กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ศูนย์การประชุม Bella Center กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า ในวันที่ 24 กันยายน 2545 ระหว่างการประชุม เอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายก รัฐมนตรีเดนมาร์ก โดยมีผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมเอเชีย-ยุโรป นายกรัฐมนตรีไทยและนาย Anders Fogh Rasmussen นายกรัฐมนตรีเดนมาร์กเห็นตรงกันว่า การประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 (ASEM 4) ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เพราะมีเรื่องต่างๆ ที่มีรูปธรรมออกมามาก โดยการหารือเรื่องการเมืองและความมั่นคงมีความก้าวหน้าเพราะมีการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ทั้งประเด็นการก่อการร้ายและปัญหาอิรัก ในเรื่องเศรษฐกิจก็มีความสำเร็จเป็นรูปธรรมเกินความคาดหมาย โดยที่ประชุมมีความคิดที่จะดำเนินการเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น (Closer Economic Partnership - CEP) ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศในเอเชีย และมีการตั้งคณะทำงาน (Task Force) ในเรื่องนี้ขึ้นมา และเรื่องหนึ่งที่คณะทำงานในภายใต้ CEP นี้ จะต้องดำเนินการคือการ ออกพันธบัตรเอเชีย (Asia Bonds) ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
2. ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - เดนมาร์ก ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันว่า เดนมาร์กมีความสามารถทางด้าน SME และเกษตรอุตสาหกรรม โดยใช้ความรู้ระดับสูงหรือ Knowledge - based มาบริหารทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยต้องการเข้าไปเป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกับฝ่ายเดนมาร์ก โดยประเทศไทยไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ต้องการให้มีความเป็นหุ้นส่วนในเรื่องที่สำคัญๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กเห็นด้วยอย่างยิ่ง และแจ้งว่าประเทศไทยมีโครงการอยู่ โครงการหนึ่งอยู่แล้วคือ กลไกว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันหรือ partnership facilities ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการในเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึง ตกลงกันว่า กลไก partnership facilities นี้ให้ขยายจากเรื่องสิ่งแวดล้อมไปยังเรื่อง SME และเกษตรอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งเป็นการขยายความสัมพันธ์ให้มากขึ้น
3. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน นายกรัฐมนตรีได้ แจ้งให้นายกรัฐมนตรีเดนมาร์กทราบถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านว่าไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี และในส่วนของความสัมพันธ์กับพม่านั้นไทยสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติของพม่าโดยขอให้ชนกลุ่มน้อยที่มีอาวุธหันไปเจรจากับรัฐบาลพม่า และขอให้รัฐบาลพม่ามีนโยบายเปิดกว้างหรือ open arm policy ที่จะรับชนกลุ่มน้อยไปหารือพร้อมๆ กันกับการหารือกับนางอองซาน ซู จี ด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนเดนมาร์กให้ร่วมมือกับไทยในการดำเนินโครงการแก้ปัญหายาเสพติดซึ่งขณะนี้มี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และองค์การระหว่างประเทศจะเข้ามาร่วมปลูกพืชทดแทนยาเสพติดในเขตพม่าที่ไทยดำเนินการอยู่แล้วผ่านทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นายกรัฐมนตรีแจ้งฝ่ายเดนมาร์กด้วยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนพื้นฐานเพราะยาเสพติดทำลายชีวิตคน และคนที่ผลิตยาเสพติดก็เป็นคน ยากจน ซึ่งความจริงคนเหล่านี้ก็ไม่ต้องการทำอาชีพนี้ ดังนั้นการช่วยเหลือคนเหล่านี้ จึงเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยไทยได้ให้ความสำคัญในสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมมาก ซึ่งไทยก็ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม จึงขอ เชิญชวนเดนมาร์กเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กก็ได้แจ้งว่า ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากและจะให้การสนับสนุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขอให้ เอกอัครราชทูตและกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประสานกันต่อไป นายกรัฐมนตรีแจ้งฝ่ายเดนมาร์กด้วยว่าเรื่องยาเสพติดไม่ใช่เรื่องของไทยกับพม่าเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของภูมิภาคและของโลก นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กด้วยว่า ต้องการให้เดนมาร์กช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยไม่ต้องช่วยไทย เพราะการช่วยประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นการช่วยประเทศไทยทางอ้อม เพราะว่าขณะนี้มีผู้เข้าเมืองและแรงงานต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทยต้องแบกภาระอยู่เป็นจำนวนล้านคน ดังนั้น การช่วยเหลือพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านของไทย ในแง่ของฝ่ายเดนมาร์กจึงเป็นเรื่องการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน ซึ่งตรงตามนโยบายของฝ่ายเดนมาร์กอยู่แล้ว ฝ่ายเดนมาร์กจึงเห็นด้วยเป็นอย่างมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-ศน-
