1. การผลิต ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 และ 7.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศในสินค้าอาหารทะเลและปริมาณมันสำปะหลังเลื่อนเวลาเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 10.4 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 เป็นผลจากผลผลิตสับปะรดมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากระดับราคาที่สูงขึ้นในปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และ ธัญพืช ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสก่อน ตามฤดูกาล และเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากปัญหาไข้หวัดนก และสามารถ ส่งออกไก่ต้มสุกได้เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ประกอบกับได้เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรปและอาฟริกา ส่งผลให้ปริมาณส่งออกไก่ต้มสุกของไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาไก่เป็นหน้าฟาร์มขยับสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงไก่มากขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวการปรับโควตาภาษีสินค้าไก่ของ EU ที่ส่งผลด้านจิตวิทยาต่อการเร่งทำประวัตินำเข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณโควตาในปีต่อไป ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์แปรรูป และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการคืน GSP กุ้งไทยของสหภาพยุโรป และข่าวการยื่นฟ้อง WTO ต่อสหรัฐฯ กรณีการเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้ากุ้งสู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้มีการเร่งนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อปริมาณการผลิตสินค้าแปรรูปประมงในภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 9.8 ส่วนน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน ลดลงร้อยละ 4.3 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2548 อัตราการผลิตของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เป็นผลจากปาล์ม น้ำมันมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร 9 เดือนของปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า (ไม่รวมน้ำตาล) ประมาณร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หากรวมน้ำตาล การผลิตขยายตัวประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก เช่น ประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 จากการได้คืนสิทธิ์ GSP ในสินค้าประมง และข่าวการระบาดของไข้หวัดนกในสหภาพยุโรปยังส่งผลต่อการส่งออกไก่แปรรูปที่ทำให้กลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 นอกจากนี้ผลจากการทำ FTA กับจีน ทำให้ความต้องการในสินค้าผักผลไม้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการผลิตที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีเพียงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการบริโภคอาหารสำเร็จรูปประเภทอื่นๆ ที่มีทั้งความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และปริมาณมากขึ้นทดแทน 2. การตลาด 2.1 ตลาดในประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากปัจจัยด้านความต้องการในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ และกลุ่มน้ำมันพืชขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ปลอดจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคสินค้าไก่มากขึ้น และมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปพร้อมรับประทาน ส่งผลให้ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาขยับตัวสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารสัตว์จึงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มตึงตัวทำให้ยอดการจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าแปรรูปประมงมีความต้องการบริโภคสูงจากราคากุ้งขาวที่ปรับตัวลดลงจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดมากของกุ้งขนาดเล็กและกลาง เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งวิตกกับข่าวการระบาดของโรคจากเชื้อไวรัส จึงเร่งจับขายแทนที่จะเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่ที่เสี่ยงสูงกว่า โดยทั้งกลุ่มประมงมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 19.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่ายลดลง ตามปริมาณการผลิตที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ลดลงร้อยละ 33.2 และน้ำตาล ลดลงร้อยละ 16.6 จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่าง 9 เดือนของปี 48 และ 49 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนเพียงร้อยละ 5.3 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวด สินค้า แม้ว่าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 12 ผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 11.7 และปศุสัตว์ร้อยละ 4.3 แต่ประชาชนก็มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจดีขึ้น โดยมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงในช่วงเวลานี้ 2.2 ตลาดต่างประเทศ 1) การส่งออก ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 110,575.5 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของปริมาณและมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของตลาดหลัก เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และอาเซียน ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2548 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้ - กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 51,620.5 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 จากไตรมาสก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 4.2 และอาหารทะเลกระป๋อง ร้อยละ 7.1 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 เป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งที่ลดลงร้อยละ 7.1 โดยสินค้าในหมวดส่วนใหญ่ส่งออกลดลง มีเพียงกุ้งที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้นจากเกือบทุกตลาด เนื่องจากความเชื่อถือในคุณภาพและการปลอดสารตกค้าง - กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 17,727.