รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2553 และ 2554 “คลังปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 53 เป็น 7.5% และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 54”

ข่าวทั่วไป Monday September 27, 2010 16:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนกันยายน 2553 ว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.3 — 7.8 ต่อปี ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณ าร ณ เดือนมิถุนายน 2553 ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.6 ต่อปีของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก ประกอบกับคาดว่าการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2553 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูง นอกจากนั้น การใช้จ่ายภายในประเทศในปี 2553 ทั้งการ บริโภคภาคเอกชนและการลงทุน ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อน สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 — 3.7) ต่อปี จากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเ ศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2553 จะยังคงเกินดุล แต่จะเกินดุลลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 4.5 ของ GDP) เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้ามีทิศทางเร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 35.6 ต่อปี เมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกสินค้าที่คาด ่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 25.0 ต่อปี สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2554 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวในระดับปกติที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ต่อปี) โดยมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนที่คาดว่าจะยังคงมี นวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2554 ยังคงขยายตัวได้ แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงเนื่องจากฐานที่สูงในปี 2553 ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไ ปในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 — 4.0 ต่อปี) ตามราคาน้ำมันที่คาดว่าจะยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่วนเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2554 จะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 — 3.9 ของ GDP) เนื่องจากการนำเข้าที่ ีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการส่งออก” รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2553 และ 2554 1. เศรษฐกิจไทยในปี 2553 1.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2553 คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นมาขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 7.3 — 7.8 ต่อปี) ปรับเพิ่มขึ้นจากประมาณการ ณ เดือนมิถุนายน 2553 ที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.6 ต่อปีของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรก ประกอบกับคาดว่าการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2553 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงที่ร้อยละ 13.9 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 13.7 — 14.2 ต่อปี) นอกจากนั้น การใช้จ่ายภายในประเทศในปี 2553 ทั้งการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน ยังมีแนวโน้ม ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะกลับมาเติบโตในอัตราสูงที่ร้อยละ 16.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 16.3 — 16.8 ต่อปี) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เร่งตัวขึ้นตามยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออก เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กท อนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มเติม ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในไตรมาสที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค แต่คาดว่าจะยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0 — 5.5 ต่อปี) เนื่องจา กการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น รายได้เกษตรกรที่ยังมีแนวโน้มดีขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่สูงขึ้นมากและโครงการประกันรายได้เกษตรกร และรายได้จากภาคท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงปลายปี นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาครัฐยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของภาครัฐภายใต้แผนปฏิ ัติการไทยเข้มแข็งในช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะทำให้การลงทุนภาครัฐเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 — 3.7 ต่อปี) ขณะที่การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปี จะช่วยให้การบริโภคภาครัฐในปี 2553 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.2 — 4.7 ต่อปี) ส่วนปริมาณการนำเข้าส ินค้าและบริการคาดว่าจะกลับมาเร่งตัวขึ้นที่ร้อยละ 20.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 20.6 — 21.1 ต่อปี) ตามการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศและการผลิตสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น 1.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2553 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.2 — 3.7 ต่อปี) เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่คาดว่าจะสูงขึ้นจากปี 2552 ตามการฟื้นตัวของเศร ฐกิจโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาน้ำมันและราคาอาหารสด จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.1 — 1.6 ต่อปี) สำหรับอัตราการว่างงานมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.1 — 1.3 ของกำลังแรงงานรวม) เนื่องจากการจ้างงานที่กลับมาเพิ่มขึ้นตามสภาวะเศร ฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2553 จะเกินดุลลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ 13.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 12.6 -14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากมูลค่านำเข้าสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าสินค้านำเข้าในปี 2553 จะขยายตัวร้อยละ 35.6 ต่อปี (โดยมีช่วงค ดการณ์ที่ร้อยละ 35.4 — 35.9 ต่อปี) ตามการเร่งตัวขึ้นของรายจ่ายภายในประเทศ ขณะที่มูลค่าส่งออกในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 25.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 24.8 — 25.3 ต่อปี) ตามการฟื้นตัวของปริมาณการส่งออก 2. เศรษฐกิจไทยในปี 2554 2.1 ด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในปี 2554 คาดว่าจะกลับมาขยายตัวในระดับปกติที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ต่อปี) โดยมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภายในประเทศที่คาดว่าจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.7 — 4.7 ต่อปี) ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้นเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9 — 6.9 ต่อปี) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับอัตราการใ ช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออก ที่อยู่ในระดับสูงตั้งแต่ปี 2553 นอกจากนี้ แรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการในปี 2554 ยังคงขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9 - 5.9 ต่อปี) แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงเนื่องจากฐานที่สูงในป ี 2553 ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 8.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.3 — 9.3 ต่อปี) สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐในปี 2554 คาดว่าการบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.9 — 6.9 ต่อปี) ตามการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีของรัฐบาลในปี 2554 ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาครัฐ าดว่าจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.7 — 2.7 ต่อปี) ตามบทบาทของภาครัฐในการสนับสนุนเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอลงในช่วงที่ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น 2.2 ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ในด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 — 4.0 ต่อปี) อันเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปี 2553 ส่วนอัตราการว่างงานคาดว่าจะ ยู่ในระดับปกติที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.1 — 1.3 ของกำลังแรงงานรวม) ในด้านเสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 3.4 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 - 3.9 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลงลงมาอยู่ที่ 9.4 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ (ช่วงคาดการณ์ที่ 8.4 — 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าสินค้านำเข้าในปี 2554 จะขยายตัวที่ร้อยละ 13.2 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 11.7 — 14.7 ต่อปี) ในขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อย ะ 11.0 — 13.0 ต่อปี) สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3255

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