สรุปภาวะการค้าไทย-อินเดียระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 5, 2005 16:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. อินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 22 ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้า 97,312,729,185
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.71 ในขณะที่เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 28 มูลค่า 75,630,585,967 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.63 (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
2. แหล่งผลิตสำคัญที่อินเดียนำเข้าในปี 2548 (ม.ค.) ได้แก่
- สวิสเซอร์แลนด์ ร้อยละ 8.26 มูลค่า 850.634 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 438.19
- จีน ร้อยละ 6.30 มูลค่า 648.475 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.35
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 5.79 มูลค่า 596.453 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.44
- สหรัฐฯ ร้อยละ 5.30 มูลค่า 545.909 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.53
ไทยอยู่อันดับที่ 25 ร้อยละ 0.74 มูลค่า 75.852 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.53
3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดีย ปีงบประมาณ 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี
ลดลงจากปีงบประมาณก่อน ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี อย่างไรก็ตามภาคการผลิตและพลังงาน ยังคงเติบโต
อย่างต่อเนื่อง และคาดว่าปี 2548 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5%
4. อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 17 ของไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 1.46 ชองมูลค่าการส่งออก
623.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.99 (ม.ค-พ.ค 2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 37.92 ของเป้าหมาย
การส่งออก
5. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดีย (ม.ค.-พ.ค 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 86.52
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 1,000 มี 1 รายการ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 9 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
3 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง ม.ค.-พ.ค. 2548
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2548
ม.ค.-พ.ค 47 ม.ค.-พ.ค 48 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-พ.ค 2547 ม.ค.-พ.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 1,000 มี 1 รายการ
(1) หลอดภาพโทรทัศน์สี 22 0.04 6.32 6.28 14,791.76 0.52 1.01
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 100 มี 9 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 2 24.70 78.03 53.33 215.95 7.66 12.52
(2) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 3 13.92 41.61 27.69 198.91 2.98 6.67
(3) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 4 18.41 37.99 19.58 106.35 6.67 6.09
(4) เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบ 6 7.32 30.17 22.85 312.37 6.39 4.84
(5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 7 10.37 28.78 18.41 177.50 3.62 4.62
(6) ยางพารา 8 11.17 24.22 13.05 116.79 3.41 3.88
(7) สายไฟฟ้า สายเคเบิล 13 3.50 10.68 7.18 204.96 1.99 1.71
(8) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 15 2.97 9.78 6.81 228.70 1.10 1.57
(9) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 16 4.77 9.75 4.98 104.41 1.41 1.56
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 3 รายการ
(1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 9 32.91 23.15 -9.76 -29.64 8.25 3.71
(2) เคมีภัณฑ์ 12 19.81 14.85 -4.96 -25.03 4.84 2.38
(3) เส้นใยประดิษฐ์ 18 10.95 8.53 -2.42 -22.10 2.97 1.37
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
หลอดภาพโทรทัศน์สี (HS. 854011) COL CAT-RAY TV TUBE
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 11 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 มูลค่า 0.308 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 3.93
เพิ่มขึ้นร้อยละ 73,675.54 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 7.850 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 17.37 นำเข้าจาก มาเลเซีย จีนเกาหลีใต้ เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เม็ดพลาสติก (HS. 3901) ETHYLENE, PRIMARY FORM
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 12 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ เบลเยี่ยม สหรัฐฯ แคนาดา
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 11 มูลค่า 0.671 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.02
เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.14 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 16.698 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 27.06 นำเข้าจาก สหรัฐฯ สิงคโปร์ ซาอุดิอาระเบีย เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ (HS. 8408) COMPRESSION-IGNITION
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 18 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐ
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 0.477 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 4.74
ลดลงร้อยละ 63.92 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 10.059 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
84.41 นำเข้าจาก เกาหลีใต้ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (HS. 72) IRON AND STEEL
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 31 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 19 มูลค่า 4.667 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.62
เพิ่มขึ้นร้อยละ 223.04 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 288.353 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 116.73 นำเข้าจาก ยูเครน สหราชอาณาจักร รัสเซีย เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (HS. 8527) Radiobroadcst Recvers
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 10 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน ฮ่องกง เม็กซิโก
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 0.252 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 3.66
เพิ่มขึ้นร้อยละ 121.48 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 6.881 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 91.97 นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (HS. 84) MACHINERY
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 21 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี สหรัฐฯ จีน
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 15 มูลค่า 11.653 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ
1.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.71 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 878.222 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.41 นำเข้าจาก เยอรมนี สหรัฐฯ จีน เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
ยางพารา (HS. 4001) Rubber Natural
