กรุงเทพ--19 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่สามของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 4 มีการเจรจาของ 6 กลุ่ม สรุปสาระสำคัญของผลการเจรจา ดังนี้
กลุ่มการลงทุน ไทยและสหรัฐฯ ได้หารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างข้อบท (consolidated text) แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายยังคงมีท่าทีต่างกันในหลักการสำคัญบางประการ เช่น การ ใช้ negative/positive list เป็นต้น แต่การหารือก็มีพัฒนาการคืบหน้าเป็นอย่างดี เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความยืดหยุ่นต่อข้อเสนอของไทยมากขึ้น โดยรับพิจารณาข้อเสนอของไทยในประเด็นต่างๆ รวมทั้งเรื่องการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน อาทิ การกำหนดระยะเวลา ในการปรึกษาหารือก่อนนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท
ในกลุ่มการจัดซื้อภาครัฐ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้อธิบายข้อเสนอของตนในร่างบท และเปิดโอกาสให้ฝ่ายไทยสอบถามในประเด็นที่ไม่ชัดเจน โดยไทยไม่ตกลงในเรื่องการเปิดตลาดการจัดซื้อภาครัฐแต่อย่างใด นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ยินดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับฝ่ายไทยเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อภาครัฐของตน โดยจะจัดการบรรยายพิเศษให้ฝ่ายไทยระหว่างกาเจรจารอบนี้ และจัดการดูงานให้แก่ฝ่ายไทยที่กรุงวอชิงตัน ในช่วงเดือนกันยายน ศกนี้
ในกลุ่มการเปิดเสรีการค้าบริการ ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือร่างบทที่จะใช้บังคับแก่การเปิดเสรีการค้าบริการกันเพิ่มเติม โดยได้ร่วมกันพิจารณา consolidated text ที่จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของร่างข้อบทที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ยื่นแก่กันก่อนหน้านี้ สามารถรวมข้อเสนอของทั้ง 2 ฝ่ายได้ในหลายประเด็น เช่น การเข้าสู่ตลาด (market access) กฎระเบียบภายในประเทศ (domestic regulation) ความโปร่งใส (transparency) ส่วนที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะเจรจากันต่อไป นอกจากนี้ จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับการค้าบริการบางสาขาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งของสหรัฐฯ ด้วย
ในกลุ่มทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายต่อจากวันก่อน และในเรื่องลิขสิทธิ์ อาทิ ในเรื่องมาตรการทางศุลกากร การขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรการทางเทคโนโลยี และการคุ้มครองสัญญาณดาวเทียม โดยยังไม่ได้มีการตกลงหรือตอบรับข้อเสนอแต่อย่างใด นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้ผ่าน พ.ร.บ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม ศกนี้
ในกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับข้อเสนอของฝ่ายไทย เกี่ยวกับนิยามของสินค้าดิจิตอล การเก็บภาษีศุลกากรสินค้าดิจิตอล การยืนยันตัวหรือความถูกต้องและใบรับรองดิจิตอล และการคุ้มครองข้อมูล/คุ้มครองผู้บริโภค โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะนำร่างข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายรวมเป็นฉบับเดียวกัน นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ รับทราบโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แก่ SMEs ของไทย ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับการดำเนินการต่อไป
ในกลุ่มกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ฝ่ายไทยได้ขอทราบความเห็นเพิ่มเติมจากร่างบท ซึ่งสหรัฐฯ ยื่นให้ไทยก่อนหน้านี้ และได้แจ้งประเด็นที่ฝ่ายไทยขอตัดและขอเพิ่มเติมจาก ร่างบทสหรัฐฯ เช่น ปริมาณที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งสามารถอนุโลมให้ได้แหล่งกำเนิดได้ (De Minimis) และการคำนวณเพื่อให้ได้แหล่งกำเนิด (Regional Value Content) นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ส่งผู้แทนเดินทางมาอธิบายวิธีการคำนวณ net cost ของสินค้ายานยนต์ให้กับภาครัฐและเอกชนที่สนใจในประเทศไทย
นอกจากนั้น ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เชิญคณะผู้เจรจาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและระดับย่อม (สสว.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และภาคเอกชนไทยไปเยี่ยมชม The U.S. Small Business Administration (SBA) ของเมือง Great Falls มลรัฐมอนแทนา ซึ่ง SBA เป็นหน่วยงานที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการก่อตั้งธุรกิจของตนเอง ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนไทยที่ร่วมเดินทางมากับคณะเจรจา ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าอาจนำวิธีการบางส่วนมาปรับใช้กับหน่วยงานไทยได้ เช่น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่สามของการเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 4 มีการเจรจาของ 6 กลุ่ม สรุปสาระสำคัญของผลการเจรจา ดังนี้
