สหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP กลุ่มสินค้าแก้วและเซรามิก (พิกัด 68-70) ของไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 10, 2004 16:59 —สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

มูลค่าการส่งออกสินค้าแก้วและเซรามิกของไทยไปสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2544 ไทยส่งออกมูลค่า 131.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2545 ไทยส่งออกมูลค่า 157.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 20.34 สำหรับปี 2546 ไทยส่งออกมูลค่า 189.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 20.26 สหภาพยุโรปให้สิทธิ GSP สินค้าในกลุ่มแก้วและเซรามิก (พิกัด 68-70) ทุกรายการรวม 258 รายการ ประมาณร้อยละ 91.5 ของรายการทั้งหมด มีอัตราภาษีปกติในระดับต่ำคือ ร้อยละ 0-7 (อัตราภาษี GSP ร้อยละ 0-3.5) และมีมูลค่าในการส่งออกไปสหภาพยุโรปประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งกลุ่ม แต่ส่วนที่เหลือมีอัตราภาษีปกติสูงกว่าคือ ร้อยละ 9-12 (อัตราภาษี GSP ร้อยละ 5.5-8.4) และมีมูลค่าการส่งออกสูงจึงคาดว่าจะมีผลกระทบ โดยเฉพาะสินค้าในรายการ ดังนี้ พิกัด รายการสินค้า อัตราภาษี(%) MFN GSP6911 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน/ ห้องน้ำ ชนิดพอร์ซเลน ชนิดเนื้อบดละเอียด (ไชน่า) 12 8.46912 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัว เครื่องใช้ในบ้าน/ ห้องน้ำที่เป็นเซรามิก 9 5.57013 เครื่องแก้วชนิดที่ใช้บนโต๊ะอาหาร ในครัว ในห้องน้ำ ในสำนักงานใช้ตกแต่งภายใน 11 7.5 ประเทศคู่แข่งของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP อยู่ก่อนหน้าแล้วคือ จีน และเม็กซิโก นอกจากนี้ ปัจจุบันสินค้าเซรามิกของไทยกำลังอยู่ในข่ายส่งสัย ว่าเป็นสินค้าที่ผู้ส่งออกของไทยนำเข้าจากจีน และส่งออกโดยใช้หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของไทยเพื่อใช้ประโยชน์จาก GSP เนื่องจากสินค้าของจีนถูกตัดสิทธิไปแล้ว และตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปขอให้ฝ่ายไทยตรวจสอบความถูกต้อง (Verification) ของฟอร์ม A เป็นจำนวนมาก การประกาศตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 โดยสหภาพยุโรป ได้ออกประกาศแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมการเพื่อปรับตัวและปรับปรุงกระบวนการการผลิตต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ หากแต่แตกต่างจากการประกาศตัดสิทธิ GSP ครั้งก่อนหน้านี้ (ในปี 2546) ซึ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ออกประกาศแจ้งล่วงหน้า 6 เดือน เมื่อพฤษภาคม 2546 เริ่มตัดสิทธิร้อยละ 50 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 และตัดสิทธิทั้งหมดวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 เนื่องจาก ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะถูกตัดสิทธิ ประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปจึงพยายามหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ จึงทำให้การพิจารณาและออกประกาศตัดสิทธิ-คืนสิทธิ GSP ล่าช้าออกไปจากที่กำหนดไว้ (และต่อมาได้เพิ่มเติมมาตรการ Financial Crisis Clause โดยมีเงื่อนไขว่าในกรณีที่ประเทศผู้รับสิทธิประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีมูลค่า GDP ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 3 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ตามสถิติล่าสุดที่หาได้) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกตัดสิทธิสินค้ากลุ่มใหม่ ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้คือ อาร์เจนตินา อุรุกวัย และเวเนซูเอล่า ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