กรุงเทพ--26 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรือที่รู้จักในชื่อกรอบความร่วมมืออาเซียน + 3 เริ่มต้นขึ้นในปี 2540 ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยได้มีการหารือกันระหว่างผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ซึ่งจะครบรอบ 10 ปี ในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลองการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ผู้นำอาเซียน + 3 จึงมีความคิดร่วมกันที่จะกำหนดทิศทางของความร่วมมือในกรอบนี้ให้ชัดเจนขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาคในทศวรรษหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียน + 3 จะร่วมกันออกแถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 เนื่องจากเห็นว่า ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน + 3 ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในแง่ของความร่วมมือและภัยคุกคามต่าง ๆ
เพื่อพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว จีนและฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการประชุมระดับอธิบดีอาเซียน + 3 ณ เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 10 — 11 กรกฏาคม 2550 โดยนายนพปฏล คุณวิบูลย์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปเข้าร่วมประชุมดังกล่าวกับอธิบดีของประเทศอาเซียน + 3 อื่น ๆ ในการนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการกำหนดกรอบความร่วมมือในร่างแถลงการณ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. ความร่วมมือด้านพลังงาน และ 4. ความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ในการประชุมครั้งนี้ ไทยได้เสนอแนวทาง 3 ประการเพื่อบรรลุเป้าหมายของแถลงการณ์ร่วมฯ คือ (1) การประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเวทีการประชุมต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน + 3 (2) การจัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และ (3) การยกระดับความสำคัญของการประชุมอธิบดีอาเซียน + 3 ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการประสานงาน
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ประเทศไทยยังได้ผลักดันให้มีการจัดงานสัปดาห์เอเชียตะวันออกและเมืองวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์กรอบอาเซียน + 3 ในช่วงปลายปี 2550 โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยและประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก เวทีสื่อมวลชนเอเชียตะวันออก การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบทบาทของภาพยนตร์ต่อการส่งเสริมเอเชียตะวันออก และถนนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 — 643 — 5000 ต่อ 4470 หรือ 4471 หรือเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศที่ www.mfa.go.th
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรือที่รู้จักในชื่อกรอบความร่วมมืออาเซียน + 3 เริ่มต้นขึ้นในปี 2540 ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยได้มีการหารือกันระหว่างผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ซึ่งจะครบรอบ 10 ปี ในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลองการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ผู้นำอาเซียน + 3 จึงมีความคิดร่วมกันที่จะกำหนดทิศทางของความร่วมมือในกรอบนี้ให้ชัดเจนขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาคในทศวรรษหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียน + 3 จะร่วมกันออกแถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 เนื่องจากเห็นว่า ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานั้น ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน + 3 ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในแง่ของความร่วมมือและภัยคุกคามต่าง ๆ
เพื่อพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว จีนและฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการประชุมระดับอธิบดีอาเซียน + 3 ณ เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 10 — 11 กรกฏาคม 2550 โดยนายนพปฏล คุณวิบูลย์ อธิบดีกรมอาเซียน ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปเข้าร่วมประชุมดังกล่าวกับอธิบดีของประเทศอาเซียน + 3 อื่น ๆ ในการนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการกำหนดกรอบความร่วมมือในร่างแถลงการณ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. ความร่วมมือด้านพลังงาน และ 4. ความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ในการประชุมครั้งนี้ ไทยได้เสนอแนวทาง 3 ประการเพื่อบรรลุเป้าหมายของแถลงการณ์ร่วมฯ คือ (1) การประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเวทีการประชุมต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน + 3 (2) การจัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และ (3) การยกระดับความสำคัญของการประชุมอธิบดีอาเซียน + 3 ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการประสานงาน
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ประเทศไทยยังได้ผลักดันให้มีการจัดงานสัปดาห์เอเชียตะวันออกและเมืองวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์กรอบอาเซียน + 3 ในช่วงปลายปี 2550 โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยและประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก เวทีสื่อมวลชนเอเชียตะวันออก การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบทบาทของภาพยนตร์ต่อการส่งเสริมเอเชียตะวันออก และถนนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 — 643 — 5000 ต่อ 4470 หรือ 4471 หรือเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศที่ www.mfa.go.th
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-