ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๔๔) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์และผลตอบแทนเงินฝากตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถ

ข่าวทั่วไป Thursday April 4, 2019 14:17 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๓๔๔)

เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ย

เงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์และผลตอบแทนเงินฝาก

ตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์

_________________

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ (๘) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ.๒๕๓๔ และตามความในข้อ ๒ (๓๘) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓๙ (พ.ศ. ๒๕๖๑) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ และผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืน เมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์กับธนาคารในประเทศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๕๕) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๒๗) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ข้อ ๒ ในประกาศนี้

"ดอกเบี้ย" หมายความว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์

"ผลตอบแทนเงินฝาก" หมายความว่า ผลตอบแทนเงินฝากธนาคารในประเทศ ที่ได้รับจากการฝากเงินตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามตามหลักการวะดีอะฮ์

ข้อ ๓ ดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(๑) ดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากทุกบัญชีรวมกัน มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดปีภาษีนั้น

(๒) ชื่อบัญชีเงินฝากและเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากรที่ใช้ในการเปิดบัญชีเงินฝาก จะต้องเป็นของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากนั้น

(๓) ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝาก ต้องยินยอมให้ธนาคาร ทุกธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝาก นำส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากของผู้มีเงินได้ต่อกรมสรรพากรตามรูปแบบที่ธนาคารกำหนด โดยให้ธนาคารนำส่งข้อมูลดังกล่าวต่อกรมสรรพากรตามข้อ ๕ และเก็บหลักฐานการยินยอมไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบต่อไป

(๔) ผู้มีเงินได้ต้องไม่นาดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไปรวมคานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ข้อ ๔ กรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๓ ผู้มีเงินได้นั้นไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และให้ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา ๕๐ (๒) และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร หากธนาคารไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่ง ให้ธนาคารนำส่งภาษีที่ต้องนำส่งพร้อมกับเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ตามมาตรา ๒๗ แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ ๕ เมื่อผู้มีเงินได้ให้ความยินยอมตามข้อ ๓ (๓) แล้ว ให้ธนาคารซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนเงินฝากนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากทุกบัญชีต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทาขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนำส่งตามวิธีการที่กำหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th

การนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งภายในกำหนดเวลา ดังนี้

(๑) สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการคานวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากในครึ่งปีแรก โดยคานวณถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ให้นำส่งภายในวันที่ ๒๐ พฤษภาคมของปีนั้น

(๒) สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการคานวณเพื่อจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากทั้งปี โดยคานวณถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ให้นำส่งภายในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายนของปีนั้น

(๓) สำหรับข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากในครึ่งปีแรก ซึ่งได้จ่ายก่อนหรือในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ให้นำส่งภายในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น

(๔) สำหรับข้อมูลการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากทั้งปี ซึ่งได้จ่ายก่อนหรือในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ให้นำส่งภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป

ข้อ ๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ

(นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ)

อธิบดีกรมสรรพากร

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