แท็ก
โรงแรมคอนราด
กรุงเทพ--9 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ประเทศไทยมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจีน
วันที่ 7 สิงหาคม 2550 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย ได้เป็นตัวแทนในพิธีมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเช็คเงินสดจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 7 ล้านบาท) แก่นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์
ในการนี้ เลขาธิการสภากาชาดไทยได้มีหนังสือถึงมาดาม Peng Peiyung ประธานสภากาชาดจีนเพื่ออันเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงแสดงความเสียใจและห่วงใยต่อประชาชนจีนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเอกอัครราชทูตจีนได้กล่าวขอบคุณในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวจีนที่ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือในฐานะมิตรประเทศ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความผูกพันอันใกล้ชิดของทั้งสองประเทศที่มีต่อกันตลอดมา
2. บัวแก้วจัดโครงการนำนักศึกษาไทยมุสลิมไปเยือนประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 2
กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ นำเยาวชนจากจังหวัดภาคใต้ รุ่นที่ 2 จำนวน 60 คน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล สงขลา) อายุประมาณ 15 — 18 ปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการและ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปทัศนศึกษา ณ เมืองปีนัง และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 5 — 14 สิงหาคม 2550
ระหว่างการทัศนศึกษา เยาวชนมีกำหนดการรับฟังบรรยายสรุปและเยี่ยมชมสถานศึกษาต่าง ๆ ของมาเลเซีย ทั้งโรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนที่มีการสอนศาสนาและดำเนินการเรียนการสอนสายสามัญควบคู่กัน มหาวิทยาลัยที่สอนวิชาสามัญ และมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ รวมทั้งทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ เมืองปุตราจายา พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ และเข้าเยี่ยมคาราวะเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง เป็นต้น
โครงการนำเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เยือนประเทศมาเลเซียนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศตามดำริของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสการเยือนมาเลเซียเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 โดยโครงการแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 — 26 มกราคม 2550 และมีเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมโครงการฯ จำนวน 30 คน
กระทรวงการต่างประเทศหวังว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงในระดับเยาวชน และเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย และได้ศึกษาเรียนรู้นโยบายโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลมาเลเซียในการบูรณาการการศึกษาวิชาศาสนาเข้ากับการศึกษาวิชาอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
3. ยูเออีรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลไทย และอนุญาตให้นำเข้าไก่ต้มสุกของไทย
รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ได้ประกาศรับรองสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประจำกรุงเทพฯ เพื่อออกตราฮาลาลสำหรับอาหารที่จะส่งออกไปยังยูเออี และให้การรับรองโรงฆ่าไก่และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สุกซึ่งได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประจำกรุงเทพฯ จำนวน 24 และ 36 แห่งตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ต้มสุกไปยังยูเออีได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม เป็นต้นไป ส่วนเนื้อไก่แช่แข็งจะนำเข้าได้ต่อเมื่อฝ่ายยูเออีมีประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทย
ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากความร่วมมือและการผลักดันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ยูเออีได้ใช้ระเบียบใหม่เกี่ยวกับระบบ/มาตรการในการตรวจสอบองค์กรผู้รับรอง/มาตรฐานการรับรองฮาลาลของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ ที่จำเป็นต้องมีการรับรองฮาลาลเพื่อนำเข้ามายังยูเออี ซึ่งส่งผลให้ไทยไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลได้จนถึงปัจจุบันเนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่
