย นักเขียน จึงถือเป็นอีกกลุ่มคนหนึ่งทีสามารถสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อกล่อมเกลา จรรโลง ชี้แนะความคิด ทัศนคติของผู้คนได้เป็นอย่างดี สนใจอ่านงานเขียนของน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการ กว่า 15 เรื่อง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพิมพ์ มสธ. โทร.02504-7670-4, 0-2504-7678-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