(ต่อ1) คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย วันที่ 20 พฤศจิกายน 2540

ข่าวการเมือง Friday November 21, 1997 15:24 —ข้อมูลหน่วยงานราชการ

 ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โดยที่เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในสภาพวิกฤตที่มีปัญหารุมล้อมจากทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การคลัง การค้า การลงทุน และด้านค่าครองชีพ การลอยตัวของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มีส่วนผลักดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น นอกจาก นี้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยังไม่มีผลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง ก่อปัญหาการว่างงาน และปัญหาทางสังคม ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติให้มีผลกระทบ ต่อภาวะความ เป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงยิ่งขึ้น รัฐบาลตระหนักในความรุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จึงกำหนดแผน ดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกวิถีทางเพื่อบรรเทาปัญหา และประคับประคองเศรษฐกิจให้พ้นวิกฤติการณ์นี้ให้ได้ โดยกำหนด นโยบาย เพื่อดำเนินการเป็น 2 ระยะคือ ระยะเร่งด่วน ซึ่งจะดำเนินมาตรการให้ได้ผลในระยะที่สั้นที่สุด และระยะปานกลางซึ่งจะ ดำเนินการภายในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่อง สามารถนำพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติภายในเวลา ที่ไม่นาน จนเกินควร ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วน : การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
1.1 การเร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1.1 การแก้ปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ
(1) รัฐบาลถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราว 58 แห่งทันที โดยเร่งรัดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการตามแนวทางดังนี้
- กลุ่มสถาบันการเงินที่สามารถ เพิ่มทุนและดำเนินกิจการต่อไปไดให้พ้นจากการถูกควบคุม และอนุญาต ให้เปิดกิจการได้ทันที
- กลุ่มที่จำเป็นต้องควบหรือรวมกิจการ ให้ จัดการให้เกิดการควบกิจการทันที
- กลุ่มที่มีปัญหาและต้องปิดกิจการ ให้จัดการ แบ่งแยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดีและเปิดโอกาสให้ สถาบันการเงิน ภายในและ/หรือต่างประเทศรับไปบริหาร ส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะได้รับการ บริหารโดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินและธนาคารที่ยังดำเนินกิจการอยู่ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการดำเนินการในทิศทางที่ก่อให้ เกิดความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินอย่างถาวรต่อไป
(3) เร่งดำเนินการให้มีการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องของระบบการเงิน อีกทางหนึ่ง
(4) สนับสนุนให้การลงทุนจากต่างประเทศปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังมิได้รับการแก้ไข
1.1.2 การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น
(1) วางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับ และรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศทุกด้านทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
(2) สนับสนุนการดำเนินงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการค้าต่างตอบแทนในการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ปิโตรเลียม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ทางโทรคมนาคม เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ
1.1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
(1) เร่งรัดเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ และอุตสาหกรรมส่งออก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และผ่านสถาบันการเงินของเอกชน
(2) ขจัดอุปสรรคการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากรและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งลดต้นทุนโดยการปรับปรุงแก้ไข กฎหมายศุลกากรและ เพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้า
(3) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างระบบการผลิต ในประเทศกับ ทิศทางการค้าระหว่างประเทศ
(4) เร่งรัดการขยายตัวและขจัดอุปสรรคการการท่องเที่ยว โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนตลอดจนส่งเสริม โครงการ "ไทยเที่ยวไทย" เพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ
1.1.4 การบริหารงบประมาณแผ่นดิน
(1) การบริหารงบประมาณรายจ่ายรัฐบาลจะดำเนินการโดยยึดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับกองทุนการเงินระหว่าง ประเทศเป็นหลักแต่จะไม่ให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายเกิด ผลกระทบต่อการให้บริการด้านการศึกษาและสาธารณสุข พื้นฐาน
(2) สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจโดยเน้นกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นอยู่แล้วในตลาด หลักทรัพย์และที่มีโอกาสจะออกหุ้นทุนขยายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีก ทั้งนี้เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ
1.1.5 การส่งเสริมการประหยัด
(1) รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัด โดยติดตามควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันการรั่วไหล และขจัดความฟุ่มเฟือย
(2) รณรงค์ร่วมกับองค์กรเอกชนและประชาชนในการประหยัดการใช้จ่าย การเพิ่มการออมและการประหยัด พลังงาน
1.1.6 การสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม
(1) จัดให้ระบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมีเอกภาพในการตัดสินใจ มีความชัดเจน โปร่งใส
(2) ปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมีระบบงานที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
1.2 การบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ
1.2.1 การบรรเทาปัญหาการว่างงาน
(1) ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการใช้งบประมาณที่มีอยู่เพื่อขยายการจ้างงาน โดยเฉพาะการจ้างงานในชนบท