ก่อนที่รัฐบาลยูเออี จะออกประกาศดังกล่าว เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงของสภาเทศบาลยูเออี ผู้เชี่ยวชาญและผู้ตรวจการความปลอดภัยด้านอาหารจากสภาเทศบาล ยูเออี เดินทางมาประเทศไทยเพื่อตรวจสอบองค์กรและการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทย รวมทั้งเยี่ยมชมโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหารของเอกชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันมาตรฐานอาหารคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งการเยือนในครั้งนี้ผนวกกับการผลักดันและความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยส่งผลให้ยูเออีมีมติรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทย และอนุญาตให้นำเข้าไก่ต้มสุกของไทยดังกล่าวแล้วข้างต้น
ประเทศยูเออีเป็นตลาดส่งออกอาหารฮาลาลที่สำคัญ และเป็นศูนย์ส่งออกสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคไปยังประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศในเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งมีหลายประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ความสำเร็จของประเทศไทยในครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” และเป็นศูนย์ส่งออกอาหาร ฮาลาล รวมทั้งยังเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจต่อประชาคมโลกมุสลิม โดยเป็นการขยายสินค้าอาหารฮาลาลซึ่งไทยมี niche market และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์รายประเทศในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทย — ยูเออี
4. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Miraikan จัดงานสัปดาห์ไทย ณ กรุงโตเกียว
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งอนาคต หรือ Miraikan จัดงานสัปดาห์ไทย ระหว่างวันที่ 4 — 12 สิงหาคม 2550 ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — ญี่ปุ่น และการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 12 สิงหาคม 2550
ภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลาย อาทิ นิทรรศการความสัมพันธ์ ไทย — ญี่ปุ่น การแสดงดนตรีไทยโดยนักเรียนญี่ปุ่น การแสดงนาฏศิลป์ไทยโดยกลุ่มเยาวชนไทยจากโครงการแฟนต้ายุวทูต การแนะนำเลขไทย การใส่ชุดไทยถ่ายรูปที่ระลึก การฉายภาพยนตร์เรื่อง”ก้านกล้วย” การฉาย วีดีทัศน์แนะนำประเทศไทย การทำบัตรอวยพรวันแม่ พร้อมรับดอกมะลิประดิษฐ์เพื่อนำไปมอบให้คุณแม่ตามประเพณีไทย เป็นต้น
การจัดงานสัปดาห์ไทยร่วมกับพิพิธภัณฑ์ Miraikan ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแสดงด้านวัฒนธรรมไทยในพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 20,000 คน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ซึ่งตรงกับช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่น
5. กระทรวงการต่างประเทศแนะนำเว็บไซต์ www.ThaiEurope.net เว็บไซต์ที่ ‘กรอง’ ยุโรปจากมุมมองของคนไทยเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศไทยอย่างแท้จริง
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์และคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ได้จัดทำเว็บไซต์ www.thaieurope.net เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับยุโรปและสหภาพยุโรปในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การเมือง การต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การศึกษา ฯลฯ
เว็บไซต์ Thaieurope.net จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ Intelligence Monitoring and Early Warning Unit ของกระทรวงการต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตามและจับตายุทธศาสตร์ นโยบาย กฎระเบียบ และความเคลื่อนไหวของสหภาพยุโรปและภูมิภาคยุโรปที่มีผลกระทบต่อไทย 2) แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 3) นำเสนอบทวิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก และ 4) เป็นศูนย์รวมข้อมูลหลักของไทยเกี่ยวกับยุโรปและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ เว็บไซต์ดังกล่าวได้จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือบูรณาการระหว่างสถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานราชการไทยในยุโรปทุกแห่ง โดยมีทีมประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ เป็นผู้ประสานงานหลัก
www.thaieurope.net เปรียบเสมือนประตู (gateway) สู่แหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์สำหรับคนไทยทุกแวดวง โดยเฉพาะผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทย ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะช่วยจับตา/สอดส่องดูแลความเคลื่อนไหว ช่วย เตือนภัยล่วงหน้าในประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของไทยในสหภาพยุโรป พร้อมทั้งช่วยกลั่นกรอง/วิเคราะห์/เจาะลึกเกี่ยวกับยุโรปในทุกมิติ
6. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการแปลและตรวจสอบคำแปล เอกสารให้คตส.
กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนแก่ คตส. อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในการดำเนินการแปลและตรวจสอบคำแปลเอกสารที่ คตส. จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยกระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญกับความเร่งด่วนของการดำเนินการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดตั้งคณะทำงานแปลขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จำนวน 26 คน เพื่อให้ความร่วมมือกับ คตส. เท่าที่จะกระทำได้ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรของกระทรวงฯ และโดยที่เอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นเอกสารที่มีนัยทางกฎหมายซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้อ้างอิง การดำเนินการของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปอย่างละเอียดถี่ถ้วนและมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ทั้งนี้ ขั้นตอนการแปลเอกสารจะต้องทำด้วยความรอบคอบ กล่าวคือ คณะทำงานจะทำการแปลร่างแรกในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงค้นหาข้อมูลและคำแปลเฉพาะเพื่อแก้ไขรอบที่สอง จากนั้น จึงทำการตรวจสอบคำแปลอีกครั้งเพื่อให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกันมากที่สุด ซึ่งกระทรวงฯ จะใช้บุคลากร 2 คน/หน้า ในการตรวจสอบเอกสาร
สำหรับเอกสารดังกล่าว กระทรวงฯ ได้ดำเนินการแปลไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 466 หน้า ยังมีเอกสารค้างรอแปลอยู่อีก 29 หน้า และเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงฯ ได้รับเอกสารเพิ่มเติมจาก คตส.เพื่อขอให้แปลอีกเป็นจำนวน 1,442 หน้า
อนึ่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่ในการรับรองเอกสารและลายมือชื่อเพื่อให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถนำไปใช้ต่อไปได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไป กระทรวงฯ จะทำหน้าที่แปลเฉพาะสนธิสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น
ภายหลังการแถลงข่าว นายธฤตฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
? กรณีสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ มีหนังสือกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องชาวม้งลาว
โดยหลักการ ม้งลาวเหล่านี้ส่วนใหญ่เดินทางเข้าประเทศไทยเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและกระทำผิดกฎหมายการเข้าเมืองของไทย ซึ่งตามหลักการและกฎหมายของไทยนั้น รัฐบาลไทยจะส่งผู้กระทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองกลับภูมิลำเนา ซึ่งในกรณีของม้งลาวกลุ่มนี้ก็มีลักษณะเดียวกัน ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 8,000 คน
ที่ผ่านมา ไทยได้ดูแลกลุ่มคนเหล่านี้โดยยึดหลักมนุษยธรรม และการดำเนินการต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องป้องกันปัจจัยดึงดูง (pull — factor) เพื่อมิให้มีการหลบหนีเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนและจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ขัดต่อหลักปฏิบัติสากลหรือความรับผิดชอบที่มีต่อองค์การระหว่างประเทศ
ปัจจุบัน มีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติต่าง ๆ กว่า 150,000 คน อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดน กรณีชาวม้งลาวที่จังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งกำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้นั้น ข้อมูลทางราชการระบุว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้โยกย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากม้งลาวที่ลี้ภัยสงครามเย็นในช่วงศตวรรษที่ 70 ที่ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ถ้ำกระบอก ม้งลาวชุดใหม่นี้ผู้ประสบภัยทางการเมืองอย่างแท้จริงอาจมีจำนวนน้อยมาก ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้จัดตั้งกลไกคัดกรอง (screening mechanism) เพื่อพิจารณาสถานะและคัดแยกประเภทของชาวม้งลาวเหล่านี้อย่างเป็นระบบ โดยใช้เหตุผลด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความปลอดภัยในการดำรงชีพ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากพบว่าเป็นผู้หนีภัยทางการเมืองจริง ก็จะไม่ดำเนินการส่งตัวกลับภูมิลำเนา
ทางการไทยมิได้ดำเนินการในลักษณะบังคับผลักดัน ในการส่งตัวชาวม้งลาวที่หลบหนีเข้ามายังประเทศไทยด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจกลับไปยังภูมิลำเนา แต่ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และยืนยันได้ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ประเทศไทยมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจีน
วันที่ 7 สิงหาคม 2550 นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย ได้เป็นตัวแทนในพิธีมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเช็คเงินสดจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 7 ล้านบาท) แก่นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ตามที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์
ในการนี้ เลขาธิการสภากาชาดไทยได้มีหนังสือถึงมาดาม Peng Peiyung ประธานสภากาชาดจีนเพื่ออันเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงแสดงความเสียใจและห่วงใยต่อประชาชนจีนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเอกอัครราชทูตจีนได้กล่าวขอบคุณในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวจีนที่ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือในฐานะมิตรประเทศ อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความผูกพันอันใกล้ชิดของทั้งสองประเทศที่มีต่อกันตลอดมา
2. บัวแก้วจัดโครงการนำนักศึกษาไทยมุสลิมไปเยือนประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 2
กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน กระทรวงการต่างประเทศ นำเยาวชนจากจังหวัดภาคใต้ รุ่นที่ 2 จำนวน 60 คน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล สงขลา) อายุประมาณ 15 — 18 ปี ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการและ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ไปทัศนศึกษา ณ เมืองปีนัง และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 5 — 14 สิงหาคม 2550
ระหว่างการทัศนศึกษา เยาวชนมีกำหนดการรับฟังบรรยายสรุปและเยี่ยมชมสถานศึกษาต่าง ๆ ของมาเลเซีย ทั้งโรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนที่มีการสอนศาสนาและดำเนินการเรียนการสอนสายสามัญควบคู่กัน มหาวิทยาลัยที่สอนวิชาสามัญ และมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ รวมทั้งทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ เมืองปุตราจายา พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ และเข้าเยี่ยมคาราวะเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง เป็นต้น
โครงการนำเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เยือนประเทศมาเลเซียนี้จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศตามดำริของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสการเยือนมาเลเซียเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 โดยโครงการแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 — 26 มกราคม 2550 และมีเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมโครงการฯ จำนวน 30 คน
กระทรวงการต่างประเทศหวังว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงในระดับเยาวชน และเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในมาเลเซีย และได้ศึกษาเรียนรู้นโยบายโดยเฉพาะด้านการศึกษาของรัฐบาลมาเลเซียในการบูรณาการการศึกษาวิชาศาสนาเข้ากับการศึกษาวิชาอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
3. ยูเออีรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลไทย และอนุญาตให้นำเข้าไก่ต้มสุกของไทย
รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ได้ประกาศรับรองสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประจำกรุงเทพฯ เพื่อออกตราฮาลาลสำหรับอาหารที่จะส่งออกไปยังยูเออี และให้การรับรองโรงฆ่าไก่และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่สุกซึ่งได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประจำกรุงเทพฯ จำนวน 24 และ 36 แห่งตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ต้มสุกไปยังยูเออีได้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม เป็นต้นไป ส่วนเนื้อไก่แช่แข็งจะนำเข้าได้ต่อเมื่อฝ่ายยูเออีมีประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทย
ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากความร่วมมือและการผลักดันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ยูเออีได้ใช้ระเบียบใหม่เกี่ยวกับระบบ/มาตรการในการตรวจสอบองค์กรผู้รับรอง/มาตรฐานการรับรองฮาลาลของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ ที่จำเป็นต้องมีการรับรองฮาลาลเพื่อนำเข้ามายังยูเออี ซึ่งส่งผลให้ไทยไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลได้จนถึงปัจจุบันเนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนใหม่
