กรุงเทพ--2 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องการเป็นหุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ที่โรงแรมดุสิตธานี ต่อกรณีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เสนอรายงานด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับประเทศไทย ประจำปี 2546 ต่อวุฒิสภาของสหรัฐฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ฝ่ายสหรัฐฯ จัดทำรายงานดังกล่าวทุกปีและข้อมูลมีความผิดพลาดทุกปี เมื่อเผยแพร่รายงานออกมา ไทยก็ทำหนังสือชี้แจงทุกครั้งด้วยเอกสารและหลักฐานว่าผิดพลาดอะไรบ้าง และตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ขอโทษว่า ข้อมูลผิดพลาดเนื่องจากความรีบร้อนในการทำรายงาน แต่เมื่อมีข้อมูลที่ผิดพลาดอีกในปีนี้ จึงเป็นที่น่าเสียใจที่หลายเรื่องไม่ได้นำข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมาบรรจุไว้ โดยเฉพาะเรื่องวิสามัญฆาตกรรม ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งข้อมูลอย่างละเอียดที่รวบรวมจากหลายหน่วยงานส่งไปยังนาง Condoleezza Rice ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และพลเอก Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และจากการพบปะระหว่างตนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ฝ่ายสหรัฐฯ มีความเข้าใจว่าไทยทำตามขั้นตอนของกฎหมายโดยผู้ที่กระทำผิดไม่ว่าตำรวจหรือไม่ก็ได้ถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย แต่รายงานฉบับล่าสุดนี้ได้บรรจุรวบรวมสิ่งต่างๆ เข้าไปโดยไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลทั้งสองได้หารือกันมาโดยตลอด ฝ่ายไทยจึงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง
2. การรายงานที่ไม่ถูกต้องนี้ไม่มีเฉพาะเรื่องวิสามัญฆาตกรรมเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องชนกลุ่มน้อยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยมีประวัติที่ดีมาโดยตลอด โดยไทยรับภาระดูแลผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนแสนคน และในปีนี้ไทยจะทยอยให้สัญชาติไทยกับชาวเวียดนามอพยพ 3,000 คน และในกรณีของ นายซก เยือน นักการเมืองกัมพูชาที่ลี้ภัยอยู่ในไทย ฝ่ายไทยได้หารือกับฝ่ายกัมพูชาอย่างเงียบๆ มาระยะหนึ่งแล้วเพื่อส่งนายซก เยือน ไปอยู่กับครอบครัวของตนที่ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกัมพูชาได้เห็นชอบกับฝ่ายไทยแล้ว ส่วนเรื่องประชาธิปไตยในพม่าก็ได้มีการหารือกับสหรัฐฯมาตลอด ซึ่งสหรัฐให้การสนับสนุนการที่ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทช่วยให้เกิดการปรองดองแห่งชาติในพม่า เช่นกรณี Bangkok Process เพราะฉะนั้นในเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งเรื่องประชาธิปไตย และเรื่องวิสามัญฆาตกรรม ระดับผู้นำของทั้งสองประเทศต่างมีความเข้าใจกันดีมาโดยตลอด จึงเป็นที่น่าเสียใจและผิดหวัง ที่รายงานฉบับล่าสุดนี้ได้รายงานผิดพลาดซ้ำขึ้นมาอีก
3. กระทรวงการต่างประเทศจะตรวจสอบการรายงานที่เกี่ยวกับประเทศไทยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทุกเรื่อง หากเรื่องใดผิดจากความจริงอีก ประเทศไทยก็จะแจ้งข้อเท็จจริงต่อไป
4. การกระทำของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เช่นนี้ทำให้กระทบต่อความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในหลายๆ ด้าน และในฐานะที่ไทยเป็นประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายไทยจึงต้องการให้ฝ่ายสหรัฐฯมีการแก้ไขปรับปรุงการรายงานดังกล่าว เพราะความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงนี้ไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อไทยและสหรัฐฯ รวมทั้งต่อสาธารณชนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่องการเป็นหุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ที่โรงแรมดุสิตธานี ต่อกรณีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เสนอรายงานด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับประเทศไทย ประจำปี 2546 ต่อวุฒิสภาของสหรัฐฯ สรุปได้ ดังนี้
