(ต่อ 1) การจัดการ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 27, 2004 14:58 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

                        ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. ผลิตอะไร ? - สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์
(สินค้าและบริการ)
2. เพื่อใคร ? - กลุ่มบุคคลต่างๆ ซึ่งมีความต้องการและอำนาจซื้อต่างกัน
3. อย่างไร ? - ทำการผลิตโดยคำนึงให้มีการสูญเสียทรัพยากรที่มีจำกัดให้น้อยที่สุดขณะที่
ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด
4. จัดสรรแบ่งส่วนทรัพยากรอย่างไร - โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
ระหว่างปัจจุบันและอนาคตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การบริหารการผลิต
1. พิจารณาความพร้อมในด้าน
คนหรือแรงงาน (Man)
วัตถุดิบ (Meterial)
การเงิน (Money)
การจัดการที่ดีและเหมาะสม (Manngerment) คน วัตถุดิบการเงินและระบบงาน
โดยมีวัตถุประสงค์สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ว่าเขาต้องการอะไรและขาดอะไร ทำไมต้องผลิต (Way)
2. รู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนสู่การวางแผนงานในการ
ผลิตอะไร (What)
ผลิตที่ไหน (Where)
ผลิตเมื่อไร (When)
ผลิตเพื่อใคร (Who)
ผลิตอย่างไร (How)
เพื่อให้เกิดรูปแบบของสินค้าและบริการที่มี คุณภาพและประสิทธิภาพ ในด้านการผลิตและราคา ภายใต้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ตลอดทั้งทันสมัย รวดเร็วด้านข่าวสาร การส่งมอบสินค้าตรงกับเงื่อนไขของสังคมโลก
หลักการพิจารณาตัวเองและบุคลากร
เพื่อความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ
ว่าด้วยอิทธิบาท 4
ฉันทะ (รักชอบในงาน) ต้องมีความรัก ความชอบในงานหรือธุรกิจนั้นๆ หรือ เมื่อมีงานให้ทำต้องมีความพอใจ ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข
วิระยะ (ทำต้องความขยัน) มีความมานะขยัน อดทน ใจสู้ ต่อความยากลำบากในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
จิตตะ (ทำจริง) ใฝ่ใจต่อการรับผิดชอบในงานให้สำเร็จ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอยู่เสมอ
วิมังสา (รอบคอบ) มีสติ สัมปชัญญะในการทำงานหรือธุรกิจ ไม่ตื่นตระหนก เสียใจ หรือดีใจจนเกินเหตุ ในสภาวะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่า
กาย = การกระทำ
วาจา = การพูด
ใจ = การคิด
หลักการบริหารบุคคล
ในการครองคน และสร้างทีมงานสู่ความสำเร็จ
ว่าด้วย พรหมวิหาร 4
เมตตา ต้องรู้จักให้ความรักเอื้ออาธรแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน โดยให้โอกาส
สนับสนุนในการพัฒนาเรียนรู้สู่ความสำเร็จ ตามที่ต้องการ
กรุณา รู้จักให้ความสงสาร ช่วยเหลือเกื้อกูล ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน จนประสบ
ความสำเร็จในงานด้วยความเป็นธรรม เพื่อให้พร้อมในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มุทิตา แสดงความยินดีในความสำเร็จของหมู่คณะ ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน
อย่างจริงใจ ปราศจากความอิจฉา ริษยา ไม่เสแสร้งแกล้งทำ
อุเบกขา ไม่ยึดถือความดีแห่งตน ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นไม่หวังผลตอบแทน หรือ บุญคุณที่ไม่
ยึดอยู่ในอคติ 4 รู้จักวางอารมณ์อย่างรู้เท่าทัน กับสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น
ฉันทาคติ = ความพอใจ หรือ ความรัก
โทสะคติ = ความโกรธ หรือ ขัดเคืองใจ
โมหะคติ = ความหลงไหล
ภยคติ = ความกลัว
หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ต้องทำให้พร้อมด้วย
กาย = การกระทำ
วาจา = การพูด
ใจ = การคิด
องค์ประกอบของตลาด (Marketing Mix 4 P)
1. - ผลิตอะไร ? (P1 = Product) 2. - ตั้งราคาเท่าไร ? (P2 = Price)
- ผลิตที่ไหน ? - ราคาขายส่ง
- ผลิตอย่างไร ? - ราคาขายปลีก
- ผลิตเมื่อไร ? - ราคาขาย = ต้นทุน + กำไร
4. - มีเทคนิคการขายอย่างไร 3. - มีลู่ทางการขาย (P3 = Place)
(P4 = Promotion) อย่างไร ? ให้ใคร ? ที่ไหน?
