คำชี้แจงกรมสรพากร เรื่อง การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบชาร์เตอร์ (Charter Services)

ข่าวทั่วไป Friday October 21, 2022 11:35 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

คำชี้แจงกรมสรพากร เรื่อง การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบชาร์เตอร์ (Charter Services)

เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะตลอดจนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มของการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบชาร์เตอร์ (Charter Services) กรมสรพากรจึงขอชี้แจง ดังนี้

การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบชาร์เตอร์ (Charter Services) แบ่งอกเป็น ๓ ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะและภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

๑. การจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) เป็นสัญญาระหว่างเจ้าของเรือ (Owner) และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) ที่เจ้าของเรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่ง โดย Charterer จะนำสินค้ามอบให้เจ้าของเรือแล้วเจ้าของเรือเป็นผู้นำสินค้าไปส่งปลายทาง นายเรือและลูกเรือเป็นลูกจ้าง ของเจ้าของเรือ อำนาจในการสั่งการและสิทธิครอบครองเรือยังอยู่กับเจ้าของเรือ เจ้าของเรือต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนั้น สัญญาจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) จึงเป็นสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

(๑) กรณีการประกอบกิจการขนส่งภายในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร แต่การให้บริการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๘๑ (๑) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

(๒) กรณีการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรอกไปนอกราชอาณาจักร หรือการขนส่งนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร หาการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรอกไปนอกราชอาณาจักรที่เป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นิติบุคล เข้าลักษณะเป็นการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ ๐ ตามาตรา ๘๐/๑ (๓) แห่งประมวลรัษฎากร

๒. การเหมาแบมีกำหนดระยะเวลา (Time Charter) เป็นสัญญาระหว่างเจ้าของเรือ (Owner) และคู่สัญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) ที่นายเรือและลูกเรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ โดยเจ้าของเรือมีอำนาจในการสั่งการและครอบครองเรือ แต่ Charterer เป็นผู้อกค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินเรือเนื่องจาก Charterer สามารถสั่งเรือให้ไปที่ใดก็ได้ เจ้าของเรือไม่สามารถคิดค่าน้ำมันล่วงหน้าได้ หาก Charterer ไม่ชำระค่าระวาง ทางเจ้าของเรือมีสิทธิถอนเรือจาการขนส่งได้ เรือยังอยู่ในความควบคุมครอบครองและอำนาจสั่งการของเจ้าของเรือ โดยมีนายเรือและลูกเรือครอบครองแทน กรณีดังกล่าว ไม่ได้มีลักษณะเป็นการส่งมอบเรือให้ Charterer เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น สัญญาเหมาแบบมีกำหนดระยะเวลา (Time Charter) จึงเป็นสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

(๑) กรณีการประกอบกิจการขนส่งภายในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการ ให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร แต่การให้บริการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๘๑ (๑) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

(๒) กรณีการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรอกไปนอกราชอาณาจักร หรือการขนส่งนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๗๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร หาการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรอกไปนอกราชอาณาจักรที่เป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคล เข้าลักษณะเป็นการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ ๐ ตามาตรา ๘๐/๑ (๓) แห่งประมวลรัษฎากร

๓. การประกอบกิจการตามสัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter) เป็นสัญญา ที่เจ้าของเรือ (Owner) ต้องส่งมอบการครอบครองเรือเปล่าให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) โดยการดูแลรับผิดชอบเรื่องการเดินเรือ การจ้างนายเรือและลูกเรือ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับเรือ อยู่ในความรับผิดชอบของ Charterer ดังนั้น สัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter) จึงเป็นสัญญา เช่าทรัพย์สิน และเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามาตรา ๗๗/๑ (๑๐) แห่งประมวลรัษฎากร หาการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร หรือเป็นการให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา ๗/๒ แห่งประมวลรัษฎากร

จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมสรพากร ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕

ที่มา: http://www.rd.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