กรุงเทพ--5 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮาว่าเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 นาย Mohd. Bin Al- Ghamdi,Assistant Manager-Minister’s Office, Ministry of Endowments and Islamic Affairs ได้นำ ดร. อิสมาเอล ลุตฟี จะปะกียา อธิการวิทยาลัยอิสลามยะลา พร้อมด้วยนายมัสสัน มาหะมะ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายวางแผนและพัฒนา เข้าเยี่ยมคารวะ นายวรวีร์ วีระสัมพันธ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา เนื่องในโอกาสที่ได้เดินทางเยือนกาตาร์และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยอิสลามยะลา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาลัยอิสลามยะลา
1.1 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนเมื่อปี 2541 ตั้งอยู่ที่ยะลา ต่อมาได้มีการขยายสาขาออกไปที่ปัตตานี วิทยาลัยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่ม 3 จังหวัดภาคใต้ อันประกอบไปด้วย ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของสถาบันศึกษาเอกชน
1.2 วิทยาลัยแห่งนี้มีหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ 5 สาขา ได้แก่สาขากฎหมายอิสลาม สาขาหลักการอิสลาม สาขาภาษาอาหรับ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาการสอนศาสนาอิสลาม ค่าหน่วยกิตประมาณ 300 บาท/หน่วยกิต
1.3 ขณะนี้มีนักเรียนทั้งหมด 900 คน โดยเป็นนักเรียนต่างประเทศ 23 คน ซึ่งนักเรียนต่างประเทศเหล่านี้มาจาก สหรัฐอเมริกา สวีเดน คาซักสถาน กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และมีอาจารย์ประมาณ 30 คน โดยเป็นอาจารย์ต่างประเทศ 6 คน
1.4 วิทยาลัยฯ มีโครงการที่จะขยายสาขาวิชาออกไปเป็น 13 สาขา และมีนักเรียน 5,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักเรียนต่างประเทศ 1,000 คน ภายในปี 2550 นอกจากนี้ วิทยาลัยฯ มีแผนการที่จะส่งคณะอาจารย์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในต่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาลัยและทางกาตาร์
2.1 กาตาร์ได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัย เนื่องจากได้ทราบความต้องการของวิทยาลัยโดยได้บริจาคเงินเป็นจำนวน 4 ล้านกาตาร์ริยาล เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัยจำนวน 2 อาคาร ที่ปัตตานี ทั้งนี้ Ministry of Endowments and Islamic Affairs เป็นผู้ดูแลในเรื่องดังกล่าว
2.2 จุดประสงค์ในการเดินทางเยือนกาตาร์ของอธิการวิทยาลัยในครั้งนี้ คือ ขอความช่วยเหลือในโครงการก่อสร้างอาคารสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชา IT ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร และภาควิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
2.3 วิทยาลัยประสงค์จะทำบันทึกความเข้าใจกับ Qatar University
3. เอกอัครราชทูต ได้กล่าวชื่นชมกาตาร์ที่ให้ความสำคัญด้านการศึกษา โดยได้มีการจัดตั้ง Education City และ Science and Technology Park ขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาการศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศกาตาร์ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทย และว่าจากการที่กาตาร์ให้ความช่วยเหลือวิทยาลัยฯ จะสามารถพัฒนาไปสู่ความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างไทย-กาตาร์
4. นาย Mohd Bin Ali Al-Ghamdi กล่าวว่า กระทรวงกิจการอิสลามได้เล็งเห็นถึงความเป็นระเบียบของวิทยาลัยแห่งนี้ โดยได้มีการปฏิบัติในแผนโครงการอย่างเป็นรูปธรรม และมีรายงานพัฒนาการในโครงการเป็นระยะๆ และการที่มีโครงการก่อสร้างอาคาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็สอดคล้องกับความประสงค์ของกาตาร์ และคาดว่ารัฐบาลกาตาร์ยังคงให้การสนับสนุนวิทยาลัยแห่งนี้ต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการอิสลามได้มีความประทับใจในประเทศไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้ไปเยือนประเทศไทย โดยกล่าวว่า ประเทศไทยให้อิสระในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและให้การสนับสนุนในกิจกรรมของศาสนาอิสลาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮาว่าเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 