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ศูนย์การประชุม Bella Center กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า ในวันที่ 24 กันยายน 2545 ระหว่างการประชุม เอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายก รัฐมนตรีเดนมาร์ก โดยมีผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมเอเชีย-ยุโรป นายกรัฐมนตรีไทยและนาย Anders Fogh Rasmussen นายกรัฐมนตรีเดนมาร์กเห็นตรงกันว่า การประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 (ASEM 4) ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เพราะมีเรื่องต่างๆ ที่มีรูปธรรมออกมามาก โดยการหารือเรื่องการเมืองและความมั่นคงมีความก้าวหน้าเพราะมีการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ทั้งประเด็นการก่อการร้ายและปัญหาอิรัก ในเรื่องเศรษฐกิจก็มีความสำเร็จเป็นรูปธรรมเกินความคาดหมาย โดยที่ประชุมมีความคิดที่จะดำเนินการเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น (Closer Economic Partnership - CEP) ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศในเอเชีย และมีการตั้งคณะทำงาน (Task Force) ในเรื่องนี้ขึ้นมา และเรื่องหนึ่งที่คณะทำงานในภายใต้ CEP นี้ จะต้องดำเนินการคือการ ออกพันธบัตรเอเชีย (Asia Bonds) ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
2. ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - เดนมาร์ก ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันว่า เดนมาร์กมีความสามารถทางด้าน SME และเกษตรอุตสาหกรรม โดยใช้ความรู้ระดับสูงหรือ Knowledge - based มาบริหารทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยต้องการเข้าไปเป็นหุ้นส่วนในการทำงานร่วมกับฝ่ายเดนมาร์ก โดยประเทศไทยไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ต้องการให้มีความเป็นหุ้นส่วนในเรื่องที่สำคัญๆ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กเห็นด้วยอย่างยิ่ง และแจ้งว่าประเทศไทยมีโครงการอยู่ โครงการหนึ่งอยู่แล้วคือ กลไกว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันหรือ partnership facilities ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการในเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ นายกรัฐมนตรีทั้งสองจึง ตกลงกันว่า กลไก partnership facilities นี้ให้ขยายจากเรื่องสิ่งแวดล้อมไปยังเรื่อง SME และเกษตรอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งเป็นการขยายความสัมพันธ์ให้มากขึ้น
3. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน นายกรัฐมนตรีได้ แจ้งให้นายกรัฐมนตรีเดนมาร์กทราบถึงพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านว่าไทยมีความสัมพันธ์ที่ดี และในส่วนของความสัมพันธ์กับพม่านั้นไทยสนับสนุนการปรองดองแห่งชาติของพม่าโดยขอให้ชนกลุ่มน้อยที่มีอาวุธหันไปเจรจากับรัฐบาลพม่า และขอให้รัฐบาลพม่ามีนโยบายเปิดกว้างหรือ open arm policy ที่จะรับชนกลุ่มน้อยไปหารือพร้อมๆ กันกับการหารือกับนางอองซาน ซู จี ด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนเดนมาร์กให้ร่วมมือกับไทยในการดำเนินโครงการแก้ปัญหายาเสพติดซึ่งขณะนี้มี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และองค์การระหว่างประเทศจะเข้ามาร่วมปลูกพืชทดแทนยาเสพติดในเขตพม่าที่ไทยดำเนินการอยู่แล้วผ่านทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง นายกรัฐมนตรีแจ้งฝ่ายเดนมาร์กด้วยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนพื้นฐานเพราะยาเสพติดทำลายชีวิตคน และคนที่ผลิตยาเสพติดก็เป็นคน ยากจน ซึ่งความจริงคนเหล่านี้ก็ไม่ต้องการทำอาชีพนี้ ดังนั้นการช่วยเหลือคนเหล่านี้ จึงเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยไทยได้ให้ความสำคัญในสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมมาก ซึ่งไทยก็ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม จึงขอ เชิญชวนเดนมาร์กเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กก็ได้แจ้งว่า ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากและจะให้การสนับสนุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขอให้ เอกอัครราชทูตและกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประสานกันต่อไป นายกรัฐมนตรีแจ้งฝ่ายเดนมาร์กด้วยว่าเรื่องยาเสพติดไม่ใช่เรื่องของไทยกับพม่าเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของภูมิภาคและของโลก นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กด้วยว่า ต้องการให้เดนมาร์กช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยไม่ต้องช่วยไทย เพราะการช่วยประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นการช่วยประเทศไทยทางอ้อม เพราะว่าขณะนี้มีผู้เข้าเมืองและแรงงานต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศไทยต้องแบกภาระอยู่เป็นจำนวนล้านคน ดังนั้น การช่วยเหลือพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านของไทย ในแง่ของฝ่ายเดนมาร์กจึงเป็นเรื่องการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน ซึ่งตรงตามนโยบายของฝ่ายเดนมาร์กอยู่แล้ว ฝ่ายเดนมาร์กจึงเห็นด้วยเป็นอย่างมาก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-ศน-