(ต่อ2)รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนพฤศจิกายน 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 23, 2007 16:07 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

6.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์                                                                                
"การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากในบางพื้นที่ยังประสบกับปัญหาอุทกภัย สำหรับการส่งออกลดลง เนื่องจาก
ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่สหรัฐอเมริกา และประเทศเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนลดลง"
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เดือนตุลาคม 2549 เทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 9.10 และ 7.09 ตามลำดับ และ
เมื่อเที บเดียวกันของปีก่อน การผลิตในประเทศลดลงร้อยละ 4.20 ขณะที่การจำหน่ายในประเทศยังทรงตัวคือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 ทั้งนี้การผลิตและ
การจำหน่ายในประเทศที่ลดลงนี้เนื่องจากในบางพื้นที่ยังประสบกับปัญหาอุทกภัย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนตุลาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 31.26 และ 37.40
ตามลำดับ เนื่องจากในเดือนก่อนความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลงมาก
3.แนวโน้ม
ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดที่
เริ่มสูงขึ้นในไตรมาส 4 เพราะอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา
ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว
7. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนต.ค.49 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.47 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการ
ขยายตัวของ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD และ IC เป็นต้น
- ความต้องการฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟขนาด 2.5 นิ้ว จะได้รับความนิยมในตลาดมากขึ้น จากการคาดการณ์ของไอดีซีภายในปี 2553
ฮาร์ดดิสก์ได้รฟขนาด 2.5 นิ้ว ออกสู่ตลาดจะเพิ่มขึ้น 224 ล้านชิ้น จะมีความจุสูงสุดถึง 750 กิกะไบต์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม 2549 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ
256.55 ลดลงร้อยละ 2.80 เป็นผลจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.47 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น HDD และ IC เป็นต้น
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 10 เดือนแรก ปี 2549 มีมูลค่า 1,297,615 ล้านบาทเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 เมื่อ
เทียบกับ 10 เดือนแรกของปี 2548 เป็นผลจากการขยายตัวของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 โดยเฉพาะขยายตัวในตลาดสหรัฐปรับตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และตลาดอียู เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เช่นกัน ขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น จากการชะลอตัวใน
สินค้าเครื่องปรับอากาศ ลดลงเล็กน้อยใน 10 เดือนแรก ร้อยละ 1 จากการชะลอตัวในตลาดส่งออกญี่ปุ่น และอียูในช่วง 10 เดือนแรกลดลงร้อยละ
32 และ 17 ตามลำดับ อาจเนื่องมาจากไทยมีรุ่นการผลิตค่อนข้างเก่าไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ประกอบกับเผชิญกับการแข่งขันของตลาดจีน
ที่ส่งออกกลับยังบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งแต่เดิมตั้งเป้าหมายจะขายในประเทศจีนเองเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ ตลาดอียูไทยได้รับผลกระทบบางส่วนจากการ
กฎระเบียบ EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้านี้
สำหรับการส่งออกทั้งกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใในเดือนตุลาคม 2549 มีมูลค่า 138,844 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ1
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 48,222 ล้านบาท
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ11 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี เนื่องจาก
การขยายตัวของตลาดญี่ปุ่น และตลาดตะวันออกกลาง เนื่องจากการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธ.ค.49 นี้ ทำให้ยอดการส่งออก
มากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ต.ค. 2549 ส่งออกไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 36 สำหรับมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ มี
มูลค่าส่งออก 90,622 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ ส่วน
ประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เนื่องมาจากขยายตัวในตลาดตะวันออกกลาง ร้อยละ48 ต้อนรับเอเชี่ยนเกมส์ในการวางระบบไอทีในการรายงานผลการแข่งขัน
3. แนวโน้ม
ภาวการณ์ผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนพฤศจิกายน 2549 และไตรมาส 4 คาดว่า ในกลุ่มภาพและเครื่องเสียง (AV) อาจ
จะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลต่างๆ ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนพฤศจิกายนและช่วงปลายปี คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงเช่น
กัน เนื่องจากความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Notebook MP3 DVD Player เป็นต้น ซึ่ง
ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2549 มีค่า 169.87 ลดลงจากเดือนกันยายน 2549 (172.09) ร้อยละ 1.3 แต่เพิ่ม
ขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (162.28) ร้อยละ 4.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนกันยายน 2549 ได้แก่
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรม
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียม
และการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดไว้ในที่อื่น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่
ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ และไขมันจากสัตว์
อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคม 2549 มีค่า 68.01 ทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนกันยายน 2549 (68.26)
และทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.75)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือน
กันยายน 2549 ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอ
สิ่งทอ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรม
การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตทรงตัวโดยลดลงเล็กน้อยจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึง
การทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่ม
บรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
(ยังมีต่อ).../สถานภาพการ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