“เถ้าแก่น้อย” จัดโครงการดีต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน !! มุ่งเสริมทักษะเด็กไทย..ด้วยเกมส์กีฬาทางวิชาการ

ข่าวทั่วไป Wednesday September 15, 2010 16:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--เถ้าแก่น้อยเถ้าแก่น้อย” จัดโครงการดีต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน !! มุ่งเสริมทักษะเด็กไทย..ด้วยเกมส์กีฬาทางวิชาการในงาน “เถ้าแก่น้อย เอแม็ท ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๕ ชิงโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ประจำปี 2553 สนับสนุนกันมาอย่างต่อเนื่อง...เพื่อให้เด็กไทยก้าวไกลด้านเกมส์กีฬาทางวิชาการทัดเทียมทั่วโลก กับ โครงการดีๆ อย่าง “ เถ้าแก่น้อย เอแม็ท ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ ๕ ชิงโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ” ประจำปี 2553 ( Taokaenoi A-Math 2010 ) ที่จัดโดย “สาหร่ายอบสไตล์ญี่ปุ่น เถ้าแก่น้อย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ในการเสริมทักษะด้านความรู้ ความคิด ทั้งยังได้รับความสนุกสนานอีกด้วย ทั้งนี้ยังถือเป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ อันเกิดขึ้นจากประโยชน์ของเกมเอแม็ท ที่ส่งผลดีต่อการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ของเยาวชนนักเรียนไทย ทำให้ปัจจุบันกีฬาเอแม็ท ได้รับการยอมรับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน หรือเป็นกิจกรรมของโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ โดยมี คุณอิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ด แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าภาพจัดการแข่งขันขึ้นมอบรางวัล พร้อมด้วยผู้ร่ วมสนับสนุนการจัดงาน อาทิ สมาคมครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และ ซูโดกุ แห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ,ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พระราม ๓ ,หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ , สถานีวิทยุ FM 99 , บริษัทว้อนท์มอร์ อินดัสตรี้ จำกัด , บริษัทไซเบอร์ดิก เทคโนโลยี จำกัด , บริษัท แพนอินดัสตี้ ฟาอีสต์กรุ๊ป ,บริษัท ฮายาชิเวิลด์ และ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) ฯลฯ ตลอดจนนักกีฬาเยาวชนราว 2,000 คน เข้าร่วมชิงชัยโดยพร้อมเพรียง ณ บริเวณ ชั้นจี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 โดยมหกรรมการแข่งขัน เถ้าแก่น้อย ชิงแชมป์ประเทศไทย ในปี 2553 นี้ ได้จัดขึ้นเป็นระยะเวลารวม 2 วัน ซึ่งในปีนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น ประมาณ ๒,๐๐๐ คน แบ่งการแข่งขันออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ ประเภท KK เกมส์ต่อศัพท์ภาษาไทย ,ประเภท ครอสเวิร์ดเกม เกมต่อศัพท์ภาษาอังกฤษ และ ประเภท เอแม็ท เกมต่อเลขคำนวณ ซึ่งถือว่าเป็นเกมกีฬาหลัก ทั้งนี้แบ่งการแข่งขันออกเป็น ๙ รุ่น คือ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และประชาชนทั่วไป และสำหรับผู้ชนะเลิศ การแข่งขันเอแม็ท รุ่นประชาชนทั่วไป จะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุนการศึกษา และของรางวัล โดยมีรายนามผู้ชนะเลิศในแต่ละรุ่น ดังนี้ 1. รุ่นประถมต้น อันดับที่ 1 ได้แก่ ด.