(2) ประคับประคองให้ธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมากสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมการตลาด และการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
(3) แก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยเร่งรัดบรรจุงานใหม่ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือใหม่และประสานความช่วย เหลือผู้ถูกเลิกจ้างอย่างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกจังหวัด
1.2.2 การบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ
(1) รักษาอัตราค่าครองชีพโดยเฉพาะของกลุ่มที่มีรายได้น้อยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยติดตามตรวจสอบ ต้นทุนของสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และลดการผูกขาดตัดตอน
(2) เพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการติดตามตรวจสอบการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและราคาสินค้า
(3) เร่งดำเนินการเพิ่มปริมาณสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จะติดตามดูแลให้คุณภาพและราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งไม่เกิดภาวะขาดตลาด
1.2.3 การบรรเทาปัญหาด้านสังคม
(1) ประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยให้ความช่วยเหลือ ในรูปของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(2) จัดบริการด้านสุขภาพอนามัยรวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทาง เศรษฐกิจ โดยเร่งขยายการประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในช่วง ที่ว่างงานหรือกำลังหางานทำ
(3) เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวย ความยุติธรรมและดูแล รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยเฉพาะในด้านการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรม การค้ายาเสพติด การลดจำนวนแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย
2. นโยบายในระยะปานกลาง : การปรับโครงสร้างและการพัฒนาสังคม
รัฐบาลมุ่งเน้นวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อม ๆ กับการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษกับการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมทุกแขนงเพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และสานต่อนโยบายการกระจายความเจริญและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงแต่เนื่องด้วยข้อ จำกัดของงบประมาณแผ่นดิน
2.1 การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจ
2.1.1 พัฒนาตราสารทางการเงินที่สำคัญ โดยเฉพาะตราสารทางการเงินในระยะยาวและพันธบัตรเพื่อระดมทุนมา ใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ
2.1.2 เร่งเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม หรือมีสถานะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระจายหุ้นออกขายให้กับผู้ลงทุนที่สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ
2.1.3 ดูแลการใช้เงินกู้จากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลักดันให้เกิด การปรับโครงสร้างระบบการผลิต และการค้าของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
2.2 การปรับโครงสร้างการผลิต
2.2.1 การปรับโครงสร้างด้านการเกษตร
(1) ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตพร้อม ๆ กับการลดต้นทุนการผลิต โดยขยายปริมาณทุนกระจายสู่เกษตรกรผ่านสหกรณ์ให้มากกว่าเดิม ทั้งนี้จากแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสินเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่วนที่เกิดจากดอกเบี้ยนอกระบบลง ให้ได้มากที่สุดโดยเร็ว
(2) ขยายโอกาสการลงทุนแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรและภาคเอกชนในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยวส่งเสริมให้เกิด อุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และการแปรรูปพืชผลเกษตรเพื่อเร่งรัดการส่งออกรวมทั้งเพิ่มบทบาทในการเจรจาและความร่วมมือ ระหว่างประเทศภายใต้ระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในตลาดโลก
(3) สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเร่งรัดการกระจายพันธ์พืช พันธ์สัตว์และประมงที่มีคุณภาพและทั่วถึง แก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมงรวมทั้งการเร่งรัดป้องกันการระบาดของโรคพืช และสัตว์
(4) ส่งเสริมและฟื้นฟูระบบการผลิตการ เกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและมีผลกระทบต่อ ระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตามแนวทางพระราชดำริว่าด้วยทฤษฎีใหม่ รวมทั้งเร่งรัดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เสร็จสิ้นตามแผนงานที่กำหนดไว้
(5) เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์โดยการสนับสนุนกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ วิชาการ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกษตรกร สถาบันเกษตร และสหกรณ์สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตรและเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชนในชนบท
(6) สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าเกษตรที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น โดยการ สนับสนุนการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด พร้อมกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบ ชลประทาน ให้เชื่อมโยงครบตามแผนแม่บทที่มีอยู่ รวมทั้งดำเนินการปฏิรูปที่ดินและแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ผลเร็วขึ้น
2.2.2 การปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม
(1) เร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ขยายบริการสินเชื่อและหาแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ผลิตแบบครบวงจร โดยเร่งรัดการขยายอุตสาหกรรมต่อเนื่องในแต่ละสาขา ด้วยการ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยี และขยายการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากระบบประกันการลงทุนจาก ประเทศที่อำนวยเงินลงทุน
