แท็ก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา
กรมการปกครอง
โรงแรมคอนราด
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม 2550 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เท่ากับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัว แต่การส่งออกขยายตัวดีและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการเร่งตัวของการอุปโภคบริโภคภาครัฐ
ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนเมษายน และพฤษภาคม สะท้อนว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น กล่าวคือ ดัชนีการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี โดยเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีความชัดเจน แรงกระตุ้นจากภาครัฐ และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำซึ่งช่วยรักษากำลังซื้อของประชาชน รวมทั้งนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งเมื่อประกอบกับการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี จึงเป็นสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาปรับลดลงอีกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 จากราคาอาหารสดที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ยังต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาในตลาดโลกสูงขึ้น ประกอบกับภาวะอุปสงค์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การปรับราคาสินค้าจึงทำได้ยากแม้ว่าจะมีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คปค.) ฉบับที่ 8 ที่ให้ระงับการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการทุกประเภทไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และ 0.8 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อฐานะการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน แม้ว่า ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจลดลง และการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นบ้าง อนึ่ง นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งเมื่อพิจารณาควบคู่ไปกับความสามารถในการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และสัญญาณที่เป็นบวกในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เสถียรภาพโดยรวมของระบบเศรษฐกิจการเงินไม่น่าเป็นห่วง
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เกินดุลค่อนข้างสูง เป็นผลจากทั้งการส่งออกที่ขยายตัวดีและการนำเข้าที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ในประเทศ สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลน้อยลงจากการนำเข้าวัตถุดิบที่ยังขยายตัวได้ดีตามการส่งออก และการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ขณะที่ดุลบริการมีแนวโน้ม ขาดดุลตามปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การจ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผล ทำให้ในภาพรวมดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลน้อยลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังคงเกินดุลอย่างต่อเนื่องเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้นใน ช่วงที่ผ่านมา
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 63.8 และ 65.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เป็นผลมาจากอุปสงค์ต่อการใช้น้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปทานไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่าที่คาดไว้ และความเสี่ยงด้านการเมืองในประเทศผู้ค้าน้ำมันที่มี มากขึ้น ส่วนดัชนีราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ* ซึ่งเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 292.3 และ 290.3 ตามลำดับปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาในตลาดโลก เพราะค่าเงินบาทแข็ง
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกใกล้เคียงเดิม สอดคล้องกับประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ ณ ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปตลอดช่วงประมาณการ ต่างจากครั้งก่อนที่คาดว่าจะมีการปรับลด เนื่องจากล่าสุดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีมากขึ้น
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 - 2551 ปรับดีขึ้นกว่าข้อสมมติใน รายงานฉบับก่อนเล็กน้อย จากเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรปที่ปรับดีขึ้น ซึ่งจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
5. ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมากกว่าข้อสมมติเดิม
6. ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ ข้อสมมติการลงทุนของภาครัฐปรับลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากการปรับโครงสร้างสัดส่วนงบประมาณใหม่
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐาน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่มีความไม่แน่นอนเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน และการที่รัฐบาลอาจไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับดีขึ้นเร็วกว่าคาด แรงกระตุ้นการตัดสินใจบริโภคและลงทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอาจมีมากกว่าคาด โดยเฉพาะเมื่อความไม่แน่นอนต่างๆ คลี่คลายลง และอุปสงค์ต่างประเทศที่อาจชะลอลงน้อยกว่าคาด ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 98.7 ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4-5 และมีโอกาสร้อยละ 92.2 ที่เศรษฐกิจในปี 2551 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-6
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาพืชผลเกษตร และการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าเมื่ออุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว หลังจากที่ผู้ประกอบการได้แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไว้เองนานแล้ว อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ค่าเงินบาทที่โน้มแข็งขึ้น และมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่ากรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสร้อยละ 96.9 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ใน ช่วงร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 2550 และมีโอกาสร้อยละ 89.6 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1-2.5 ในปี 2551 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คณะกรรมการฯ คาดว่ามีโอกาสร้อยละ 99.7 ที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.8-1.5 ในปี 2550 ต่ำกว่า ช่วงประมาณการเดิมเล็กน้อย และมีโอกาสร้อยละ 85.9 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1-2 ในปี 2551
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนตัวต่อเนื่องท่ามกลางความเชื่อมั่นที่เปราะบาง รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังไม่ได้ เร่งตัวเต็มที่ ส่วนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่อุปสงค์ในประเทศที่ซบเซาทำให้การส่งผ่านมีจำกัด คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 4.00 ต่อปีเป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยยังสามารถดูแลแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มมีสัญญาณกระเตื้องขึ้นบ้างในเดือนเมษายน และพฤษภาคม แต่ก็ยังเปราะบาง เพราะ ความเชื่อมั่นยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีต่ำกว่าที่คาดทั้งที่ราคาน้ำมันโลกปรับสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการใช้จ่ายของภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ คณะกรรมการฯ จึงประเมินว่าความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ยังต้องการแรงกระตุ้นเพื่อให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันลง จากร้อยละ 3.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี
* 2539 = 100 โดยประกอบด้วยน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ก๊าซรถยนต์ น้ำมันเตา และน้ำมันก๊าด โดยมีน้ำหนักประมาณ 19.3 46.8 8.3 25.4 และ 0.2 ตามลำดับ
