ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนเมษายน 2550 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยด้านอุปทาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนโดยการผลิตเครื่องดื่มเร่งตัวขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกลดลง รายได้ของเกษตรกรชะลอตัวตามราคาพืชผลหลักที่ชะลอลง ภาคบริการขยายตัวจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ส่วนทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากเดือนก่อนตามการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้น ด้านการส่งออกและนำเข้าลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัวต่อเนื่อง เงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาพืชสำคัญชะลอตัวลงโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าความหวานเฉลี่ย ราคากระเทียมและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 37.3 และร้อยละ 35.9 เนื่องจากผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ราคาถั่วเหลืองและถั่วเขียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และร้อยละ 8.6 ตามความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง หอมแดง และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 7.3 ร้อยละ 74.8 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ทางด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เนื่องจากราคาในปีก่อนสูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 จากเกษตรส่วนหนึ่งปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวและถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ส่วนกระเทียม หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดลงร้อยละ 8.7 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 135.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการผลิต Glass Magnetic Disk ที่ลดลงร้อยละ 25.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การผลิตเลนส์กล้องถ่ายรูปและการเจียระไนอัญมณีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ด้านการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทางด้านการผลิตน้ำตาลมีปริมาณ 148.6 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่มีปริมาณการผลิตเพียง 6.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เป็น 302.7 ล้านบาท เร่งตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.3 โดยเพิ่มขึ้นในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิ จังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์
3. ภาคบริการ ขยายตัวจากเดือนก่อนตามฤดูกาล เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปท่องเที่ยวในจังหวัดชายทะเลภาคใต้เนื่องจากได้ท่องเที่ยวภาคเหนือไปแล้วในช่วงงานพืชสวนโลก ขณะที่บางส่วนชะลอการเดินทางเนื่องจากระมัดระวังการใช้จ่าย ด้านนักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ลดลงกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากกังวลในความปลอดภัย อย่างไรก็ดี การเดินทางในเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ส่วนใหญ่เพื่อกลับไปเยี่ยมเยือนบ้านมากกว่าการท่องเที่ยวเหมือนปีที่ผ่านมา เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 เดือนก่อน อัตราการเข้าพักของโรงแรมลดลงจากร้อยละ 45.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เหลือร้อยละ 44.8 และราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือเพียง 989.0 บาทต่อห้องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.1 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามความต้องการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บในหมวดอุตสาหกรรม และหมวดค้าส่งค้าปลีก เป็นสำคัญ ส่วนปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.6 เดือนก่อน แยกเป็นปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 9.9 และร้อยละ 0.3 ต่ำกว่าที่ลดลงเดือนก่อน ด้านปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.4 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 32.8 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีความสนใจในการลงทุนก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และนครสวรรค์ แต่โดยรวมพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือยังคงลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 40.6 เดือนก่อน ส่วนปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.4 ด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 สำหรับการลงทุนเพื่อการผลิตของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เพื่อการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมผลิตเลนส์ในจังหวัดลำพูน และอุตสาหกรรมผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดเชียงใหม่
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 เหลือ 180.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการย้ายการทำพิธีการส่งออกไปด่านอื่นของสินค้าประเภทลวดเคเบิลและชุดสายไฟ ประกอบกับการส่งออกของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า Glass Magnetic Disk และหม้อแปลงไฟฟ้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.6 ร้อยละ 21.8 และร้อยละ 18.0 ตามลำดับ โดยลดลงในทุกตลาดที่สำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง อย่างไรก็ดี การส่งออกเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป
และอัญมณีขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ตามอุปสงค์จากประเทศจีนและอิสราเอลที่สูงขึ้น ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็น 46.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.0 เดือนก่อน เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันพืชที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว และอาหารแปรรูปไม่บรรจุกระป๋องที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากนม ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ร้อยละ 21.7 และ 1.5 เท่าตัว ตามลำดับ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 เหลือ 114.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 14.6 เดือนก่อน เนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 5.4 ซึ่งลดลงมากตามการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาที่ลดลงร้อยละ 40.7 เป็นสำคัญ การนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 25.9 โดยลดลงจากตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี การนำเข้าเคมีภัณฑ์และพลาสติก และแก้ว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 และร้อยละ 44.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 9.9 เหลือ 6.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 16.0 ตามการลดลงของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 19.0 เนื่องจากการนำเข้าผักผลไม้ลดลง ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 เป็น 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2550 เกินดุล 65.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เกินดุล 105.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 72.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการชะลอลงของราคาสินค้าประเภทผักและผลไม้ และตามราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ที่ลดลงร้อยละ 11.2 เนื่องจากการลดลงของราคาเนื้อสุกรเป็นสำคัญ ด้านราคาหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากการปรับเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะและค่ากระแสไฟฟ้า ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2550 กำลังแรงงานรวมของภาคเหนือมีจำนวน 6.53 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.41 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 97.7 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรร้อยละ 1.9 โดยเพิ่มขึ้นมากในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และการขายส่ง/ปลีก ร้อยละ 20.4 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ส่วนแรงงานภาคเกษตรหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.10 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 1.5 เดือนก่อน แต่สูงกว่าร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนเมษายน 2550 มีจำนวน 0.59 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.1 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 มีทั้งสิ้น 339,941 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยส่วนราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่นมีการเบิกถอนเงินฝากเพื่อนำไปใช้ตามโครงการทำให้เงินฝากลดลงมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ดี มีเงินฝากส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินของอุตสาหกรรมส่งออก ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 277,196 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดนครสวรรค์และเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของธนาคารใหม่ซึ่งรับโอนมาจากบริษัทเงินทุน ขณะที่สินเชื่อในจังหวัดกำแพงเพชรและพิษณุโลกเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ในธุรกิจเกี่ยวข้องกับภาคเกษตร สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 81.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 79.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณทวีศักดิ์ ใจคำสืบ
โทร. 0-5393-1162
e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาพืชสำคัญชะลอตัวลงโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าความหวานเฉลี่ย ราคากระเทียมและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 37.3 และร้อยละ 35.9 เนื่องจากผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ราคาถั่วเหลืองและถั่วเขียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และร้อยละ 8.6 ตามความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง หอมแดง และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 7.3 ร้อยละ 74.8 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ทางด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เนื่องจากราคาในปีก่อนสูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 จากเกษตรส่วนหนึ่งปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียวและถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ส่วนกระเทียม หอมแดง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดลงร้อยละ 8.7 ร้อยละ 7.4 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 เหลือ 135.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการผลิต Glass Magnetic Disk ที่ลดลงร้อยละ 25.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การผลิตเลนส์กล้องถ่ายรูปและการเจียระไนอัญมณีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ด้านการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทางด้านการผลิตน้ำตาลมีปริมาณ 148.6 พันเมตริกตัน เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่มีปริมาณการผลิตเพียง 6.0 พันเมตริกตัน เนื่องจากผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.1 สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เป็น 302.7 ล้านบาท เร่งตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.3 โดยเพิ่มขึ้นในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อาทิ จังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์
3. ภาคบริการ ขยายตัวจากเดือนก่อนตามฤดูกาล เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปท่องเที่ยวในจังหวัดชายทะเลภาคใต้เนื่องจากได้ท่องเที่ยวภาคเหนือไปแล้วในช่วงงานพืชสวนโลก ขณะที่บางส่วนชะลอการเดินทางเนื่องจากระมัดระวังการใช้จ่าย ด้านนักท่องเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในเทศกาลสงกรานต์ลดลงกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากกังวลในความปลอดภัย อย่างไรก็ดี การเดินทางในเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ส่วนใหญ่เพื่อกลับไปเยี่ยมเยือนบ้านมากกว่าการท่องเที่ยวเหมือนปีที่ผ่านมา เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 เดือนก่อน อัตราการเข้าพักของโรงแรมลดลงจากร้อยละ 45.