ก่อนที่รัฐบาลยูเออี จะออกประกาศดังกล่าว เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงของสภาเทศบาลยูเออี ผู้เชี่ยวชาญและผู้ตรวจการความปลอดภัยด้านอาหารจากสภาเทศบาล ยูเออี เดินทางมาประเทศไทยเพื่อตรวจสอบองค์กรและการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทย รวมทั้งเยี่ยมชมโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหารของเอกชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันมาตรฐานอาหารคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันวิทยาศาสตร์อาหารฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งการเยือนในครั้งนี้ผนวกกับการผลักดันและความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยส่งผลให้ยูเออีมีมติรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทย และอนุญาตให้นำเข้าไก่ต้มสุกของไทยดังกล่าวแล้วข้างต้น
ประเทศยูเออีเป็นตลาดส่งออกอาหารฮาลาลที่สำคัญ และเป็นศูนย์ส่งออกสินค้าที่สำคัญในภูมิภาคไปยังประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศในเครือรัฐเอกราช (CIS) ซึ่งมีหลายประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ความสำเร็จของประเทศไทยในครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็น “ครัวของโลก” และเป็นศูนย์ส่งออกอาหาร ฮาลาล รวมทั้งยังเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจต่อประชาคมโลกมุสลิม โดยเป็นการขยายสินค้าอาหารฮาลาลซึ่งไทยมี niche market และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์รายประเทศในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทย — ยูเออี
4. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Miraikan จัดงานสัปดาห์ไทย ณ กรุงโตเกียว
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ร่วมกับพิพิธภัณฑ์นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งอนาคต หรือ Miraikan จัดงานสัปดาห์ไทย ระหว่างวันที่ 4 — 12 สิงหาคม 2550 ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย — ญี่ปุ่น และการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 12 สิงหาคม 2550
ภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลาย อาทิ นิทรรศการความสัมพันธ์ ไทย — ญี่ปุ่น การแสดงดนตรีไทยโดยนักเรียนญี่ปุ่น การแสดงนาฏศิลป์ไทยโดยกลุ่มเยาวชนไทยจากโครงการแฟนต้ายุวทูต การแนะนำเลขไทย การใส่ชุดไทยถ่ายรูปที่ระลึก การฉายภาพยนตร์เรื่อง”ก้านกล้วย” การฉาย วีดีทัศน์แนะนำประเทศไทย การทำบัตรอวยพรวันแม่ พร้อมรับดอกมะลิประดิษฐ์เพื่อนำไปมอบให้คุณแม่ตามประเพณีไทย เป็นต้น
การจัดงานสัปดาห์ไทยร่วมกับพิพิธภัณฑ์ Miraikan ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดแสดงด้านวัฒนธรรมไทยในพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 20,000 คน ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ซึ่งตรงกับช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่น
5. กระทรวงการต่างประเทศแนะนำเว็บไซต์ www.ThaiEurope.net เว็บไซต์ที่ ‘กรอง’ ยุโรปจากมุมมองของคนไทยเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศไทยอย่างแท้จริง
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์และคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ได้จัดทำเว็บไซต์ www.thaieurope.net เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับยุโรปและสหภาพยุโรปในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การเมือง การต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การศึกษา ฯลฯ
เว็บไซต์ Thaieurope.net จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ Intelligence Monitoring and Early Warning Unit ของกระทรวงการต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตามและจับตายุทธศาสตร์ นโยบาย กฎระเบียบ และความเคลื่อนไหวของสหภาพยุโรปและภูมิภาคยุโรปที่มีผลกระทบต่อไทย 2) แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า 3) นำเสนอบทวิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก และ 4) เป็นศูนย์รวมข้อมูลหลักของไทยเกี่ยวกับยุโรปและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ เว็บไซต์ดังกล่าวได้จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือบูรณาการระหว่างสถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานราชการไทยในยุโรปทุกแห่ง โดยมีทีมประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ เป็นผู้ประสานงานหลัก
www.thaieurope.net เปรียบเสมือนประตู (gateway) สู่แหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์สำหรับคนไทยทุกแวดวง โดยเฉพาะผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทย ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะช่วยจับตา/สอดส่องดูแลความเคลื่อนไหว ช่วย เตือนภัยล่วงหน้าในประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของไทยในสหภาพยุโรป พร้อมทั้งช่วยกลั่นกรอง/วิเคราะห์/เจาะลึกเกี่ยวกับยุโรปในทุกมิติ
6. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับการแปลและตรวจสอบคำแปล เอกสารให้คตส.
กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนแก่ คตส. อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในการดำเนินการแปลและตรวจสอบคำแปลเอกสารที่ คตส. จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยกระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญกับความเร่งด่วนของการดำเนินการดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดตั้งคณะทำงานแปลขึ้นชุดหนึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จำนวน 26 คน เพื่อให้ความร่วมมือกับ คตส. เท่าที่จะกระทำได้ภายใต้ข้อจำกัดด้านบุคลากรของกระทรวงฯ และโดยที่เอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นเอกสารที่มีนัยทางกฎหมายซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำไปใช้อ้างอิง การดำเนินการของเจ้าหน้าที่จึงต้องเป็นไปอย่างละเอียดถี่ถ้วนและมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ทั้งนี้ ขั้นตอนการแปลเอกสารจะต้องทำด้วยความรอบคอบ กล่าวคือ คณะทำงานจะทำการแปลร่างแรกในเบื้องต้นก่อน แล้วจึงค้นหาข้อมูลและคำแปลเฉพาะเพื่อแก้ไขรอบที่สอง จากนั้น จึงทำการตรวจสอบคำแปลอีกครั้งเพื่อให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกันมากที่สุด ซึ่งกระทรวงฯ จะใช้บุคลากร 2 คน/หน้า ในการตรวจสอบเอกสาร
สำหรับเอกสารดังกล่าว กระทรวงฯ ได้ดำเนินการแปลไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 466 หน้า ยังมีเอกสารค้างรอแปลอยู่อีก 29 หน้า และเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงฯ ได้รับเอกสารเพิ่มเติมจาก คตส.เพื่อขอให้แปลอีกเป็นจำนวน 1,442 หน้า
อนึ่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่ในการรับรองเอกสารและลายมือชื่อเพื่อให้เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถนำไปใช้ต่อไปได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งโดยทั่วไป กระทรวงฯ จะทำหน้าที่แปลเฉพาะสนธิสัญญาระหว่างประเทศเท่านั้น
ภายหลังการแถลงข่าว นายธฤตฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
? กรณีสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ มีหนังสือกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องชาวม้งลาว
โดยหลักการ ม้งลาวเหล่านี้ส่วนใหญ่เดินทางเข้าประเทศไทยเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและกระทำผิดกฎหมายการเข้าเมืองของไทย ซึ่งตามหลักการและกฎหมายของไทยนั้น รัฐบาลไทยจะส่งผู้กระทำความผิดกฎหมายเข้าเมืองกลับภูมิลำเนา ซึ่งในกรณีของม้งลาวกลุ่มนี้ก็มีลักษณะเดียวกัน ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 8,000 คน
ที่ผ่านมา ไทยได้ดูแลกลุ่มคนเหล่านี้โดยยึดหลักมนุษยธรรม และการดำเนินการต่าง ๆ ได้ดำเนินการตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องป้องกันปัจจัยดึงดูง (pull — factor) เพื่อมิให้มีการหลบหนีเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชนและจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ขัดต่อหลักปฏิบัติสากลหรือความรับผิดชอบที่มีต่อองค์การระหว่างประเทศ
ปัจจุบัน มีผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติต่าง ๆ กว่า 150,000 คน อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวตามแนวชายแดน กรณีชาวม้งลาวที่จังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งกำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้นั้น ข้อมูลทางราชการระบุว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้โยกย้ายถิ่นฐานด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากม้งลาวที่ลี้ภัยสงครามเย็นในช่วงศตวรรษที่ 70 ที่ปัจจุบันพำนักอยู่ที่ถ้ำกระบอก ม้งลาวชุดใหม่นี้ผู้ประสบภัยทางการเมืองอย่างแท้จริงอาจมีจำนวนน้อยมาก ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้จัดตั้งกลไกคัดกรอง (screening mechanism) เพื่อพิจารณาสถานะและคัดแยกประเภทของชาวม้งลาวเหล่านี้อย่างเป็นระบบ โดยใช้เหตุผลด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความปลอดภัยในการดำรงชีพ เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากพบว่าเป็นผู้หนีภัยทางการเมืองจริง ก็จะไม่ดำเนินการส่งตัวกลับภูมิลำเนา
ทางการไทยมิได้ดำเนินการในลักษณะบังคับผลักดัน ในการส่งตัวชาวม้งลาวที่หลบหนีเข้ามายังประเทศไทยด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจกลับไปยังภูมิลำเนา แต่ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง และยืนยันได้ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-