นาย Mohd. Bin Al- Ghamdi,Assistant Manager-Minister’s Office, Ministry of Endowments and Islamic Affairs ได้นำ ดร. อิสมาเอล ลุตฟี จะปะกียา อธิการวิทยาลัยอิสลามยะลา พร้อมด้วยนายมัสสัน มาหะมะ ผู้ช่วยอธิการฝ่ายวางแผนและพัฒนา เข้าเยี่ยมคารวะ นายวรวีร์ วีระสัมพันธ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา เนื่องในโอกาสที่ได้เดินทางเยือนกาตาร์และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยอิสลามยะลา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาลัยอิสลามยะลา
1.1 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนเมื่อปี 2541 ตั้งอยู่ที่ยะลา ต่อมาได้มีการขยายสาขาออกไปที่ปัตตานี วิทยาลัยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่ม 3 จังหวัดภาคใต้ อันประกอบไปด้วย ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของสถาบันศึกษาเอกชน
1.2 วิทยาลัยแห่งนี้มีหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ 5 สาขา ได้แก่สาขากฎหมายอิสลาม สาขาหลักการอิสลาม สาขาภาษาอาหรับ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาการสอนศาสนาอิสลาม ค่าหน่วยกิตประมาณ 300 บาท/หน่วยกิต
1.3 ขณะนี้มีนักเรียนทั้งหมด 900 คน โดยเป็นนักเรียนต่างประเทศ 23 คน ซึ่งนักเรียนต่างประเทศเหล่านี้มาจาก สหรัฐอเมริกา สวีเดน คาซักสถาน กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และมีอาจารย์ประมาณ 30 คน โดยเป็นอาจารย์ต่างประเทศ 6 คน
1.4 วิทยาลัยฯ มีโครงการที่จะขยายสาขาวิชาออกไปเป็น 13 สาขา และมีนักเรียน 5,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักเรียนต่างประเทศ 1,000 คน ภายในปี 2550 นอกจากนี้ วิทยาลัยฯ มีแผนการที่จะส่งคณะอาจารย์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกในต่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาลัยและทางกาตาร์
2.1 กาตาร์ได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัย เนื่องจากได้ทราบความต้องการของวิทยาลัยโดยได้บริจาคเงินเป็นจำนวน 4 ล้านกาตาร์ริยาล เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัยจำนวน 2 อาคาร ที่ปัตตานี ทั้งนี้ Ministry of Endowments and Islamic Affairs เป็นผู้ดูแลในเรื่องดังกล่าว
2.2 จุดประสงค์ในการเดินทางเยือนกาตาร์ของอธิการวิทยาลัยในครั้งนี้ คือ ขอความช่วยเหลือในโครงการก่อสร้างอาคารสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วย 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชา IT ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร และภาควิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
2.3 วิทยาลัยประสงค์จะทำบันทึกความเข้าใจกับ Qatar University
3. เอกอัครราชทูต ได้กล่าวชื่นชมกาตาร์ที่ให้ความสำคัญด้านการศึกษา โดยได้มีการจัดตั้ง Education City และ Science and Technology Park ขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาการศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศกาตาร์ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทย และว่าจากการที่กาตาร์ให้ความช่วยเหลือวิทยาลัยฯ จะสามารถพัฒนาไปสู่ความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างไทย-กาตาร์
4. นาย Mohd Bin Ali Al-Ghamdi กล่าวว่า กระทรวงกิจการอิสลามได้เล็งเห็นถึงความเป็นระเบียบของวิทยาลัยแห่งนี้ โดยได้มีการปฏิบัติในแผนโครงการอย่างเป็นรูปธรรม และมีรายงานพัฒนาการในโครงการเป็นระยะๆ และการที่มีโครงการก่อสร้างอาคาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็สอดคล้องกับความประสงค์ของกาตาร์ และคาดว่ารัฐบาลกาตาร์ยังคงให้การสนับสนุนวิทยาลัยแห่งนี้ต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการอิสลามได้มีความประทับใจในประเทศไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้ไปเยือนประเทศไทย โดยกล่าวว่า ประเทศไทยให้อิสระในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและให้การสนับสนุนในกิจกรรมของศาสนาอิสลาม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-