กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗๔ (พ.ศ. ๒๕๖๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งประมวลรัษฎากร

ข่าวทั่วไป Friday April 16, 2021 12:40 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

กฎกระทรวงฉบับที่ ๓๗๔ (พ.ศ. ๒๕๖๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๑๓ และมาตรา ๖๕ ทวิ (๙) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๔ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท หนี้สูญที่จะ จาหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ ๓ แล้ว ต้องมีการดาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ได้ติดตามทวงถามให้ชาระหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดยมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง แต่ไม่ได้รับชาระหนี้ โดยปรากฏว่า

(ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไป และ ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชาระหนี้ได้ หรือ

(ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมด ของลูกหนี้อยู่ในลาดับก่อนเป็นจานวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

(๒) ได้ดาเนินการฟองลูกหนี้ในคดีแพ่งหรือได้ยื่นคาขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่น ฟองในคดีแพ่ง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้วและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงาน บังคับคดีอันสามารถแสดงได้ว่าได้มีการดาเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชาระหนี้ได้

(๓) ได้ดาเนินการฟองลูกหนี้ในคดีล้มละลายหรือได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีล้มละลาย หรือในคดีที่ผู้ชาระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคล ล้มละลาย โดยได้มีการประนอมหนี้กับลูกหนี้โดยศาลมีคาสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือ ศาลได้มีคาสั่งปิดคดีแล้ว

การดาเนินการตาม (๒) หรือ (๓) ที่ได้กระทาในต่างประเทศหรือการดาเนินการอื่น ในลักษณะทานองเดียวกันที่ได้กระทาในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารหลักฐานแห่งการดาเนินการ ที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ออกให้ และหลักฐานดังกล่าวต้องได้รับการรับรองคาแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร

ข้อ ๕ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท หนี้สูญ ที่จะจาหน่ายจากบัญชีลูกหนี้นอกจากต้องมีลักษณะตามข้อ ๓ แล้ว ต้องมีการดาเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ได้ดาเนินการตามข้อ ๔ (๑) แล้ว (๒) ได้ดาเนินการฟองลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคาสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคาขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีแพ่งและศาลได้มีคาสั่งรับคาขอนั้นแล้ว

(๓) ได้ดาเนินการฟองลูกหนี้ในคดีล้มละลายและศาลได้มีคาสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือในคดี ที่ผู้ชาระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคาสั่งรับคาฟองนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟองในคดีล้มละลาย และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคาสั่งรับคาขอรับชาระหนี้นั้นแล้ว

ในกรณีตาม (๒) หรือ (๓) กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ ต้องมีคาสั่งอนุมัติให้จาหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ให้นาความในข้อ ๔ วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การดาเนินการตาม (๒) หรือ (๓) หรือ การดาเนินการอื่นในลักษณะทานองเดียวกันที่ได้กระทาในต่างประเทศ ด้วยโดยอนุโลม

ข้อ ๖ ในกรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจานวนไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และมีลักษณะ ตามข้อ ๓ การจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ให้กระทาได้โดยไม่ต้องดาเนินการตามหลักเกณฑ์ ในข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชาระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชาระหนี้และหากจะฟองลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชาระ"

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ เบญจ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่าย หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๖ เบญจ การจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงินในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันเงินสารองครบร้อยละ ๑๐๐ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ กำหนด และมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้กระทาได้โดยไม่ต้องดาเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖

(๑) เป็นลูกหนี้ค้างชาระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันไม่น้อยกว่า ๓๖๐ วัน หรือ ๑๒ เดือน

(๒) เป็นลูกหนี้ที่เข้าหลักเกณฑ์การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

(๓) เป็นลูกหนี้ที่เข้าหลักเกณฑ์การตัดสินทรัพย์ออกจากบัญชี สาหรับสินทรัพย์ และ ภาระผูกพันทางการเงินที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

"สถาบันการเงิน" ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า (๑) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (๒) บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือกองทุนเพื่อการฟืนฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ การถือหุ้นโดยอ้อมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

(๓) นิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี" ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๔) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจาหน่าย หนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ ๗ หนี้ของลูกหนี้รายใดที่ได้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวงนี้ครบถ้วนแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้จาหน่ายเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ และ ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่กรณีตามข้อ ๕ (๒) และ (๓) ให้ถือเป็นรายจ่าย ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคาสั่งรับคาฟอง คาขอเฉลี่ยหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือศาล แล้วแต่กรณี ได้มีคาสั่งรับคาขอรับชาระหนี้ กรณีตามข้อ ๖ ตรี ให้ถือเป็นรายจ่าย ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ศาลได้มีคาสั่งเห็นชอบแผนฟืนฟูกิจการของลูกหนี้ และกรณีตามข้อ ๖ นว ให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ฝากขายสินค้าได้ปลดหนี้ ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับฝากขายสินค้า แล้วแต่กรณี"

ข้อ ๔ ในการอนุมัติให้จาหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามข้อ ๕ วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงนี้ สาหรับการดาเนินการในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ แต่ไม่เกินวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้กรรมการหรือหุ้นส่วน ผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้มีคาสั่งอนุมัติให้จาหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญ จากบัญชีลูกหนี้ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือภายในหกสิบวันนับแต่ วันที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง และในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดาเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๕ วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวงนี้

ข้อ ๕ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสาหรับการดาเนินการที่เริ่มในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