(3) พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ในอุตสาหกรรมหลักแต่ละด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(4) เร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งการทดสอบและรับรองมาตรฐานเพื่อสร้างความ เชื่อถือให้กับประเทศผู้ซื้อ ตลอดจนให้การปรึกษาด้านการส่งออก โดยขยายขอบเขตงานของสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและ สถาบันวิจัยและพัฒนา
2.2.3 การปรับโครงสร้างด้านการบริการ
(1) ด้านการท่องเที่ยวพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ และส่งเสริม นักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยอีก โดยกระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณการจัดสรรรายได้รวม ทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่น ควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทของชุมชน และองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
(2) ด้านบริการการศึกษานานาชาติ กำหนด นโยบาย เป้าหมาย สนับสนุนส่งเสริมการศึกษานานาชาติ รวมทั้ง การประสานงานระหว่างสถาบันศึกษาของไทยกับสถาบันในต่างประเทศ และสร้างระบบอำนวยความสะดวก แก่นักศึกษานานาชาติ ที่เข้ามาศึกษาในสถาบันในประเทศ
(3) ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพใน ภูมิภาค โดยกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล พัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาพยาบาล การใช้การประชาสัมพันธ์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
2.3 การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.3.1 ดำเนินการต่อเนื่องที่จะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เฉพาะโดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานการผลิต ด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น และดึงดูดการลงทุนและการรวมกลุ่มพัฒนา วงจรอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม นอกจากนี้จะชักชวนให้เกิดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2.3.2 เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตจากการเชื่อมโยงกับประเทศ เพื่อนบ้านภายใต้ โครงการความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค
2.4 การปรับโครงสร้างพื้นฐาน
2.4.1 ด้านการขนส่ง
(1) การขนส่งทางบก
เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกทั้งทางถนน และรถไฟให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
(2) การขนส่งทางน้ำ
ปรับปรุงกลไกการตัดสินใจระดับนโยบายด้านพาณิชย์นาวีให้เป็นเอกภาพเพื่อผลักดัน ประเทศไทยสู่มิติใหม่ของระบบการขนส่งระหว่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนสายการเดินเรือแห่งชาติอย่างจริงจังการก่อสร้าง ท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างประเทศลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการพึ่งพาเรือต่างชาติ รวมทั้งพัฒนาการเดินเรือชายฝั่งเพื่อเพิ่มทางเลือกการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก
(3) การขนส่งทางอากาศ
เร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ห้เป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศและพัฒนาท่าอากาศยานในส่วนภูมิภาคให้สามารถรองรับการ ขนส่งทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4.2 ด้านการสื่อสาร
ปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการสื่อสารของประเทศโดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อยกเลิกการผูกขาดของภาครัฐและสนับสนุนให้มีการแข่งขัน ในการให้บริการโดยเสรีควบคู่ไปกับการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการสื่อสารที่เป็นกลางโปร่งใสและมีเอกภาพ ตลอดจนดำเนินการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสาร โดยคำนึงถึงเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
2.4.3 ด้านพลังงาน
(1) เร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการมีความมั่นคง คุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งเร่งการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(3) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปสู่การจัดหา การใช้และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.4.4 ด้านสาธารณูปการ
(1) น้ำประปา
กำกับดูแลการพัฒนากิจการประปาแห่งชาติให้เป็นระบบและเหมาะสมโดยให้ภาคเอกชนเข้ามา มีบทบาทในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น
(2) ที่อยู่อาศัย
เร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรทั้งในด้าน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพและรายได้ รวมทั้งดำเนินมาตรการป้องกันการขยายชุมชนแออัดควบคู่กัน โดยให้มีกลไกถาวรในการประสานการปฏิบัติงานและกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพนอกจากนั้นจะดูแลการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามสัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสำหรับประชาชน ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม
2.5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
2.5.1 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตโดยเน้นพัฒนาทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับขีดความสามารถของแรงงานในการรับการถ่ายทอดและคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการนำเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ นอกจากนี้รัฐบาลจะสนับสนุนให้การพัฒนาเทคโนโลยีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดการนำเข้ารวมทั้งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ
2.5.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษีและการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้การศึกษาวิจัยสอดคล้องกับความต้องการของสถาน ประกอบการมากยิ่งขึ้น
2.5.3 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาค เอกชนมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้น
2.5.4 เร่งรัดการดำเนินงานระบบมาตรวิทยา เพื่อสนับสนุนการส่งออก อันจะทำให้ภาคเอกชนมีโอกาสแข่งขันในตลาด ระหว่างประเทศยิ่งขึ้น
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