กลุ่มการลงทุน ไทยและสหรัฐฯ ได้หารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างข้อบท (consolidated text) แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายยังคงมีท่าทีต่างกันในหลักการสำคัญบางประการ เช่น การ ใช้ negative/positive list เป็นต้น แต่การหารือก็มีพัฒนาการคืบหน้าเป็นอย่างดี เนื่องจากฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความยืดหยุ่นต่อข้อเสนอของไทยมากขึ้น โดยรับพิจารณาข้อเสนอของไทยในประเด็นต่างๆ รวมทั้งเรื่องการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน อาทิ การกำหนดระยะเวลา ในการปรึกษาหารือก่อนนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท
ในกลุ่มการจัดซื้อภาครัฐ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้อธิบายข้อเสนอของตนในร่างบท และเปิดโอกาสให้ฝ่ายไทยสอบถามในประเด็นที่ไม่ชัดเจน โดยไทยไม่ตกลงในเรื่องการเปิดตลาดการจัดซื้อภาครัฐแต่อย่างใด นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ยินดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับฝ่ายไทยเกี่ยวกับระบบการจัดซื้อภาครัฐของตน โดยจะจัดการบรรยายพิเศษให้ฝ่ายไทยระหว่างกาเจรจารอบนี้ และจัดการดูงานให้แก่ฝ่ายไทยที่กรุงวอชิงตัน ในช่วงเดือนกันยายน ศกนี้
ในกลุ่มการเปิดเสรีการค้าบริการ ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือร่างบทที่จะใช้บังคับแก่การเปิดเสรีการค้าบริการกันเพิ่มเติม โดยได้ร่วมกันพิจารณา consolidated text ที่จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของร่างข้อบทที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ยื่นแก่กันก่อนหน้านี้ สามารถรวมข้อเสนอของทั้ง 2 ฝ่ายได้ในหลายประเด็น เช่น การเข้าสู่ตลาด (market access) กฎระเบียบภายในประเทศ (domestic regulation) ความโปร่งใส (transparency) ส่วนที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะเจรจากันต่อไป นอกจากนี้ จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับการค้าบริการบางสาขาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งของสหรัฐฯ ด้วย
ในกลุ่มทรัพย์สินทางปัญญา ทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายต่อจากวันก่อน และในเรื่องลิขสิทธิ์ อาทิ ในเรื่องมาตรการทางศุลกากร การขยายอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มาตรการทางเทคโนโลยี และการคุ้มครองสัญญาณดาวเทียม โดยยังไม่ได้มีการตกลงหรือตอบรับข้อเสนอแต่อย่างใด นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้ผ่าน พ.ร.บ. การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีแล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม ศกนี้
ในกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับข้อเสนอของฝ่ายไทย เกี่ยวกับนิยามของสินค้าดิจิตอล การเก็บภาษีศุลกากรสินค้าดิจิตอล การยืนยันตัวหรือความถูกต้องและใบรับรองดิจิตอล และการคุ้มครองข้อมูล/คุ้มครองผู้บริโภค โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะนำร่างข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายรวมเป็นฉบับเดียวกัน นอกจากนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ รับทราบโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แก่ SMEs ของไทย ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับการดำเนินการต่อไป
ในกลุ่มกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ฝ่ายไทยได้ขอทราบความเห็นเพิ่มเติมจากร่างบท ซึ่งสหรัฐฯ ยื่นให้ไทยก่อนหน้านี้ และได้แจ้งประเด็นที่ฝ่ายไทยขอตัดและขอเพิ่มเติมจาก ร่างบทสหรัฐฯ เช่น ปริมาณที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งสามารถอนุโลมให้ได้แหล่งกำเนิดได้ (De Minimis) และการคำนวณเพื่อให้ได้แหล่งกำเนิด (Regional Value Content) นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ ส่งผู้แทนเดินทางมาอธิบายวิธีการคำนวณ net cost ของสินค้ายานยนต์ให้กับภาครัฐและเอกชนที่สนใจในประเทศไทย
นอกจากนั้น ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เชิญคณะผู้เจรจาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและระดับย่อม (สสว.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และภาคเอกชนไทยไปเยี่ยมชม The U.S. Small Business Administration (SBA) ของเมือง Great Falls มลรัฐมอนแทนา ซึ่ง SBA เป็นหน่วยงานที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการก่อตั้งธุรกิจของตนเอง ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนไทยที่ร่วมเดินทางมากับคณะเจรจา ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเห็นว่าอาจนำวิธีการบางส่วนมาปรับใช้กับหน่วยงานไทยได้ เช่น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-