คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.๑๕๖/๒๕๖๑ เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายจ่ายจำกการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

ข่าวทั่วไป Tuesday January 16, 2018 14:52 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

คำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ป.๑๕๖/๒๕๖๑

เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายจ่ายจำกการดาเนินการ

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

______________

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจแนะนำผู้เสียภาษีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทำงาน หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทำงาน มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจำกการจ้างคนพิการเข้าทำงานมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้

๑.๑ กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทำงาน นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจำกการจ้างคนพิการเข้าทำงาน นามาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวนสองเท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจำกการจ้างคนพิการเข้าทำงาน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๙๙) พ.ศ. ๒๕๕๓

๑.๒ กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเข้าทำงานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้าง ในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่มีเงินได้ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจำกการจ้างคนพิการ เข้าทำงานมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นจำนวนสามเท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเนื่องจำกการจ้างคนพิการเข้าทำงาน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๙๙) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๔

ตัวอย่างที่ ๑

บริษัท ก. รับนาย ข. ซึ่งเป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัท โดยบริษัท ก. จ่ายค่าจ้างให้นาย ข. จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน หรือ ๒๔๐,๐๐๐ บาทต่อปี บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างนาย ข. นามาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ้างได้ทั้งสิ้นจำนวน ๔๘๐,๐๐๐ บาท

ตัวอย่างที่ ๒

ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ ๑ มกราคม ถึง ๓๑ ธันวาคม บริษัท ก. มีพนักงานในบริษัททั้งหมด ๑๐๐ คน เป็นพนักงานที่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งหมด ๖๑ คน โดยได้จ้างพนักงานที่เป็นคนพิการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๑ มีนาคมของปีถัดไป รวมทั้งสิ้น ๒๗๕ วัน ในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น บริษัท ก. จ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่เป็นคนพิการคนละ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน หรือคนละ ๑๘๐,๐๐๐ บาทในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว บริษัท ก. จึงมีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างพนักงานที่เป็นคนพิการมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ้างได้ทั้งสิ้นจำนวน ๕๔๐,๐๐๐ บาทต่อพนักงานที่เป็นคนพิการ 1 คน

ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายเนื่องจำกการจ้างคนพิการเข้าทำงาน หมายความถึง ค่าใช้จ่ายที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีหน้าที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันที่กาหนดในสัญญาจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส ค่ารักษาพยาบาล เงินประกันสังคม เป็นต้น

ข้อ ๒ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้จ้างคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กาหนดตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 (มาตรา ๓๓ กาหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป รับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน) แต่ได้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามจำนวนที่กฎหมายกาหนด ตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินาเงินที่ส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ ดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เพราะเป็นรายจ่ายที่จ่ายตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ ๓ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้จ้างคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และไม่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการอาจปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

การปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ อาจกระทาได้โดยการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ มีค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริง ตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของตนเอง นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่รายจ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อ ๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินารายจ่ายที่เกิดขึ้นจำกการปฏิบัติตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้

(๑) การให้สัมปทาน คือ การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จำกทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้ใช้ประโยชน์จำกอาคาร สถานที่หรือทรัพย์สินของสถานประกอบการ การให้สิทธิในลิขสิทธิในการจำหน่ายสินค้า การจัดสรรเวลาออกอากาศสถานีโทรทัศน์ วิทยุ

การดาเนินการในลักษณะดังกล่าว เป็นกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จำกสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่าง

บริษัท ก. มีที่ดินเป็นของตนเอง ได้ทาสัญญาให้สัมปทานใช้พื้นที่ในการทาการเกษตรปลูกผักแก่ผู้ดูแลคนพิการเป็นระยะเวลา ๑ ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน คิดเป็นมูลค่า ๑๐๙,๕๐๐ บาท โดยผู้ดูแลคนพิการจะเป็นผู้หาประโยชน์และเป็นผู้ได้รับรายได้จำกการขายผักตลอดระยะเวลาการให้สัมปทาน บริษัท ก. ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จำกที่ดินของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ บริษัท ก. ไม่มีสิทธินามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

(๒) การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ คือ การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

การดาเนินการในลักษณะดังกล่าว เป็นกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จำกอสังหาริมทรัพย์ของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่าง

บริษัท ก. มีอาคารสถานประกอบการ ได้ทาสัญญาให้คนพิการใช้พื้นที่อาคารบริเวณโรงอาหารของบริษัทเป็นระยะเวลา ๑ ปี เพื่อให้คนพิการขายอาหารจำนวน ๑ ร้าน โดยไม่มีค่าตอบแทน คิดเป็นมูลค่า ๑๐๙,๕๐๐ บาท ผลประโยชน์เงินรายได้ที่เกิดจำกการจำหน่ายอาหารให้ตกเป็นของคนพิการ บริษัท ก. ให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์จำกอาคารของตน ไม่ใช่กรณีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่มีสิทธินามูลค่าการให้คนพิการได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

(๓) การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการโดยวิธีการพิเศษ คือ การจ้างคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรง ในงานที่มุ่งผลสาเร็จของงาน หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการที่เป็นไปเพื่อกิจการของตน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะไม่ใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร

ตัวอย่างที่ ๑

บริษัท ก. ได้ทาสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้จัดทาของที่ระลึกของบริษัทเพื่อแจกเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยบริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ให้คนพิการ โดยบริษัทจะจ่ายเงินค่าจ้างทาของที่ระลึกในราคา ๑๐๙,๕๐๐ บาทต่อคนพิการ ๑ คน บริษัท ก. มีสิทธินาเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ตัวอย่างที่ ๒

