บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Thursday April 22, 2004 14:44 —รัฐสภา

                         บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันจันทร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุม นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
และนายสหัส พินทุเสนีย์ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน คือ
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
โดยมีรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม หลังจากสมาชิกฯ
อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นางสิริกร มณีรินทร์) ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายอูมาร์ ตอยิบ ๒. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๓. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ๔. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๕. นายอาคม ตุลาดิลก ๖. นายดำรง พุฒตาล
๗. นายวิชัย ครองยุติ ๘. นายประโภชฌ์ สภาวสุ
๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๐. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๑. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช ๑๒. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๓. นายไสว พราหมณี ๑๔. นายฟัครุดดีน บอตอ
๑๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๖. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๑๗. นายชิต เจริญประเสริฐ ๑๘. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๙. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๒๐. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
๒๑. นายนพดล สมบูรณ์ ๒๒. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๒๓. นายสมชาย วิริยะยุทธกร ๒๔. นางจริยา เจียมวิจิตร
๒๕. นายธเนตร บัวแย้ม
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(นางสิริกร มณีรินทร์) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ ๒. นายอำนาจ เธียรประมุข
๓. นายสนิท กุลเจริญ ๔. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๕. นายกมล มั่นภักดี ๖. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ
๗. นายวีระพล วัชรประทีป ๘. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๐. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๑. นายถวิล จันทร์ประสงค์ ๑๒. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๓. นายปริญญา กรวยทอง ๑๔. พันเอก สมคิด ศรีสังคม
๑๕. นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ๑๖. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย
๑๗. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๑๘. นายวิเชียร เปาอินทร์
๑๙. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๒๐. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
๒๑. นายนพดล สมบูรณ์ ๒๒. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๒๓. นายประโยชน์ บุญสินสุข ๒๔. นางจริยา เจียมวิจิตร
๒๕. นายธเรศ กรัษนัยรวิวงค์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นางสุนีย์ อินฉัตร ๒. นายสมัย ฮมแสน
๓. นายวีรวร สิทธิธรรม ๔. นายอาคม ตุลาดิลก
๕. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร ๖. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๗. นายบุญทัน ดอกไธสง ๘. นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์
๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๐. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๑๑. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย ๑๒. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๓. นายนิตินัย นาครทรรพ ๑๔. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
๑๕. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๖. นายสม ต๊ะยศ
๑๗. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ ๑๘. นางบัวล้อม พูลลาภ
๑๙. นายปริญญา กรวยทอง ๒๐. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๒๑. นายนพดล สมบูรณ์ ๒๒. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๒๓. นายธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ๒๔. นางจริยา เจียมวิจิตร
๒๕. นายธเนตร บัวแย้ม
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(นางสิริกร มณีรินทร์) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๒. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๓. นายวีรวร สิทธิธรรม ๔. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๕. นายเกษม มาลัยศรี ๖. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๗. นายระวี กิ่งคำวงศ์ ๘. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๐. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๑๑. นายอนันต์ ผลอำนวย ๑๒. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๓. นายปราโมทย์ ไม้กลัด ๑๔. นายบุญญา หลีเหลด
๑๕. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๖. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๑๗. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๑๘. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๑๙. นายถวิล ไพรสณฑ์ ๒๐. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๒๑. นายนพดล สมบูรณ์ ๒๒. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๒๓. นายธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ๒๔. นางจริยา เจียมวิจิตร
๒๕. นายธเนตร บัวแย้ม
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และเนื่องจากที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้พิจารณาโดยกรรมาธิการ
เต็มสภา ตามที่สมาชิกฯ เสนอ ที่ประชุมจึงได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓ เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
๕. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๒. นายจำเจน จิตรธร
๓. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๔. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๕. นายมุขตาร์ มะทา ๖. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๗. นายรส มะลิผล ๘. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์
๙. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ๑๐. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๑๑. นายประเกียรติ นาสิมมา ๑๒. นายระวี กิ่งคำวงศ์
๑๓. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ๑๔. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
๑๕. นายสมควร จิตแสง ๑๖. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
๑๗. นายสม ต๊ะยศ ๑๘. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย
๑๙. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย ๒๐. นายมนตรี สินทวิชัย
๒๑. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๒๒. นายอมร นิลเปรม
๒๓. นายโสภณ สุภาพงษ์ ๒๔. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๒๕. นายอัชพร จารุจินดา ๒๖. นางสาวพรรณราย ขันธกิจ
๒๗. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
จากนั้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำ ญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติด่วน
เรื่องขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมและขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน
ทำนองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน ซึ่งนายการุณ ใสงาม เป็นผู้เสนอ
เมื่อผู้เสนอญัตติได้แถลงเหตุผล และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้เลื่อนเรื่องที่ค้างพิจารณา
ลำดับที่ ๕.๔ ญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติด่วนต่อวุฒิสภาเพื่อให้มีการอภิปรายว่าประเทศไทยเป็น
ประเทศที่รักสันติไม่เข้าข้างสงครามที่ประเทศใดเป็นผู้ก่อขึ้น ซึ่งนายแคล้ว นรปติ เป็นผู้เสนอ
และลำดับที่ ๕.๕ ญัตติ เรื่อง สถานการณ์ของอิรักและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย
และการเตรียมการของรัฐบาล ซึ่งนายสมพงษ์ สระกวี เป็นผู้เสนอ ให้ที่ประชุมพิจารณา
และลงมติเห็นชอบให้นำญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติด่วน เรื่องขอให้วุฒิสภามีมติขอให้รัฐบาล
ถอนทหารออกจากประเทศอิรัก ซึ่งนายการุณ ใสงาม เป็นผู้เสนอ มารวมพิจารณาเนื่องจาก
เป็นญัตติทำนองเดียวกัน หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ประธานของที่ประชุม
ได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาต่อในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๕๕ นาฬิกา
(นายพิเชษฐ์ กิติสิน)
รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๕ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๔. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๕. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๗
โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๓

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