พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 19- 25 กันยายน 2548

ข่าวทั่วไป Monday September 19, 2005 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วัน จันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 112/2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 19-25 กันยายน 2548
พายุดีเปรสชั่น เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ย. มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดเชียงราย มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ จุดศูนย์กลางประมาณ 50 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนทางทิศตะวันตกค่อนข้างเร็ว คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปประเทศพม่าในช่วงบ่ายวันนี้ ลักษณะดังกล่าวจะทำให้ในวันที่ 19 ก.ย. ภาคเหนือบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ตาก แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ มีฝนเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ จะมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลัง ค่อนข้างแรง สำหรับในช่วงวันที่ 20-25 ก.ย. ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนจะพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. บริเวณที่ราบลุ่ม พื้นที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ใกล้ทางน้ำไหลในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจเกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรในบริเวณ ดังกล่าวควรเตรียมพร้อมป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในวันที่ 19 ก.ย. มีฝน 70-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ตาก แพร่ น่าน พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ส่วนในช่วงวันที่ 20-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10—25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 75%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในระยะนี้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้โคและกระบืออยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และเมื่อน้ำลดระดับแล้วควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพาะปลูก
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 60-70 % ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. มีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ และขอนแก่น ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 65%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกันทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู และควรระวังการระบาดของโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารด้วย
กลาง
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 60-70% ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค บริเวณจังหวัด นครสวรรค์ กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และราชบุรี โดยเฉพาะในวันที่ 19-21 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงที่มีฝนตกชุก ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้บางพื้นที่โดยเฉพาะในที่ลุ่ม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคแอนแทรกโนสในองุ่น โรคเหี่ยวและโรค ใบหงิกในดาวเรือง
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 60-80 % ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. มีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# บริเวณที่มีฝนตกชุกทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และโรคราสีชมพูในเงาะ
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
# ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนอง 60-80% ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ส่วนมากทาง ตอนบนของภาค บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95% ตอนบ่าย 70%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะชื้นแฉะได้บางพื้นที่ เกษตรกรไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