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เท่ากับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัว แต่การส่งออกขยายตัวดีและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการเร่งตัวของการอุปโภคบริโภคภาครัฐ
ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนเมษายน และพฤษภาคม สะท้อนว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น กล่าวคือ ดัชนีการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปี โดยเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มมีความชัดเจน แรงกระตุ้นจากภาครัฐ และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำซึ่งช่วยรักษากำลังซื้อของประชาชน รวมทั้งนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งเมื่อประกอบกับการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี จึงเป็นสัญญาณที่ดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาปรับลดลงอีกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 จากราคาอาหารสดที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ยังต่ำกว่า ช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาในตลาดโลกสูงขึ้น ประกอบกับภาวะอุปสงค์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การปรับราคาสินค้าจึงทำได้ยากแม้ว่าจะมีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองฯ (คปค.) ฉบับที่ 8 ที่ให้ระงับการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการทุกประเภทไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.9 และ 0.8 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังไม่ได้ส่งผลกระทบสำคัญต่อฐานะการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน แม้ว่า ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจลดลง และการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นบ้าง อนึ่ง นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน ซึ่งเมื่อพิจารณาควบคู่ไปกับความสามารถในการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และสัญญาณที่เป็นบวกในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เสถียรภาพโดยรวมของระบบเศรษฐกิจการเงินไม่น่าเป็นห่วง
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เกินดุลค่อนข้างสูง เป็นผลจากทั้งการส่งออกที่ขยายตัวดีและการนำเข้าที่ชะลอตัวตามอุปสงค์ในประเทศ สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลน้อยลงจากการนำเข้าวัตถุดิบที่ยังขยายตัวได้ดีตามการส่งออก และการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น ขณะที่ดุลบริการมีแนวโน้ม ขาดดุลตามปัจจัยฤดูกาล ได้แก่ การจ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผล ทำให้ในภาพรวมดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลน้อยลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังคงเกินดุลอย่างต่อเนื่องเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้นใน ช่วงที่ผ่านมา
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 63.8 และ 65.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เป็นผลมาจากอุปสงค์ต่อการใช้น้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปทานไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่าที่คาดไว้ และความเสี่ยงด้านการเมืองในประเทศผู้ค้าน้ำมันที่มี มากขึ้น ส่วนดัชนีราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ* ซึ่งเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 292.3 และ 290.3 ตามลำดับปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาในตลาดโลก เพราะค่าเงินบาทแข็ง
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกใกล้เคียงเดิม สอดคล้องกับประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ ณ ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปตลอดช่วงประมาณการ ต่างจากครั้งก่อนที่คาดว่าจะมีการปรับลด เนื่องจากล่าสุดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีมากขึ้น
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 - 2551 ปรับดีขึ้นกว่าข้อสมมติใน รายงานฉบับก่อนเล็กน้อย จากเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรปที่ปรับดีขึ้น ซึ่งจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
5. ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมากกว่าข้อสมมติเดิม
6. ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ ข้อสมมติการลงทุนของภาครัฐปรับลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากการปรับโครงสร้างสัดส่วนงบประมาณใหม่
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐาน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่มีความไม่แน่นอนเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน และการที่รัฐบาลอาจไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับดีขึ้นเร็วกว่าคาด แรงกระตุ้นการตัดสินใจบริโภคและลงทุนจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอาจมีมากกว่าคาด โดยเฉพาะเมื่อความไม่แน่นอนต่างๆ คลี่คลายลง และอุปสงค์ต่างประเทศที่อาจชะลอลงน้อยกว่าคาด ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 98.7 ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4-5 และมีโอกาสร้อยละ 92.2 ที่เศรษฐกิจในปี 2551 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-6
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาพืชผลเกษตร และการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าเมื่ออุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว หลังจากที่ผู้ประกอบการได้แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไว้เองนานแล้ว อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด ค่าเงินบาทที่โน้มแข็งขึ้น และมาตรการกำกับดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่ากรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสร้อยละ 96.9 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ใน ช่วงร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 2550 และมีโอกาสร้อยละ 89.6 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1-2.5 ในปี 2551 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คณะกรรมการฯ คาดว่ามีโอกาสร้อยละ 99.7 ที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.8-1.5 ในปี 2550 ต่ำกว่า ช่วงประมาณการเดิมเล็กน้อย และมีโอกาสร้อยละ 85.9 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1-2 ในปี 2551
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนตัวต่อเนื่องท่ามกลางความเชื่อมั่นที่เปราะบาง รวมทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ยังไม่ได้ เร่งตัวเต็มที่ ส่วนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่อุปสงค์ในประเทศที่ซบเซาทำให้การส่งผ่านมีจำกัด คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 4.00 ต่อปีเป็นร้อยละ 3.50 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยยังสามารถดูแลแรงกดดันต่อเงินเฟ้อได้
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มมีสัญญาณกระเตื้องขึ้นบ้างในเดือนเมษายน และพฤษภาคม แต่ก็ยังเปราะบาง เพราะ ความเชื่อมั่นยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีต่ำกว่าที่คาดทั้งที่ราคาน้ำมันโลกปรับสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการใช้จ่ายของภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ คณะกรรมการฯ จึงประเมินว่าความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ยังต้องการแรงกระตุ้นเพื่อให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อลดลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันลง จากร้อยละ 3.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี
* 2539 = 100 โดยประกอบด้วยน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ก๊าซรถยนต์ น้ำมันเตา และน้ำมันก๊าด โดยมีน้ำหนักประมาณ 19.3 46.8 8.3 25.4 และ 0.2 ตามลำดับ
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--