ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. ....

ข่าวทั่วไป Wednesday September 15, 2010 18:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ก.ย.--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการติดตามทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะ และมีหน่วยงานกำกั ดูแลโดยตรง เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม สร้างความรำคาญให้แก่ลูกหนี้และบุคคลที่สามที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ทั้งการใช้วาจา การใช้กำลัง การทำให้เสียชื่อเสียง การให้ข้อมูลเท็จเพื่อให้ลูกหนี้ และผู้อื่นเข้าใจผิด นอกจากนี้ ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการ ติดตามทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและสร้างมาตรฐานในการติดตามทวงถามหนี้ที่เหมาะสมและเป็นธรรม สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... สรุปได้ ดังนี้ - กำหนดให้มีการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ - กำหนดวิธีปฏิบัติในการติดต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ - กำหนดวิธีปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้ - กำหนดข้อห้ามในการติดตามทวงถามหนี้ - ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นการละเมิด และคุกคามในการติดตามทวงถามหนี้ เช่น การข่มขู่ ใช้ความรุนแรง การใช้วาจาหรือภาษาดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี เป็นต้น - ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการติดตามทวงถามหนี้ เช่น ทำให้เข้าใจว่าการกระทำของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี หน่วยงานของรัฐ ทนายความหรือสำนักงานกฎหมาย เป็นต้น - ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ ติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ติดต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับหนี้โดยไปรษณียบัตร เป็นต้น - ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายมีโทษถูกเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการติดตามทวงถามหนี้ และโทษทางอาญา ทั้งนี้ ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในมาตรการของรัฐในการแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน โดยมุ่งให้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลผู้ที่ดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการติดตามทวงถามหนี้ ให้เป็นธรรมและมีมาตรฐาน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนให้ชั เจน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273-9020 ต่อ 3262-3268

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