กรุงเทพ--21 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (20 เมษายน 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ที่กรุงจาการ์ตา ภายหลังเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ดังนี้
1. การประชุมมีขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ในวันที่ 22-23 เมษายน 2548 ซึ่งจะเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญยิ่ง โดยมีประเทศต่างๆ มาเข้าร่วม 106 ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ และจะมีผู้นำระดับประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลมาร่วมถึง 47 ประเทศ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ
2. การประชุมครั้งนี้มิได้เป็นเพียงการฉลอง 50 ปี ของการประชุมเอเชีย-แอฟริกาครั้งแรก
ณ เมืองบันดุง เมื่อ ค.ศ. 1955 เท่านั้น แต่จะเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างเอเชีย-แอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และในกรอบพหุภาคี (“New Asian-African Strategic Partnership”)
3. ในส่วนของไทยนั้น ก็เป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินนโยบาย “Look West” กับบรรดาประเทศในแอฟริกาที่มาร่วมประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้ใช้โอกาสนี้หารือทวิภาคีกับประเทศที่สำคัญในแอฟริกาหลายๆ ประเทศด้วยกัน เพื่อปูทางสำหรับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเหล่านี้ด้วย
4. ทุกฝ่ายเห็นว่า แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปีแล้ว เจตนารมณ์และหลักการของการประชุมบันดุงก็ยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือและความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับแอฟริกาในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนอง
สิ่งท้าทาย ทั้งที่ยังเป็นปัญหาสืบเนื่องมาเดิม เช่นระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสิ่งท้าทายใหม่ๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การแพร่ระบาดของโรค อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย เป็นต้น
5. การประชุมครั้งนี้ได้หารือถึงการส่งเสริมและวางแนวทางสำหรับความร่วมมือระหว่างเอเชีย-แอฟริกาในการสร้างความเตรียมพร้อมเพื่อรับภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติอื่นๆ
6. ในที่ประชุมวันนี้ คณะผู้แทนต่างๆ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับลู่ทาง และแนวทางที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศในเอเชียหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น อินเดีย จีน และอาเซียน ได้แสดงความพร้อม ที่จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือประเทศแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของแอฟริกา โดยเฉพาะภายใต้กรอบ New Economic Partnership for Africa’s Development (NEPAD)
7. ในวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับท่าทีและความเห็นของไทยต่อการประชุมโดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
- เน้นปัญหาท้าทายต่างๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ และความสำคัญของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องของแต่ละประเทศ และความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระหว่างแอฟริกากับเอเชีย
- เน้นความสำคัญของการที่ประเทศในเอเชียและแอฟริกาจะร่วมมือกันในการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ
- เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการทั้งในการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศและการมีส่วนร่วมในกระบวนการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน
- กล่าวถึงบทบาทไทยในการส่งเสริมความร่วมมือในกรอบ Asia Cooperation Dialog (ACD) ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย และลู่ทางที่ ACD จะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกา
- แสดงความพร้อมของไทยที่จะร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มมูลค่าสินค้า การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติทั้งหลาย
- เน้นความสำคัญที่เอเชียและแอฟริกาจะร่วมมือกันในเวทีพหุภาคี โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติควรเป็นวาระของเอเชีย (ทั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามและหัวหน้าคณะผู้แทนลาวในฐานะประธานอาเซียนก็ได้กล่าวยืนยันในประเด็นนี้ และหัวหน้าคณะผู้แทน
บูกินาฟาโซได้สนับสนุนเรื่องดังกล่าวด้วย)
8. นอกจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ชี้แจงว่าเอกสารที่จะเป็นผลของการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกานั้นจะมีการย้ำเจตนารมณ์และหลักการของการประชุมบันดุง และมีการแสดงเจตนารมณ์ที่จะเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งจะมีการกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน โดยมีการออกเอกสารสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. ปฏิญญาว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหม่ระหว่างเอเชีย - แอฟริกา (Declaration on the New Asian-African Strategic Partnership) เป็นเอกสารจากการประชุมระดับผู้นำ
2. คำแถลงร่วมของผู้นำเอเชีย-แอฟริกา ว่าด้วยคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ (Joint Asian-African Leaders’ Statement on Tsunami, Earthquake and other Natural Disasters)
3. คำแถลงร่วมของรัฐมนตรีเอเชีย-แอฟริกา เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหม่ระหว่างเอเชีย - แอฟริกา (Joint Ministerial Statement on the New Asian-African Strategic Partnership Plan of Action) เป็นเอกสารจากการประชุมระดับรัฐมนตรี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (20 เมษายน 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ที่กรุงจาการ์ตา ภายหลังเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ดังนี้
1. การประชุมมีขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ในวันที่ 22-23 เมษายน 2548 ซึ่งจะเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญยิ่ง โดยมีประเทศต่างๆ มาเข้าร่วม 106 ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ และจะมีผู้นำระดับประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลมาร่วมถึง 47 ประเทศ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ
2. การประชุมครั้งนี้มิได้เป็นเพียงการฉลอง 50 ปี ของการประชุมเอเชีย-แอฟริกาครั้งแรก
ณ เมืองบันดุง เมื่อ ค.ศ. 1955 เท่านั้น แต่จะเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างเอเชีย-แอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และในกรอบพหุภาคี (“New Asian-African Strategic Partnership”)
3. ในส่วนของไทยนั้น ก็เป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินนโยบาย “Look West” กับบรรดาประเทศในแอฟริกาที่มาร่วมประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้ใช้โอกาสนี้หารือทวิภาคีกับประเทศที่สำคัญในแอฟริกาหลายๆ ประเทศด้วยกัน เพื่อปูทางสำหรับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเหล่านี้ด้วย
4. ทุกฝ่ายเห็นว่า แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปีแล้ว เจตนารมณ์และหลักการของการประชุมบันดุงก็ยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือและความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับแอฟริกาในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อตอบสนอง
สิ่งท้าทาย ทั้งที่ยังเป็นปัญหาสืบเนื่องมาเดิม เช่นระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสิ่งท้าทายใหม่ๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การแพร่ระบาดของโรค อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย เป็นต้น
5. การประชุมครั้งนี้ได้หารือถึงการส่งเสริมและวางแนวทางสำหรับความร่วมมือระหว่างเอเชีย-แอฟริกาในการสร้างความเตรียมพร้อมเพื่อรับภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติอื่นๆ
6. ในที่ประชุมวันนี้ คณะผู้แทนต่างๆ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับลู่ทาง และแนวทางที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศในเอเชียหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น อินเดีย จีน และอาเซียน ได้แสดงความพร้อม ที่จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือประเทศแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาประเทศ และการช่วยเหลือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของแอฟริกา โดยเฉพาะภายใต้กรอบ New Economic Partnership for Africa’s Development (NEPAD)
7. ในวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับท่าทีและความเห็นของไทยต่อการประชุมโดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
- เน้นปัญหาท้าทายต่างๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ และความสำคัญของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องของแต่ละประเทศ และความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระหว่างแอฟริกากับเอเชีย
- เน้นความสำคัญของการที่ประเทศในเอเชียและแอฟริกาจะร่วมมือกันในการเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนและการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ
- เน้นความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการทั้งในการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศและการมีส่วนร่วมในกระบวนการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน
- กล่าวถึงบทบาทไทยในการส่งเสริมความร่วมมือในกรอบ Asia Cooperation Dialog (ACD) ที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย และลู่ทางที่ ACD จะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกา
- แสดงความพร้อมของไทยที่จะร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มมูลค่าสินค้า การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติทั้งหลาย
- เน้นความสำคัญที่เอเชียและแอฟริกาจะร่วมมือกันในเวทีพหุภาคี โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติควรเป็นวาระของเอเชีย (ทั้งนี้ หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามและหัวหน้าคณะผู้แทนลาวในฐานะประธานอาเซียนก็ได้กล่าวยืนยันในประเด็นนี้ และหัวหน้าคณะผู้แทน
บูกินาฟาโซได้สนับสนุนเรื่องดังกล่าวด้วย)
8. นอกจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ชี้แจงว่าเอกสารที่จะเป็นผลของการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกานั้นจะมีการย้ำเจตนารมณ์และหลักการของการประชุมบันดุง และมีการแสดงเจตนารมณ์ที่จะเปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งจะมีการกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน โดยมีการออกเอกสารสำคัญต่างๆ ดังนี้
1. ปฏิญญาว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหม่ระหว่างเอเชีย - แอฟริกา (Declaration on the New Asian-African Strategic Partnership) เป็นเอกสารจากการประชุมระดับผู้นำ
2. คำแถลงร่วมของผู้นำเอเชีย-แอฟริกา ว่าด้วยคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหว และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ (Joint Asian-African Leaders’ Statement on Tsunami, Earthquake and other Natural Disasters)
3. คำแถลงร่วมของรัฐมนตรีเอเชีย-แอฟริกา เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ใหม่ระหว่างเอเชีย - แอฟริกา (Joint Ministerial Statement on the New Asian-African Strategic Partnership Plan of Action) เป็นเอกสารจากการประชุมระดับรัฐมนตรี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-