ให้พิจารณากลุ่มเป้าหมาย คือ เพศ อายุ
การศึกษา อาชีพ สถานะรายได้ ความเชื่อ
สิ่งแวดล้อม ทัศนคติของสังคม
1. Product - ผลิตอะไร ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
- ผลิตให้ใคร คำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่มีสถานภาพและอำนาจซื้อต่างกัน
- ผลิตที่ไหน ที่เอื้ออำนวยต่อแรงงาน การขนส่ง และวัตถุดิบ ตลอดทั้งความ
สะดวกสบายด้านเครื่องสาธารณูปโภค รวมทั้งที่ดินราคาถูก
- ผลิตเมื่อไร ที่จะเป็นโอกาสต่อธุรกิจ สามรรถจะเสนอและสนองต่อความ
ต้องการของลูกค้าได้ดี
- ผลิตอย่างไร ต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและการสูญเสียน้อยที่สุด มีความรับ
ผิดชอบต่อสังคมไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมและ
นิเวสน์วิทยา
สาระสำคัญของการผลิตที่ควรคำนึง
- การออกแบบ (Design) ต้องคำนึงถึงการใช้วัตถุดิบ รูปแบบควรจะมีจุดเด่นของสินค้าที่มีอรรถประโยชน์หรือคุณประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ว่าคุณภาพ ความปลอดภัย ประโยชน์ใช้สอยและตกแต่ง สินค้านั้นต้องมีเหตุผลเพียงพอที่ผู้บริโภคยินดีจะจ่ายเงินเชื่อ
- บรรจุภัณฑ์ (Packging) ปัจจุบันนักการตลาดจะให้ความสำคัญด้านการบรรจุภัณฑ์ไม่น้อยกว่าตัวสินค้า เปรียบเสมือนหน้าที่เป็นนักขายเงียบ (Silent Saleman) เพราะนอกจากจะปกป้องรักษาสินค้าให้ปลอดภัยแล้วยังเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการซื้อสินค้าได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มพูนมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น แต่ควรคำนึงถึงวัตถุดิบที่จะใช้ต้องมีน้ำหนักเบา ทนทานราคาถูก การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องง่ายต่อการพกพา การให้และตัวหนังสือด้านข้อมูลของสินค้าเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับผู้บริโภคสนใจและยอมรับ
2. การตั้งราคา (Price) การตั้งราคาเป็นสิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญ เพราะราคาเป็นเหตุให้เกิดการสร้างกลไกลตลาดได้หลายประเภท เช่น ตลาดสำหรับผู้บริโภคระดับสูง กลาง ต่ำ ราคาขายปลีก ขายส่ง ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างยอดสั่งซื้อและอื่นๆ อีกมาก ด้วยเหตุนี้การคิดต้นทุนสินค้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการกำหนดกลยุทธการตั้งราคาเสนอขายต่อไป
3. สถานที่ (Place) พิจารณาหาช่องทางการค้าให้ถูกต้องเหมาะสมระหว่างสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริโภค โดยพิจารณาถึงเทคนิคการขายว่าจะมีลู่ทางการขายอย่างไร ที่ไหน เพื่อเจาะตลาดทั้งภายในท้องถิ่น ตลาดส่วนกลาง และต่างประเทศ รวมถึงสถานที่สำหรับการผลิตและเก็บรักษาสินค้าด้วยทั้งนี้ต้องคำนึงถึงค่าระวาง ความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง
4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) ต้องมีเทคนิคและกลยุทธ์ทุกรูปแบบเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ทัศนคติ ความเชื่อถือ และสิ่งแวดล้อมของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงสินค้าการเสนอข้อบริการต่างๆ ที่จะสร้างความประทับใจ เชื่อถือ ไว้วางใจ ศรัทธาอย่างแท้จริงต่อสินค้า องค์การ รวมถึงพนักงานขาย เช่น การประชาสัมพันธ์ในยุคปัจจุบัน
- สินค้าถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัยสูงต่อการบริโภคและสิ่งแวดล้อม
- ความรวดเร็ว และทันสมัย การบริการขายแบบครอบวงจรมีทำเลการขายที่กว้างขวางทันสมัย มีสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพทุกชนิด มีความสะดวกสบายเพลิดเพลินในการจับจ่ายใช้สอย ฯลฯ
