อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) ของจีนขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทั้งการผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในช่วงปี 2541-2545 มูลค่าตลาด IT ของจีนเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 25 ต่อปี นอกจากนี้ ในปี 2545 การผลิตในอุตสาหกรรม IT ของจีนยังมีมูลค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของจีน โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันจีนเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
นอกจากอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์แล้ว ปัจจุบันจีนได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ โดยรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในหลายๆ ด้าน อาทิ เงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนา การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้จีนพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกซอฟต์แวร์ที่สำคัญของโลกเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์
ปัจจุบันการผลิตซอฟต์แวร์ของจีนได้ขยายวงกว้างออกไปในเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
เซี่ยงไฮ้ เป็นฐานการผลิตซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของจีน โดยมีนิคมอุตสาหกรรม Zhangjiang Hi-Tech Park เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ปัจจุบันมีบริษัท Intel และ Hewlett Packard เข้ามาลงทุนและพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อป้อนตลาดจีนและส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นสำคัญ
ปักกิ่ง เป็นที่ตั้งของ Zhong Guancun Science and Technology Park ซึ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นยังมีแผนที่จะสร้างมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เพื่อเปิดสอนด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ ปัจจุบันบริษัท Microsoft มีแผนที่จะลงทุนตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ในปักกิ่งซึ่งนับเป็นห้องปฏิบัติการแห่งที่ 2 ของ Microsoft ที่ตั้งอยู่นอกสหรัฐอเมริกา
ต้าเหลียน ปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้ามาดำเนินธุรกิจในต้าเหลียนมากกว่า 100 แห่ง ส่งผลให้ต้าเหลียนมีมูลค่าส่งออกซอฟต์แวร์สูงเป็นอันดับ 3 รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งในปัจจุบัน
ซีอาน ปัจจุบันมีบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก อาทิ IBM และ Fujitsu เข้ามาตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากซีอานมีบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมาก และมีค่าจ้างถูกกว่าเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ตลอดจนรัฐบาลจีนยังมีนโยบายที่จะพัฒนาซีอานให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศภายในระยะเวลา 5 ปี
เซินเจิ้น ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนการผลิตเพื่อการส่งออก ปัจจุบันบริษัทต่างชาติหลายแห่ง อาทิ บริษัท Oracle ได้เข้าไปตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ในเซินเจิ้นเพื่อทำการส่งออกอย่างต่อเนื่อง
การที่รัฐบาลจีนสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างจริงจัง คาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของจีนเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะการส่งออกที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549 ขยายตัวกว่า 50 เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกซอฟต์แวร์ในปี 2544 สำหรับในส่วนของบริการที่เกี่ยวเนื่องกับซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะการรับจ้างผลิตซอฟต์แวร์ในลักษณะ Outsource จากต่างประเทศ คาดว่าจะมูลค่าสูงถึง 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-พห-
นอกจากอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์แล้ว ปัจจุบันจีนได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ โดยรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในหลายๆ ด้าน อาทิ เงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนา การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้จีนพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกซอฟต์แวร์ที่สำคัญของโลกเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์
ปัจจุบันการผลิตซอฟต์แวร์ของจีนได้ขยายวงกว้างออกไปในเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
เซี่ยงไฮ้ เป็นฐานการผลิตซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของจีน โดยมีนิคมอุตสาหกรรม Zhangjiang Hi-Tech Park เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ปัจจุบันมีบริษัท Intel และ Hewlett Packard เข้ามาลงทุนและพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อป้อนตลาดจีนและส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นสำคัญ
ปักกิ่ง เป็นที่ตั้งของ Zhong Guancun Science and Technology Park ซึ่งเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นยังมีแผนที่จะสร้างมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เพื่อเปิดสอนด้านซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ ปัจจุบันบริษัท Microsoft มีแผนที่จะลงทุนตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ในปักกิ่งซึ่งนับเป็นห้องปฏิบัติการแห่งที่ 2 ของ Microsoft ที่ตั้งอยู่นอกสหรัฐอเมริกา
ต้าเหลียน ปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์เข้ามาดำเนินธุรกิจในต้าเหลียนมากกว่า 100 แห่ง ส่งผลให้ต้าเหลียนมีมูลค่าส่งออกซอฟต์แวร์สูงเป็นอันดับ 3 รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งในปัจจุบัน
ซีอาน ปัจจุบันมีบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมาก อาทิ IBM และ Fujitsu เข้ามาตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ เนื่องจากซีอานมีบุคลากรด้านซอฟต์แวร์เป็นจำนวนมาก และมีค่าจ้างถูกกว่าเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง ตลอดจนรัฐบาลจีนยังมีนโยบายที่จะพัฒนาซีอานให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของประเทศภายในระยะเวลา 5 ปี
เซินเจิ้น ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนการผลิตเพื่อการส่งออก ปัจจุบันบริษัทต่างชาติหลายแห่ง อาทิ บริษัท Oracle ได้เข้าไปตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ในเซินเจิ้นเพื่อทำการส่งออกอย่างต่อเนื่อง
การที่รัฐบาลจีนสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อย่างจริงจัง คาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของจีนเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะการส่งออกที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549 ขยายตัวกว่า 50 เท่าเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกซอฟต์แวร์ในปี 2544 สำหรับในส่วนของบริการที่เกี่ยวเนื่องกับซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะการรับจ้างผลิตซอฟต์แวร์ในลักษณะ Outsource จากต่างประเทศ คาดว่าจะมูลค่าสูงถึง 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2547--
-พห-