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก รองลงมาคือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 4.816 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ
57.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 593.92 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 8.309 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 171.11 นำเข้าจาก ไทย มาเลเซีย พม่า เป็นหลัก (ม.ค 2548)
สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล (HS. 8544) INSUL CABL, WIRE, ETC
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 23 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เม็กซิโก สหรัฐฯ เยอรมนี
- อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 3.824 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 15.20
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,859.94 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 25.167 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 17.80 นำเข้าจาก จีน ไทย เยอรมนี เป็นหลัก (ม.ค 2548)
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (HS. 76) Aluminum
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 33 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ เยอรมนี แคนาดา สหรัฐ
- อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 14 มูลค่า 1.116 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 303.52
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 43.729 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.90
นำเข้าจาก อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) AIR CONDITIONING
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐฯ ไทย
- อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 2.814 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 19.43
เพิ่มขึ้นร้อยละ 154.89 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 14.483 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 72.18 นำเข้าจาก ญี่ปุ่น จีน ไทย เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (HS. 8471) COMPUTER AND COMPONENT
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 15 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์
- อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 7 มูลค่า 2.828 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.38
เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.78 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 119.007 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 67.33 นำเข้าจาก สิงคโปร์ จีน สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เคมีภัณฑ์อินทรีย์ (HS. 29) ORGANIC CHEMICALS
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 23 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ เบลเยี่ยม เยอรมนี
- อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 26 มูลค่า 2.178 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 0.56
เพิ่มขึ้นร้อยละ 205.31 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 392.362 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 44.90 นำเข้าจาก จีน สิงคโปร์ สหรัฐฯ เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
เส้นใยประดิษฐ์ (HS. 55) MANMADE STAPLE FIBERS, INCLUDING YARN AND
WOVEN FABRICS THEREOF
- ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 12 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน เยอรมนี ไต้หวัน
- อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 มูลค่า 1.521 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 10.35
เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.32 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 14.690 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 24.04 นำเข้าจาก เนปาล เกาหลีใต้ ไทย เป็นหลัก (ม.ค. 2548)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมการเจรจา FTA ไทย — อินเดีย และข้อคิดเห็น
จากข้อมูลของกรมศุลกากรนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 — มีนาคม 2548 (7 เดือน) ที่ตกลง
เอฟทีเอไทย-อินเดีย มีผลบังคับใช้ในกลุ่มสินค้าลดภาษีนำร่อง 82 รายการ ไทยส่งออกไปอินเดีย 5,096 ล้านบาท
ขณะที่ไทยนำเข้าจากอินเดีย 1,297 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลอินเดีย 3,799 ล้านบาท จากที่ก่อนหน้านี้ใน
ภาพรวมการค้าไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าอินเดียมาโดยตลอด
ภายหลัง 7 เดือนเอฟทีเอมีผลบังคับบังคับใช้ อินเดียได้ขอเลื่อนการเจรจาออกไปแบบไม่มีกำหนด
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจากันในรอบที่ 6 เมื่อวันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2548 โดยการเจรจาในรอบใหม่
จะมีการหารือกันในประเด็นการลดภาษีสินค้าที่เหลือ การแลกเปลี่ยนรายการ สินค้าอ่อนไหว กฎแหล่งกำเนิดสินค้า
พิธีการทางศุลกากร ความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชการจัดทำมาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาดและ
มาตรการระงับข้อพิพาททางการค้า การจัดทำข้อตกลง การยอมรับมาตรฐานสินค้าที่เท่าเทียมกัน (MRAs)
รวมถึงการวางกรอบข้อตกลงการเปิดเสรีภาคบริการ และการลงทุน และอื่นๆ
สมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Commerce
and Industry — FICCI) ได้ระบุสาเหตุที่เป็นอุปสรรคไม่ให้อินเดียมีการเจรจาเอฟทีเอกับไทยอย่างเต็มรูปแบบ
เนื่องจากความกลัวของฝ่ายอินเดียว่าสินค้าราคาถูกจากไทยจะไปท่วมตลาดอินเดีย โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่
อินเดียต้องการคุ้มครองเป็นพิเศษ และในทางกลับกันการนำเข้าของฝ่ายไทยกลับมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสภาวิจัย
เศรษฐกิจประยุกต์แห่งชาติอินเดีย (National Council of Applied Economic Research — NCAER)
ซึ่งเป็นหน่วยมันสมองทางเศรษฐกิจของอินเดียระบุว่า เอฟทีเอไทย — อินเดีย ปี 2547 ก่อปัญหาให้อินเดียมาก
กว่าการแก้ปัญหา แต่ในทางกลับกันการเจรจาดังกล่าวก็นับเป็นการ เบิกทางให้อินเดียสามารถเข้าตลาดอาเซียน
และตลาดใหญ่อื่นๆ ที่ไทยมีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เศรษฐกิจอินเดียสามารถขึ้นสู่
ระดับโลกได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรม อินเดียต้องการให้ภาครัฐบาลของตนเองมีมาตรการภายใน
ประเทศ เพื่อรับมือกับข้อตกลงเอฟทีเอ ที่จะมาในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการลดกำแพงภาษีรายการสินค้าที่ระบุ
ออกเป็น 3 ระดับ คือ
- สินค้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้เรียกเก็บภาษีสูงสุด
- วัตถุดิบ ให้เรียกเก็บภาษีต่ำที่สุด
- สินค้ากึ่งสำเร็จรูป ให้เรียกเก็บภาษีระดับกลาง
นอกจากนี้วงการธุรกิจอินเดียยังต้องการให้รัฐบาลแก้ไขเรื่องต้นทุนค่าบริการระดับสูงต่างๆ เช่น
ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่งและต้นทุนการเงิน (ดอกเบี้ย) ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับ
ประเทศไทย
อย่างไรก็ตามการเจรจาเอฟทีเอไทย — อินเดีย ที่ช้าลงจะทำให้การเจรจาเอฟทีเอภายใต้กรอบ
อินเดีย — อาเซียนช้าลงด้วย เนื่องจากในเบื้องลึกอินเดียเกรงว่าหากเปิดเสรี กลุ่มสมาชิกบริมเทคอื่นๆ
(ภูฎาน พม่า เนปาล ศรีลังกา บังคลาเทศ) จะนำเข้าสินค้าจากไทยมากกว่าอินเดีย ในเรื่องนี้ไทยจะต้องทำ
ความเข้าใจกับอินเดียเพื่อให้มีความจริงใจในการจัดทำความตกลงให้มากขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