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เหลือร้อยละ 44.8 และราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือเพียง 989.0 บาทต่อห้องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.1 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามความต้องการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ โดยเครื่องชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.1 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บในหมวดอุตสาหกรรม และหมวดค้าส่งค้าปลีก เป็นสำคัญ ส่วนปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.6 เดือนก่อน แยกเป็นปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 9.9 และร้อยละ 0.3 ต่ำกว่าที่ลดลงเดือนก่อน ด้านปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.4 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 32.8 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีความสนใจในการลงทุนก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และนครสวรรค์ แต่โดยรวมพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือยังคงลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 40.6 เดือนก่อน ส่วนปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.4 ด้านค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 สำหรับการลงทุนเพื่อการผลิตของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เพื่อการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมผลิตเลนส์ในจังหวัดลำพูน และอุตสาหกรรมผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ในจังหวัดเชียงใหม่
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.2 เหลือ 180.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการย้ายการทำพิธีการส่งออกไปด่านอื่นของสินค้าประเภทลวดเคเบิลและชุดสายไฟ ประกอบกับการส่งออกของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า Glass Magnetic Disk และหม้อแปลงไฟฟ้า ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.6 ร้อยละ 21.8 และร้อยละ 18.0 ตามลำดับ โดยลดลงในทุกตลาดที่สำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง อย่างไรก็ดี การส่งออกเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป
และอัญมณีขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 และร้อยละ 51.2 ตามลำดับ ตามอุปสงค์จากประเทศจีนและอิสราเอลที่สูงขึ้น ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็น 46.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.0 เดือนก่อน เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันพืชที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว และอาหารแปรรูปไม่บรรจุกระป๋องที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากนม ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ร้อยละ 21.7 และ 1.5 เท่าตัว ตามลำดับ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 เหลือ 114.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 14.6 เดือนก่อน เนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 5.4 ซึ่งลดลงมากตามการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาที่ลดลงร้อยละ 40.7 เป็นสำคัญ การนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 25.9 โดยลดลงจากตลาดสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี การนำเข้าเคมีภัณฑ์และพลาสติก และแก้ว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 และร้อยละ 44.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 9.9 เหลือ 6.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 16.0 ตามการลดลงของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) ลดลงร้อยละ 19.0 เนื่องจากการนำเข้าผักผลไม้ลดลง ส่วนการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 เป็น 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2550 เกินดุล 65.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เกินดุล 105.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 72.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการชะลอลงของราคาสินค้าประเภทผักและผลไม้ และตามราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ที่ลดลงร้อยละ 11.2 เนื่องจากการลดลงของราคาเนื้อสุกรเป็นสำคัญ ด้านราคาหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากการปรับเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะและค่ากระแสไฟฟ้า ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2550 กำลังแรงงานรวมของภาคเหนือมีจำนวน 6.53 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.41 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 97.7 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรร้อยละ 1.9 โดยเพิ่มขึ้นมากในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และการขายส่ง/ปลีก ร้อยละ 20.4 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ส่วนแรงงานภาคเกษตรหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.10 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 1.5 เดือนก่อน แต่สูงกว่าร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนเมษายน 2550 มีจำนวน 0.59 ล้านคน ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.1 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 มีทั้งสิ้น 339,941 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยส่วนราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่นมีการเบิกถอนเงินฝากเพื่อนำไปใช้ตามโครงการทำให้เงินฝากลดลงมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ดี มีเงินฝากส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินของอุตสาหกรรมส่งออก ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 277,196 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดนครสวรรค์และเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อของธนาคารใหม่ซึ่งรับโอนมาจากบริษัทเงินทุน ขณะที่สินเชื่อในจังหวัดกำแพงเพชรและพิษณุโลกเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ในธุรกิจเกี่ยวข้องกับภาคเกษตร สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 81.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 79.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม: คุณทวีศักดิ์ ใจคำสืบ
โทร. 0-5393-1162
e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--