บริษัท ก. ได้ทาสัญญาจ้างเหมาคนพิการเพื่อให้ไปทำงานในบริษัท ข. หรือส่วนราชการใด ๆ เป็นระยะเวลา ๑ ปี โดยมีมูลค่าสัญญาจ้างจำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาทต่อคนพิการ ๑ คน บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาเงินค่าจ้างเหมาคนพิการดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

(๔) การฝึกงาน คือ การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ การถ่ายทอดวิทยาการ เทคโนโลยี องค์ความรู้ เพื่อให้นาไปใช้ประกอบอาชีพ

หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการได้มีการจ่ายเงินเพื่อการฝึกงานให้แก่ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจำนวน ที่ได้จ่ายไปนั้นมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่าง

บริษัท ก. จัดให้มีการอบรมอาชีพพนักงาน Call center สำหรับคนพิการ โดยจ้างทีมงานฝึกอบรมจำกบริษัท ข. โดยบริษัท ก. จ่ายเงินค่าจ้างทีมงานฝึกอบรมให้แก่บริษัท ข. จำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาท ต่อคนพิการ ๑ คน บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายการจ้างทีมงานฝึกอบรมที่ได้จ่ายไปจริง จำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาท มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

(๕) การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวก คือ การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ ให้มีสิทธิทำงานได้ตามความเหมาะสม นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการมีสิทธินารายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปเพื่อการจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอานวยความสะดวก มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่าง

บริษัท ก. มีพนักงานลูกจ้างทั้งสิ้นจำนวน ๒,๑๐๐ คน ได้จ้างคนพิการทำงาน ในสถานประกอบการจำนวน ๒๐ คน และได้จัดให้มีทางลาดสำหรับคนพิการ โดยบริษัท ก. จ่ายเงินค่าจัดทา ทางลาดคนพิการเป็นจำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาท ดังนั้น บริษัท ก. มีสิทธินามูลค่าต้นทุนของทางลาดที่ได้จัดทานั้นมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

และเนื่องจำกกรณีดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการจัดอุปกรณ์ สิ่งอานวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ บริษัท ก. จึงได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๙๙) พ.ศ. ๒๕๕๓

(๖) การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ คือ การจัดหาบุคคลซึ่งจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือ ต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่ออานวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินกับบุคคลอื่นในสถานประกอบการของตน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปเพื่อการจัดให้มีล่ามภาษามือมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่างที่ ๑ บริษัท ก. มีพนักงานลูกจ้างทั้งสิ้นจำนวน ๒,๑๐๐ คน ได้จ้างคนพิการทางการได้ยินเข้าทำงานในสถานประกอบการจำนวน ๒๐ คน และได้จ่ายเงินค่าจ้างล่ามภาษามือ 1 คน เป็นจำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาทต่อ ๑ ปี เพื่ออานวยความสะดวกในการสื่อสารในสถานประกอบการ บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ตัวอย่างที่ ๒ บริษัท ก. จ่ายเงินค่าจัดให้มีบริการล่ามภาษามือเป็นจำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาท เพื่อจ้างล่ามภาษามือไปให้บริการในงานปีใหม่ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง หรือสถานที่ของหน่วยงานของรัฐอื่นใด บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

(๗) การช่วยเหลืออื่นใด คือ การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจำกคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทำงาน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่สนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือหรือทรัพย์สินอื่นแก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการนั้น มีสิทธินาค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตัวอย่างที่ ๑

บริษัท ก. สนับสนุนให้เครื่องดนตรีแก่คนพิการเพื่อประกอบอาชีพนักดนตรี โดยจ่ายเงินเพื่อซื้อกีตาร์ ๑ ตัว ราคา ๑๐๙,๕๐๐ บาท บริษัท ก. มีสิทธินาค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดนตรีดังกล่าว มาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

ตัวอย่างที่ ๒

บริษัท ก. สนับสนุนเงินให้แก่คนพิการเป็นจำนวน ๑๐๙,๕๐๐ บาท ในลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์ให้เปล่า ให้คนพิการนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนพิการ บริษัท ก. ไม่มีสิทธินาค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาลงเป็นรายจ่ายในการคานวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เนื่องจำกเป็นการจ่ายในลักษณะของการสงเคราะห์คนพิการ มิใช่การสนับสนุนเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ หรือเตรียมความพร้อมในการทำงาน

ในด้านรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการให้บริการแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยไม่มีค่าตอบแทน อันเป็นการดาเนินการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจำกเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกาหนด กรณีถือเป็นเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอานาจประเมินตามมาตรา ๖๕ ทวิ (๔) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ ๕ รายจ่ายตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้ เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากร

(๑) กรณีการจ้างคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงาน ได้แก่ สัญญาจ้างแรงงาน และหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนพิการที่จ้างเข้าทำงาน

(๒) กรณีการจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

(๓) กรณีการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอานวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้แก่ หนังสือแจ้งผลการใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งอนุญาตให้ใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำกกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รวมทั้งเอกสารประกอบการขอใช้สิทธิ และหลักฐานการจ่ายเงินเพื่อดาเนินการดังกล่าว

ข้อ ๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก

สั่ง ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑

ประสงค์ พูนธเนศ

(นายประสงค์ พูนธเนศ)

อธิบดีกรมสรรพากร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