ช.สิริชัย ชูจันทร์ คู่กับ ด.ช.ฐิติวัฒน์ ลิ้มพัฒน์นันท์ โรงเรียน จำนงค์วิทยา กทม. 2. รุ่นประถมปลาย อันดับที่ 1 ได้แก่ ด.ช.สุชานันท์ แสงเส้น คู่กับ ด.ญ.สายรุ้ง แซ่เฮ้ง โรงเรียน จำนงค์วิทยา กทม. 3. รุ่นมัธยมปีที่1-2 หญิง อันดับที่ 1 ได้แก่ ด.ญ.จารุวรรณ สุวรรโณ โรงเรียน มารีวิทยาศรีมโหสถ ปราจีนบุรี 4. มัธยมปีที่1-2 ชาย อันดับที่ 1 ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ด.ช.กฤษณะ แก้วบุญไสย์ โรงเรียน เทพศิรินทร์ กทม. 5. รุ่นมัธยมปีที่ 3-4 หญิง อันดับที่ 1 ได้แก่ ด.ญ.มณฑิรา ศิริรักษ์ คู่กับ น.ส.ชัชชญา เกษมสุข โรงเรียน ดัดดรุณี ฉะเชิงเทรา ; 6. รุ่นมัธยมปีที่ 3-4 ชาย อันดับที่ 1 ได้แก่ ด.ช.อรรณพ แจ้งเกิด โรงเรียน มารีวิทยาศรีมโหสถ ปราจีนบุรี 7. รุ่นมัธยมปีที่ 5-6 หญิง อันดับที่ 1 ได้แก่ น.ส.ประธานพร เหล็กแชง โรงเรียน วชิรปราการวิทยาคม กำแพงเพชร 8. รุ่นมัธยมปีที่ 5-6 ชาย อันดับที่ 1 ได้แก่ นายวีรพัฒน์ เลิศพรชัยสกุล โรงเรียน เทพศิรินทร์ กทม. 9. รุ่นโอเพ่น อันดับที่ 1 ได้แก่ นายฐากูร แต่ยินดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กทม. พร้อมกันนี้ในวันปิดการแข่งขันทาง “ เถ้าแก่น้อย ” ยังได้ดึงไอดอลวัยทีน อย่าง 5 หนุ่มบอยแบนด์ดัง “ เคโอติค K-OTIC ” ร่วมโชว์เพลงฮิตบนเวที เพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันในงานครั้งนี้อีกด้วย หมายเหตุ : “ เอแม็ท ” เกมต่อเลขคำนวณ หรือต่อสมการคณิตศาสตร์ เป็นเกมที่พัฒนา และประดิษฐ์ขึ้นในราวปี 2532 ซึ่งได้เริ่มต้นเผยแพร่ในประเทศที่การแข่งขันครอสเวิร์ดเกมระดับชาติ หลังจากผยแพร่ผ่านการแข่งขันระดับ นักเรียนได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่เยาวชนนักรียนไทย และสถาบันโรงเรียนต่างๆ ขณะดียวกัน “ เอแม็ท ” เริ่มมีการพัฒนาไปอีกหลายด้าน ทั้งกติการการเล่น ตลอดจนรูปแบบของกระดาน เพื่อความเหมาะสม เล่นง่าย ทั นสมัย และให้ความสนุกสนาน พร้อมกับความรู้ ซึ่งในช่วงแรกกระดานเอแม็ทจะเป็นตารางแบบ 17x17 ช่อง มีจำนวนตัวเบี้ยน้อย แต่ปัจจุบันพัฒนาเป็นตารางแบบ 15x15 ช่อง และเพิ่มจำนวนตัวเบี้ยมากขึ้น จากนั้นในราวปี 2540 “ เอแม็ท ” ได้รับความนิยมสูงแบบก้าวกระโดด จากจำนวนนักกีฬาหลักร้อย สู่หลักหลายพันคนในการแข่งขัน พร้อมกับชมรมเอแม็ทแห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งต่อมาได้กลาย เป็นสมาคมครอสเวิร์ดเกม เอแม็ท คำคม และซูโดกุ แห่งประเทศไทย ปัจจุบัน “ เอแม็ท ” ได้รับการ ย อมรับจนเป็นหลัก ของเกมกีฬาวิชาการประจำปีของโรงเรียน และในประเทศไทย เช่นเดียวกับ “ครอสเวิร์ดเกม” ในปี 2546 ทางสมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ พระราชทานโล่รางวัลถาวรชนะเลิศการแข่งขัน “ เอแม็ท ” ชิงแชมป์ประเทศไทยในรุ่นประชาชนทั่วไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