กรุงเทพ--16 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯ
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime : AMMTC) ครั้งที่ 4 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ +3 (AMMTC+3) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 และ 10 มกราคม 2547 ตามลำดับ ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ โดยมี ฯพณฯ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมทั้งสอง โดยมีพลเอกวินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม
หัวข้อหลักของการประชุม AMMTC ครั้งที่ 4 คือ “ร่วมรับผิดชอบสู่ความมั่นคงร่วมกัน” เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างเป็น เอกภาพเพื่อนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community)
ไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการประชุมฯ และพยายามผลักดันให้อาเซียนมีความร่วมมือที่ ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยเสนอให้จัดทำร่างมาตรฐานอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Draft ASEAN Model Convention on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters and for Extradition) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนศึกษาและเสนอรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับความร่วมมือในด้านนี้ต่อไป นอกจากนี้ ไทยยังได้ผลักดันให้มีการกระชับความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง โดยไทยจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ส่วนในการประชุม AMMTC+3 ครั้งที่ 1 รัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาค เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และโดยที่เป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างอาเซียนกับประเทศทั้งสาม ที่ประชุมฯ จึงได้พิจารณารูปแบบและกลไกความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้ประเทศอาเซียนเป็นผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละประเภทของอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่ การก่อ การร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การกระทำอันเป็นโจรสลัด อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ประเทศไทยจะรับผิดชอบประเด็นการลักลอบค้ายาเสพติด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี เพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมได้เสร็จสิ้นลง ได้มีพิธีลงนามระหว่างอาเซียนกับจีนใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงแบบใหม่ เพื่อกำหนดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยจีนได้มีแผนงานประจำปี 2547 ในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯ
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime : AMMTC) ครั้งที่ 4 และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ +3 (AMMTC+3) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 และ 10 มกราคม 2547 ตามลำดับ ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ โดยมี ฯพณฯ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมทั้งสอง โดยมีพลเอกวินัย ภัททิยกุล เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม
หัวข้อหลักของการประชุม AMMTC ครั้งที่ 4 คือ “ร่วมรับผิดชอบสู่ความมั่นคงร่วมกัน” เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างเป็น เอกภาพเพื่อนำอาเซียนไปสู่การเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community)
ไทยได้แสดงบทบาทสำคัญในการประชุมฯ และพยายามผลักดันให้อาเซียนมีความร่วมมือที่ ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยเสนอให้จัดทำร่างมาตรฐานอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Draft ASEAN Model Convention on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters and for Extradition) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนศึกษาและเสนอรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับความร่วมมือในด้านนี้ต่อไป นอกจากนี้ ไทยยังได้ผลักดันให้มีการกระชับความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง โดยไทยจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกำหนดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ส่วนในการประชุม AMMTC+3 ครั้งที่ 1 รัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาค เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และโดยที่เป็นการประชุมครั้งแรกระหว่างอาเซียนกับประเทศทั้งสาม ที่ประชุมฯ จึงได้พิจารณารูปแบบและกลไกความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้ประเทศอาเซียนเป็นผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละประเภทของอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่ การก่อ การร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบค้าอาวุธ การฟอกเงิน การกระทำอันเป็นโจรสลัด อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ประเทศไทยจะรับผิดชอบประเด็นการลักลอบค้ายาเสพติด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานในระยะ 5 ปี เพื่อดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมได้เสร็จสิ้นลง ได้มีพิธีลงนามระหว่างอาเซียนกับจีนใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงแบบใหม่ เพื่อกำหนดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยจีนได้มีแผนงานประจำปี 2547 ในการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-