1. ฝ่ายสหรัฐฯ จัดทำรายงานดังกล่าวทุกปีและข้อมูลมีความผิดพลาดทุกปี เมื่อเผยแพร่รายงานออกมา ไทยก็ทำหนังสือชี้แจงทุกครั้งด้วยเอกสารและหลักฐานว่าผิดพลาดอะไรบ้าง และตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ขอโทษว่า ข้อมูลผิดพลาดเนื่องจากความรีบร้อนในการทำรายงาน แต่เมื่อมีข้อมูลที่ผิดพลาดอีกในปีนี้ จึงเป็นที่น่าเสียใจที่หลายเรื่องไม่ได้นำข้อเท็จจริงที่ถูกต้องมาบรรจุไว้ โดยเฉพาะเรื่องวิสามัญฆาตกรรม ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งข้อมูลอย่างละเอียดที่รวบรวมจากหลายหน่วยงานส่งไปยังนาง Condoleezza Rice ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และพลเอก Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และจากการพบปะระหว่างตนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และระหว่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ฝ่ายสหรัฐฯ มีความเข้าใจว่าไทยทำตามขั้นตอนของกฎหมายโดยผู้ที่กระทำผิดไม่ว่าตำรวจหรือไม่ก็ได้ถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย แต่รายงานฉบับล่าสุดนี้ได้บรรจุรวบรวมสิ่งต่างๆ เข้าไปโดยไม่ได้สะท้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลทั้งสองได้หารือกันมาโดยตลอด ฝ่ายไทยจึงผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง
2. การรายงานที่ไม่ถูกต้องนี้ไม่มีเฉพาะเรื่องวิสามัญฆาตกรรมเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องชนกลุ่มน้อยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยมีประวัติที่ดีมาโดยตลอด โดยไทยรับภาระดูแลผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนแสนคน และในปีนี้ไทยจะทยอยให้สัญชาติไทยกับชาวเวียดนามอพยพ 3,000 คน และในกรณีของ นายซก เยือน นักการเมืองกัมพูชาที่ลี้ภัยอยู่ในไทย ฝ่ายไทยได้หารือกับฝ่ายกัมพูชาอย่างเงียบๆ มาระยะหนึ่งแล้วเพื่อส่งนายซก เยือน ไปอยู่กับครอบครัวของตนที่ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งขณะนี้ฝ่ายกัมพูชาได้เห็นชอบกับฝ่ายไทยแล้ว ส่วนเรื่องประชาธิปไตยในพม่าก็ได้มีการหารือกับสหรัฐฯมาตลอด ซึ่งสหรัฐให้การสนับสนุนการที่ประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทช่วยให้เกิดการปรองดองแห่งชาติในพม่า เช่นกรณี Bangkok Process เพราะฉะนั้นในเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งเรื่องประชาธิปไตย และเรื่องวิสามัญฆาตกรรม ระดับผู้นำของทั้งสองประเทศต่างมีความเข้าใจกันดีมาโดยตลอด จึงเป็นที่น่าเสียใจและผิดหวัง ที่รายงานฉบับล่าสุดนี้ได้รายงานผิดพลาดซ้ำขึ้นมาอีก
3. กระทรวงการต่างประเทศจะตรวจสอบการรายงานที่เกี่ยวกับประเทศไทยของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทุกเรื่อง หากเรื่องใดผิดจากความจริงอีก ประเทศไทยก็จะแจ้งข้อเท็จจริงต่อไป
4. การกระทำของกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ เช่นนี้ทำให้กระทบต่อความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในหลายๆ ด้าน และในฐานะที่ไทยเป็นประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายไทยจึงต้องการให้ฝ่ายสหรัฐฯมีการแก้ไขปรับปรุงการรายงานดังกล่าว เพราะความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงนี้ไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อไทยและสหรัฐฯ รวมทั้งต่อสาธารณชนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-