กลยุทธ์ที่สำคัญของการตลาด คือ "การจัดแสดงสินค้า"
ปัจจุบันการจัดแสดงสินค้า ถือเป็นการเจาะตลาดที่สำคัญและเป็นประโยชน์โดยรวมที่ผู้ผลิต ผู้ซื้อจะได้มีโอกาสพบกับกลุ่มผู้ผลิตในสถานที่เดียวกัน เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเสนอแนะในแง่มุมต่างๆ ของสินค้า สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารด้านธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าวัตถุดิบรูปแบบ การเงิน การตลาด เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อตกลงทางการค้าที่มีความชัดเจนและเป็นเอกภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดทั้งเป็นเวทีเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ รวมถึเกิดสังคมร่วมระหว่างกลุ่มผู้ค้า ผู้ผลิตในอาชีพต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดสัมพันธภาพ และเป็นโอกาสต่อการเชื่อมโยงธุรกิจให้ต่อเนื่องยาวนานอีกหลายรูปแบบติดตามมา
การเตรียมความพร้อมเพื่อร่วมงานแสดงสินค้า
1. ต้องทราบและเข้าใจในหลักการ วิธีการ และปฏิบัติการในการร่วมแสดงสินค้า ดังนี้
- ผู้รับผิดชอบในการจัดงานแสดงสินค้าเป็นบุคคลหรือหน่วยงานใด มีประสบการณ์ผลงานน่าเชื่อถือไว้วางใจได้มากเพียงใด มีวัตถุประสงค์ เป้าหมายในการจัดงานอย่างไร เพื่อใคร ที่ไหน เมื่อไร
- มีระเบียบ กฎข้อบังคับ ข้อห้าม ในการแสดงสินค้าเป็นอย่างไร ที่ควรและไม่ควรปฏิบัติ เช่น สินค้าใดที่อนุญาตสินค้าใดไม่อนุญาต หรือเป็นข้อห้ามให้นำไปแสดง ช่วงเวลาการจำหน่ายระหว่างสินค้า ห้ามเปิดหลังเวลา ห้ามปิดหลังเวลา และปิดก่อนเวลา วิธีการเข้า-ออกงานตลอดทั้งข้อตกลงสัญญาอื่นๆ ที่มีระหว่างผู้ร่วมแสดงสินค้า และผู้รับผิดชอบในการจัดงานแสดงสินค้า
2.ประสานงานติดต่อกับผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดงาน
พิจารณาถึงความเป็นไปได้ และเหมาะสม ทั้งแผนงาน แผนคน และการเงิน เพื่อการประสานงานติดต่อกับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดงาน ทำความเข้าใจแผนงานในการตกแต่งสถานที่ การจัดเตรียมสินค้านำไปจัดแสดงให้มีปริมาณเหมาะสมกับงานและการตลาด รวมถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ รูปแบบ ราคา กำลังการผลิต และกรรมวิธีการผลิต การเงิน การขนส่ง และอื่นๆ
3. พนักงานขาย
จัดเตรียมพนักงานขายที่มีความพร้อมและความสามารถอย่างแท้จริง ควรผ่านการฝึกอบรมเรียนรู้ถึงการจัดการเสนอการขายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งคำพูด เครื่องมืออุปกรณ์ ให้ลูกค้าเกิดความพอใจ เชื่อถือ ศรัทธา ยอมรับ ในตัวสินค้า รวมถึงยอมรับต่อกิจการขององค์กร และพนักงานขายเอง เพื่อที่จะรักษาลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง
4. กลยุทธ์การแสดงสินค้า
สร้างความเป็นเลิศในผลงานให้ดีกว่าคู่แข่งขัน เช่นการแต่งคูหา สถานที่การจัดวางสินค้า การเสนอการขายและบริการที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวกสบายแก่ลูกค้าสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัย ก้าวหน้าในการเจรจาต่อสื่อสารด้านธุรกิจที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพทุกรูปแบบสร้างโอกาสให้รับดำเนินการเสนอจุดเด่น และปฏิบัติการต่อลูกค้า เพื่อเป็นตัวเร่งในการตัดสินใจทำธุรกิจให้รวดเร็วอย่างมีความมั่นใจไร้ขอบเขต มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน ในเชิงธุรกิจและข้อมูลข่าวสาร และบริการไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ รูปแบบ เทคนิคการผลิต การเงิน การตลาด และอื่นๆ
(ยังมีต่อ).../บทสรุป..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