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากล ทำให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดที่ใช้ในการผลิตผลไม้กระป๋องมากที่สุด มีปริมาณผลผลิตมากขึ้น และมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นตลอด 9 เดือนปี 2549 ร้อยละ 17.5 และเมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 - กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 7,641.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.9 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อมีการชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 3 เป็นไปตามฤดูกาล ประกอบกับข่าวโรคระบาดไก่ในทวีปอาฟริกาและยุโรป ได้คลี่คลายลงไป แหล่งนำเข้าภายใน EU เริ่มกลับมาผลิตได้ และข่าวการที่ EUอยู่ระหว่างพิจารณาปรับอัตราโควตาภาษีไก่ทั้งระบบ โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น จากการที่องค์การการค้าโลกตัดสินให้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าไก่หมักเกลือที่ไทยและบราซิลยื่นฟ้อง นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยที่เป็นการขยายตัวของการส่งออกไก่แปรรูปถึงร้อยละ 9.9 - กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 17,407 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8 จากไตรมาสก่อน เป็นผลจากแป้งมันสำปะหลังมีปริมาณส่งออกลดลง จากการเร่งส่งออกในช่วงไตรมาสก่อน และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และแป้งข้าวเจ้า และหากเปรียบเทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 - กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 10,198.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.9 เป็นผลจากอุปทานที่เลื่อนการเข้าโรงหีบเพราะประสบปัญหาภาวะภัยแล้งในปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือน ปี 2549 และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 15.9 - กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 5,980.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากการส่งออกลดลงในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ร้อยละ 68 สิ่งปรุงรสอาหาร ร้อยละ 11.7 และเครื่องเทศและสมุนไพรอัตราร้อยละ 9.8 และหากเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่าการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 แต่เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของกลุ่มลดลงร้อยละ 7.2 โดยเป็นผลจากการส่งออกไขมันประเภทต่างๆ ลดลงร้อยละ 17 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 19.3 และซุปและอาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 16.6 2) การนำเข้า การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 42,962.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.8(ตารางที่ 4) เมื่อพิจารณาการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 และตลอด 9 เดือนปี 2549 ขยายตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.6 เป็นผลจากการลดการนำเข้าธัญพืชและพืชน้ำมันเกือบทุกรายการ โดยเฉพาะถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง เนื่องจากระดับราคาต่างประเทศสูงขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในอัตราร้อยละ 14.1 โดยมีการนำผักผลไม้ จากการทำ FTA กับจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 และนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื่องจากเป็นการขยายตลาดแฟรนไชส์ในสินค้าประเภทขนมปังจากประเทศในอาเซียน เช่น โรตีบอย โรตีมัม เดอะบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 3. นโยบายของภาครัฐ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เนื่องจากอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลจึงไม่ได้ประกาศหรือดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารมากนัก ส่วนใหญ่เป็นการเฝ้าระวังและกำหนดมาตรการรองรับกรณีเกิดปัญหาการผลิตและการค้า เช่น การเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์เศรษฐกิจ การเจรจาและดำเนินการตามที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด เช่น การตรวจรับรองโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร การตั้งทีมงานรองรับการตั้งข้อกีดกันทางการค้า เช่น การติดตามการพิจารณาปรับโควตาภาษีสินค้าไก่ของ EU การยื่นฟ้องต่อ WTO กรณีการตั้งสำรองพันธบัตรนำเข้ากุ้งและเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐซ้ำซ้อน 4. สรุปและแนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง แม้ว่าระดับค่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2549 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่งออกที่ทรงตัวตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การขาดแคลน วัตถุดิบประมง เช่น ปลาทูน่า และกุ้ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ภาวะนิวเคลียร์ในอิหร่านและเกาหลีเหนือ การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าไก่แปรรูปของยุโรปให้เท่ากับที่ผูกพันกับ WTO เพื่อชดเชยให้กับเกษตรกรในกลุ่มจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก และการประกาศมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทอาจส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในรูปของเงินบาทชะลอตัวลงได้ ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ) ไตรมาส3/48 ไตรมาส2/49 ไตรมาส3/49 9 เดือน 9 เดือน ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วง 9 เดือนของปีก่อน ปี 2548 ปี 2549 ปศุสัตว์ 227,093.30 231,212.10 226,754.60 625,048.80 685,352.90 -1.9 -0.1 9.6ประมง 235,528.10 235,819.60 253,916.20 659,145.20 712,215.50 7.7 7.8 8.1ผักผลไม้ 159,002.10 282,091.50 228,119.30 603,567.90 805,207.20 -19.1 43.5 33.4น้ำมันพืช 309,260.30 406,689.10 389,308.20 966,656.30 1,121,014.20 -4.3 25.9 16ผลิตภัณฑ์นม 220,067.60 281,830.60 282,443.60 698,741.00 790,609.10 0.2 28.3 13.1ธัญพืชและแป้ง 414,557.80 387,445.90 545,623.60 1,303,549.50 1,576,021.30 40.8 31.6 20.9อาหารสัตว์ 1,466,587.40 1,568,015.00 1,609,681.20 4,150,103.10 4,665,093.70 2.7 9.8 12.4น้ำตาล 79,802.40 662,191.80 88,630.50 6,173,323.60 6,661,448.50 -86.6 11.1 7.9บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 43,320.70 39,425.70 43,289.50 127,446.10 122,681.10 9.8 -0.1 -3.7รวม 3,155,219.70 4,094,721.30 3,667,766.70 15,307,581.50 17,139,643.50 -10.4 16.2 12รวม 3,075,417.30 3,432,529.50 3,579,136.20 9,134,257.90 10,478,195.00 4.3 16.4 14.7(ไม่รวมน้ำตาล) ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ) ไตรมาส3/48 ไตรมาส2/49 ไตรมาส3/49 9 เดือน 9 เดือน ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วง 9 เดือนของปีก่อน ปี 2548 ปี 2549 ปศุสัตว์ 191,210.90 191,153.10 190,886.90 550,438.10 573,993.10 -0.1 -0.2 4.3ประมง 27,761.10 31,375.70 33,120.10 87,133.40 93,084.50 5.6 19.3 6.8ผักผลไม้ 43,263.60 35,622.20 39,288.20 118,941.70 108,125.90 10.3 -9.2 -9.1น้ำมันพืช 242,927.00 281,590.30 278,086.90 753,684.00 804,362.80 -1.2 14.5 6.7ผลิตภัณฑ์นม 185,497.60 231,632.80 237,118.00 546,943.70 610,966.00 2.4 27.8 11.7ธัญพืชและแป้ง 246,036.80 239,533.80 279,921.60 791,368.20 878,150.00 16.9 13.8 11อาหารสัตว์ 1,349,786.00 1,445,897.10 1,487,231.10 3,832,744.40 4,293,206.80 2.9 10.2 12น้ำตาล 757,586.60 1,065,397.30 958,109.50 3,444,865.20 3,300,623.70 -10.1 26.5 -4.2บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 33,117.10 33,741.60 35,593.20 96,036.80 101,277.60 5.5 7.5 5.5รวม 3,077,186.60 3,555,943.90 3,539,355.60 10,222,155.50 10,763,790.50 -0.5 15 5.3รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 2,319,600.00 2,490,546.70 2,581,246.10 6,777,290.30 7,463,166.80 3.6 11.3 10.1 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) ปี 2548 ปี 2549 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาส เทียบ เทียบระหว่าง ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปี 2549 เดียวกันปีก่อน ไตรมาสก่อน 9เดือนปี49และ48 ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป 52,565.90 46,372.70 51,620.50 129,411.30 139,401.80 -1.8 11.3 7.7 อาหารทะเลกระป๋อง 12,273.80 11,589.80 12,407.80 31,837.60 35,375.80 1.1 7.1 11.1 อาหารทะเลแปรรูป 16,742.10 13,789.50 17,326.40 39,372.40 44,769.40 3.5 25.6 13.7 อาหารสดแช่เย็นแช่แข็ง 23,550.00 20,993.40 21,886.30 58,201.30 59,256.60 -7.1 4.3 1.8 ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป 17,057.70 21,405.00 17,727.20 47,457.00 52,557.00 3.9 -17.2 10.7 ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 4,188.20 4,296.90 4,023.30 9,638.70 10,230.50 -3.9 -6.4 6.1 ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,755.60 1,986.10 1,639.60 5,853.60 5,693.00 -6.6 -17.4 -2.7 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 8,468.70 12,192.70 9,191.80 25,073.40 28,825.00 8.5 -24.6 15 ผักกระป๋องและแปรรูป 2,645.30 2,929.30 2,872.50 6,891.30 7,808.50 8.6 -1.9 13.3 ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป 7,665.40 8,205.00 7,641.20 19,865.50 21,804.00 -0.3 -6.9 9.8 ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 272.4 147.2 177.4 359.7 346.3 -34.9 20.5 -3.7 ไก่แปรรูป 7,363.20 8,028.70 7,434.30 19,468.30 21,395.90 1 -7.4 9.9 ผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช 14,842.70 19,509.40 17,407.00 43,828.90 49,477.00 17.3 -10.8 12.9 ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,510.80 1,535.00 1,632.80 4,153.60 4,409.20 8.1 6.4 6.2 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,588.50 5,387.50 4,693.00 14,608.40 13,969.40 2.3 -12.9 -4.4 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 8,743.30 12,586.80 11,081.20 25,066.90 31,098.40 26.7 -12 24.1 ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย 8,508.50 7,339.70 10,198.70 26,738.00 22,474.70 19.9 39 -15.9 ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 5,067.00 3,475.60 5,980.90 16,361.10 15,188.40 18 72.1 -7.2 เครื่องเทศและสมุนไพร 415.2 431.6 456.1 1,132.00 1,304.50 9.8 5.7 15.2 สิ่งปรุงรสอาหาร 1,667.60 1,936.20 1,863.00 4,765.30 5,288.50 11.7 -3.8 11 นมและผลิตภัณฑ์นม 1,273.00 739 1,044.20 3,929.90 3,169.80 -18 41.3 -19.3 ซุปและอาหารปรุงแต่ง 364.4 213.2 355.4 1,117.60 932.5 -2.5 66.7 -16.6 ไขมันและน้ำมันพืชและสัตว์ 1,346.80 155.6 2,262.20 5,416.30 4,493.10 68 1353.6 -17 รวม 105,707.20 106,307.30 110,575.50 283,661.80 300,902.90 4.6 4 6.1 ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ตารางที่ 4 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย ผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) ปี 2548 ปี 2549 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาส เทียบ เทียบระหว่าง ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปี 2549 เดียวกันปีก่อน ไตรมาสก่อน 9 เดือนปี49และ48 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 33,176.20 30,580.40 30,588.20 86,726.30 85,379.80 0 -7.8 -1 (ยังมีต่อ)